เม็ดเงินอัดฉีด กองทุนพัฒนาฯสตรี 77 จังหวัด 2 ลอต 7,250 ล้าน
ตามไปดูเม็ดเงินอัดฉีดกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 77 จังหวัด 2 ลอตรับแล้ว 7,250 ล้าน ตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ สูงสุดจังหวัดละ 130 ล้าน
น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตอบกระทู้ถามของนางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส. เลย พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๖ ถึงความคืบหน้าผลการดำเนินงานของนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๘๑ ง ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖) ว่า สำนักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ โดยคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ ได้โอนเงินให้กับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด ๒ ครั้ง
ครั้งแรกในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ จำนวนจังหวัดละ ๒๐ ล้านบาท รวมเป็นเงิน ๑,๕๔๐ ล้านบาท ครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จังหวัดละ ๕๐ - ๑๑๐ ล้านบาท รวมเป็นเงิน ๕,๗๑๐ ล้านบาท
ขณะนี้คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติเงินกองทุนที่ได้รับ ไปในครั้งแรก สำหรับจังหวัดที่จะได้รับการอนุมัติมีรายละเอียด ดังนี้
๑. จังหวัดขนาดเล็ก มีประชากรไม่เกิน ๖๐๐,๐๐๐ คน จำนวน ๓๕ จังหวัด จังหวัดละ๗๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดสิบล้านบาทถ้วน) ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชัยนาท ตราด นครนายกประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สิงห์บุรี อ่างทอง ตากน่าน พะเยา พิจิตร แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน อุตรดิตถ์ อุทัยธานี บึงกาฬ มุกดาหาร ยโสธรหนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ กระบี่ ชุมพร พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง และ
จังหวัดสตูล
๒. จังหวัดขนาดกลาง มีประชากรตั้งแต่ ๖๐๐,๐๐๑ - ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน จำนวน ๒๒ จังหวัดจังหวัดละ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี ระยอง สระบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลำปาง สุโขทัย กาฬสินธุ์ นครพนม เลย มหาสารคาม ตรัง นราธิวาส และจังหวัดปัตตานี
๓. จังหวัดขนาดใหญ่ มีประชากรตั้งแต่ ๑,๐๐๐,๐๐๑ คน จำนวน ๒๐ จังหวัด จังหวัดละ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อุดรธานี อุบลราชธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำหรับในส่วนของเงินสนับสนุนคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด ได้อนุมัติเงินกองทุน ฯ ให้กับสมาชิกตามโครงการที่เสนอขอรับการสนับสนุน จำนวน ๒๖ จังหวัด แยกเป็น โครงการประเภทเงินอุดหนุน ๑๐ จังหวัด จำนวน ๒๙๗ โครงการ รวมเป็นเงิน ๑๑,๖๕๒,๓๐๑ บาทสมาชิกสตรีที่ได้รับผลประโยชน์ จำนวน ๓๐,๓๔๘ ราย และโครงการประเภทเงินทุนหมุนเวียน ๒๑ จังหวัดจำนวน ๑,๕๔๔ โครงการ รวมเป็นเงิน ๑๒๑,๕๑๙,๓๔๑ บาท สมาชิกสตรีที่ได้รับผลประโยชน์จำนวน ๒๑,๘๔๗ ราย
ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับการอนุมัติจากเงินทุนหมุนเวียน จำแนกตามด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการเกษตร จำนวน ๗๒๒ โครงการ เป็นเงิน ๕๙,๔๘๐,๙๐๖ บาท เช่น โครงการปลูกแตงระบบน้ำหยดปลอดสารพิษ โครงการเกษตรผสมผสานปลูกผักปลอดสารและเลี้ยงเป็ดไข่
๒. ด้านอุตสาหกรรม จำนวน ๒๘ โครงการ รวมเป็นเงิน ๓,๖๘๖,๓๐๐ บาท เช่นโครงการแปรรูปเปลือกมะพร้าวทำปุ๋ย โครงการทำก้อนอิฐดินดิบ
๓. ด้านพาณิชย์และบริการ จำนวน ๑๖๓ โครงการ รวมเป็นเงิน ๑๕,๑๖๖,๓๒๑ บาทเช่น โครงการธนาคารขยะชุมชน โครงการร้านค้าเพื่อการเกษตรชุมชน
๔. ด้านคหกรรม จำนวน ๑๓๗ โครงการ รวมเป็นเงิน ๙,๒๙๕,๐๑๐ บาท เช่น โครงการ
ไส้กรอกสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โครงการแปรรูปและถนอมอาหารกลุ่มสตรีตำบล
๕. ด้านหัตถกรรม จำนวน ๔๘๙ โครงการ รวมเป็นเงิน ๓๓,๒๔๖,๐๒๙ บาท เช่นโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟและลำไยสีทองอบสมุนไพร โครงการต่อยอดสิ่งประดิษฐ์จากเปลือกข้าวโพด
๖. ด้านศิลปกรรม จำนวน ๕ โครงการ รวมเป็นเงิน ๖๔๔,๗๗๕ บาท เช่น โครงการสิ่งประดิษฐ์จากเศษไม้สัก โครงการแกะสลักรูปเหมือน หนึ่งพระพุทธรูป
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๘๑ ง ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖)
………..
มที่ ๔๕๒/ร.
สภาผู้แทนราษฎร
๓๐ มกราคม ๒๕๕๖
เรื่อง ขอทราบความคืบหน้านโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ข้าพเจ้าขอตั้งกระทู้ถาม ถามรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์)
ดังต่อไปนี้
ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเข้าใจผู้หญิงที่เป็นแม่และภรรยาหรือผู้ตามของครอบครัว มีความประสงค์ที่จะเห็นผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันในสังคมเพราะเชื่อว่าประเทศไทยยังมีผู้หญิงเก่งอีกมากที่ยังไม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ รัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมสตรีในเรื่องสิทธิและบทบาท เพื่อให้เกิดความทัดเทียมในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีในสถานะต่าง ๆ รวมทั้งการส่งเสริมรายได้ อาชีพ และคุณภาพแรงงานของสตรี ดังนั้นการขับเคลื่อน
นโยบายดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแหงชาติ” ตามนโยบายเร่งด่วน ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนพัฒนาสตรีแบบดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาศักยภาพในหน้าที่การงาน เพิ่มบทบาท และสร้างภาวะผู้นำ เฝ้าระวังและดูแลปัญหาสตรีช่วยเหลือเยียวยา ตลอดจนการรณรงค์ให้สังคมเข้าใจปัญหาสตรีในทุกมิติภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์พลังสตรีให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ” สมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีสามารถบูรณาการกับภาคเอกชน และกองทุนอื่น ๆ ในชุมชน โดยสนับสนุนให้สตรีที่ได้รับการยอมรับในสังคมเป็นตัวแทน เป็นแบบอย่าง และทำหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งจังหวัดหนึ่งตำบลต้นแบบ
จนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้แก่กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ให้มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากการพัฒนาอาชีพสตรีเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกและคนในชุมชน โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนการพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชาติต่อไปอย่างยั่งยืน จากเหตุผลดังกล่าว จึงขอเรียนถามว่า
๑. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จนถึง
ปัจจุบัน มีความคืบหน้าอย่างไร ขอทราบผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยละเอียด
๒. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนแบบดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ยในการพัฒนาอาชีพ เปิดโอกาสให้กลุ่มสตรีที่มีการรวมตัวกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป สามารถยืมเงินไปใช้ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ท้องถิ่น โดยรัฐบาลจะจัดสรรเงินสนับสนุนให้กับกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้เมื่อใด ขอทราบรายละเอียด
ขอให้ตอบในที่ประชุมสภา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
จังหวัดเลย