ชี้ที่ดินไทย 80% ถือครองโดยคนรวย หวังรัฐจัดสรรพื้นที่รกร้างคนจนสร้างที่อยู่อาศัย
เปิดสมัชชาปฏิรูป วันที่ 2 เครือข่ายที่ดินเผยที่ดินไทย 80% ถือครองโดยคนรวย หวังรัฐนำที่ดินรกร้างจัดสรรคนจนอยู่อาศัย ‘อัญชนา หีมมิหน๊ะ’ ชี้ถกบีอาร์เอ็นไม่เยียวยาไฟใต้ หากกระบวนการยุติธรรมไม่เที่ยงตรง
วันที่ 1 มิ.ย. 56 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา มีการเปิดเวทีการประชุมสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 3 เป็นวันที่ 2โดยมีเครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 1,000 คนทั่วประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้สังเกตการณ์และประชาชนทั่วไปร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น
น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ ประธานกลุ่มด้วยใจ (Hearty Support Group) ให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวปาฐกถาพิเศษถึงการปฏิรูปประเทศไทยว่า ที่ผ่านมาเราได้พบความสูญเสียชีวิตในภาคใต้เพิ่มขึ้น 5,105 คน เป็นเด็กสูงถึง 62 คน บางคน โดยถูกกล่าวหาว่าอยากแบ่งแยกดินแดน ซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่างอาจสร้างความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจได้
อย่างไรก็ดี หลายคนยังไม่ทราบว่า ชายแดนภาคใต้มีการใช้กฎหมาย 4 ฉบับ ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยปราศจากหลักฐาน การซ้อมทรมานเหยื่อ ทำให้เกิดการกล่าวหาผู้อื่น ทำให้เกิดความรุนแรงต่อเนื่อง และเกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยกับพยาน และทำให้เกิดความจับกุมผู้บริสุทธิ์เป็นจำเลย
ประธานกลุ่มด้วยใจฯ กล่าวต่อว่า ประชาชนในชายแดนใต้ขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมรัฐ การเยียวยาด้วยเงินของภาครัฐที่ให้กับเหยื่อไม่ได้หมายความว่าจะชดเชยผู้ที่กระทำผิดได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องรับผิดในการละเมิดประชาชน ความแตกต่างของการพิจารณาคำพิพากษา ทำลายความชอบธรรมหลายอย่างรัฐได้บอกให้ประชาชนในความยุติธรรม แต่รัฐไม่ได้สร้างความยุติธรรมให้ประชาชน นั่นทำให้ประชาชนไม่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมเช่นกัน
“จากการที่เลขาธิการสมช. กับสมาชิกบีอาร์เอ็นพูดคุยกันทำให้เราเกิดเป็นความหวังประชาชนในพื้นที่ แต่ความหวังก็ไม่อาจหยุดความรุนแรงในพื้นที่ได้ ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการยุติธรรมให้เกิดความยุติธรรมจริง เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทำได้คน ๆ เดียวหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เกิดจากทุกฝ่ายและสิ่งสำคัญที่จะกลับคืนมาคือสันติสุข” นางอัญชนา กล่าว
ด้านนายประยงค์ ดอกลำไย กรรมการเครือข่ายด้านที่ดิน กล่าวปาฐกถาถึงเรื่องเดียวกันว่า การจัดสรรที่ดินในประเทศไทยมีพื้นที่ 320 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ไม่ปรากฏว่ามีที่ดินเพิ่มขึ้น แต่ประชาชนเพิ่มขึ้น และมีที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน 130 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นป่าร้าง ทะเล ถนน และมีมากกว่า 80%ที่ถูกครอบคลุมจากคนร่ำรวย ซึ่งมีอยู่ 6 ล้านคน ขณะที่คนจนและคนชั้นกลาง ครอบครองที่ดินเฉลี่ยไม่เกิน 1 ไร่ต่อคน ที่ทำให้เกิดปัญหาทำให้เกิดการกระจุกตัวของที่ดินในประเทศ
นอกจากนี้พบว่าที่ดินถูกบริษัทครอบครองอยู่อีก 30 ล้านไร่ ถูกทิ้งไว้เพื่อเก็งกำไร หากที่ดินเหล่านี้ประมาณครึ่งหนึ่ง มาปฏิรูปจัดสรรให้เกษตรกรรายย่อยใช้ประโยชน์ เราจะขายผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 1.27 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูญเสียทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีที่ดินของนักการเมืองที่อยู่ในสภาจำนวนมากในรูปบริษัท สังคมไทยมีที่ดินกระจุกตัวจำนวนมาก เทียบกับสัดส่วน 20% ของคนในสังคมนี้มากที่สุด เทียบมีตัวเลขห่างกันถึง 729 เท่า
“ปัญหานี้เป็นแรงบีบคั้นให้คนจน เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากต้องเข้าจับจองพื้นที่เอกชนทิ้งร้าง เพราะไม่มีหนทางหาเงินจำนวนมากมาซื้อเป็นที่อยู่อาศัย เพราะมีที่ดินสูงขึ้นจากการเก็งกำไรในรอบ 30 ปีผ่านมา คนจนเข้าเมืองแสวงหาอาชีพ แต่ไม่เข้าถึงที่ดินอาศัยได้จับจ้องที่ดินในเมืองกลายเป็นชุมชนแออันไม่น้อยกว่า 3,600 ชุมชน คนเหล่านี้เผชิญการไล่รื้อ คนชนชั้นกลางและชนชั้นกลางระดับล่างในเขตเมืองและปริมณฑล หลายรายต้องผ่อนชำระ บ้านจัดสรรไปตลอดชีวิต” นายประยงค์ ทิ้งท้าย.