สพฉ.แนะพบเด็กติดในรถ โทร 1669 – พาออกที่โล่ง ปั๊มหัวใจ รอจนท.มา
สพฉ. แนะวิธีปฐมพยาบาลเด็กติดอยู่ในรถเบื้องต้น ย้ำผู้พบเหตุให้รีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 หากเด็กหยุดหายใจให้ทำการฟื้นคืนชีพจนกว่าเจ้าหน้าที่จะให้การช่วยเหลือ ชี้ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยเด็กทิ้งไว้ในรถทุกกรณี
จาก กรณีการเสียชีวิตของน้องเอยที่ติดอยู่ในรถโรงเรียนนานร่วมหลายชั่วโมงเพิ่ง ผ่านพ้นไปได้เมื่อไม่นานมานี้ล่าสุดได้เกิดเหตุซ้ำในแบบเดียวกันอีกกับ ด.ช.สุริยการ พากัน หรือน้องพ็อตเตอร์ อายุ 3 ขวบ นักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนอนุบาลอุทุมพรวิทย์ จ.ศรีสะเกษ ที่ได้รับความร้อนสูงเกินขนาดโดยน้องพ็อตเตอร์ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาด เจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี ระบุอย่างชัดเจนว่า เด็กที่ติดในรถส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจหากแต่เสียชีวิต เพราะความร้อนที่อยู่ในรถมีอากาศสูง โดยใช้เวลาเพียง 5 นาที อุณหภูมิในรถจะเพิ่มสูงขึ้นจนเด็กไม่สามารถอยู่ได้ ยิ่งนานเกิน 10 นาที ร่างกายของเด็กจะแย่ และภายใน 30 นาทีเด็กอาจหยุดหายใจ และอวัยวะทุกอย่างหยุดทำงานจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ด้าน นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแหงชาติ (สพฉ.) กล่าว ว่า หากท่านพบเห็นเหตุการณ์เด็กติดอยู่ในรถเป็นเวลานานและเป็นผู้เข้าให้การช่วย เหลือเด็กที่หมดสติหรือหยุดหายใจสิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำคือโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อประสานเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาทำการช่วยเหลือเด็กให้ได้อย่างทันท่วงที และในระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่เข้าให้การช่วยเหลือจะต้องรีบนำเด็กออกมาจากรถ และนำไปอยู่บนพื้นราบที่อากาศปลอดโปร่งพร้อมกับทำการฟื้นคืนชีพ (CPR) เบื้องต้นในเด็ก ซึ่งการทำ CPR ในเด็กเล็กจะแตกต่างกับการทำ CPR ในผู้ใหญ่เล็กน้อย โดยมีขั้นตอนการทำ CPR ดังนี้ คือเมื่อปลุกเรียกแล้วสังเกตว่าเด็กส่งเสียงหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ทำการฟื้นคืนชีพทันทีจนครบ 2 นาที ก่อนร้องขอความช่วยเหลือโดยโทร 1669 และอย่าทิ้งเด็กไว้ลำพัง จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง ทั้งนี้ถ้าหากเด็กเกิดอุบัติเหตุจนอาจได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลังให้ยกเว้นการเคลื่อนย้าย หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์นเรนทร 1669
การ ปฏิบัติการกู้ชีพในเด็กก่อนทีมรถพยาบาลจะมาถึงนั้นให้กดหน้าอกของเด็กโดยวาง ส้นมือข้างหนึ่งไว้ตรงกลางหน้าอก ระดับราวนมและใช้มืออีกข้างหนึ่งวางบนหน้าผากของเด็กพยายามให้เด็กหงายหน้า ขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ กดหน้าอกให้กดลงไประหว่าง 1/3 ของความลึกของหน้าอก ซึ่งการกดหน้าอกจะต้องทำ 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด ทั้งนี้ให้ทำไปจนกว่าเจ้าหน้าที่รถพยาบาลจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือและนำเด็กส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
“อย่าง ไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่หรือคุณครูจะต้องดูแลเด็กๆ ให้ดี โดยไม่ควรปล่อยเด็กไว้ในรถตามลำพัง ถึงแม้จะแง้มกระจกรถไว้ก็ไม่ควรทำทุกกรณี เมื่อท่าจะต้องลงจากรถเพื่อไปทำธุระก็ควรนำเด็กลงไปด้วย และคุณครูก็ควรจัดทำรายชื่อของเด็กที่ขึ้นมาในรถ และก่อนลงรถควรเช็ครายชื่อของเด็กๆ ทุกคนดูอย่างละเอียดอีกครั้งว่าเด็กลงจากรถครบแล้วทุกคนหรือไม่เพื่อเป็นการ ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้ขึ้นอีก” เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าว