Sputnik Tales เดินหน้าเทศกาล Animator Festival ปี2
เริ่มแล้ว Animator Festival ปี2 ประกาศ10ผลงาน เข้าโชว์ผลงาน ณ โรงภาพยนต์สกาล่า 1 มิ.ย. 56 รัฐ จำปามูล ย้ำ “เทศการแอนนิเมชั่นเพื่อสังคม หนึ่งเดียวประเทศไทย” เวทีเปิดกล้างสำหรับเยาวชนทุกคน
วันที่ 9 พฤษภคม บริษัท Sputnik Tales กลุ่มผู้จัดเทศกาล Animator Festival หรือ “แอนนิเมชั่นเพื่อสังคม หนึ่งเดียวประเทศไทย” ซึ่งได้ความร่วมมือจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) จัดแถลงข่าว Animator Fastival ปี 2 ณ ห้องโถงอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
โดยวัตถุประสงค์แถลงข่าว เพื่อเสนอความเคลื่อนไหวของเยาวชนที่สร้างผลงานแอนนิเมชั่นสะท้อนความคิดอย่างอิสระเพื่อสังคม ที่ได้รับพิจารณาแล้วว่า “ดีและมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง" ซึ่งทุกๆผลงานที่ได้เข้าประกวดนั้นจะได้รับการันตีผ่านสายตา จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิองค์กรภาคีภาคสื่อมวลชน หรือ องค์กรภาคีภาคสังคม โดยมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้สร้างแอนนิเมชั่นคนใด สามารถแสดงผลงานได้ดีและสะท้อนบริบทของสังคมในปัจจุบันได้ชัดเจนที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จาก 108 ชิ้นงาน จะมีเพียง 10 ผลงานเท่านั้น ที่ได้คัดสรรค์แล้วว่า เป็นผลงานที่ดีที่สุด เพื่อไปจัดแสดง ณ โรงภาพยนต์สกาล่า ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้
ด้าน "รัฐ จำปามูล" ผู้ก่อตั้งบริษัท Sputnik Tales และเป็นผู้ริเริ่มโครงการ Animator Fastival กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการจัด “เทศกาลแอนนิเมชั่นเพื่อสังคม หนึ่งเดียวประเทศไทย”ว่า ตนเป็นคนรักแอนิเมชั่นมาก รู้สึกมีความสุขและสนุกเมื่อได้ทำผลงานด้านศิลปะแขนงนี้ จนวันหนึ่ง คนใกล้ชิดที่รู้จักต้องมาจากไป เพราะฆ่าตัวตาย ทำให้รู้สึกตระหนักถึงสิ่งสำคัญในชีวิตที่จะเติมเต็มความเป็นเราให้สมบรูณ์ ซึ่งกลับไม่ใช้เงินทองและของมีค่ารอบกาย แต่คือกำลังใจที่ทำให้ฟันเฟืองของหัวใจยังขับเคลื่อนต่อไปได้
“ผมจึงได้นำเหตุการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานแอนนิเมชั่นภายไต้ชื่อ “เพลงพระอาทิตย์” โดยเนื้อหาไม่ได้ให้เพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังได้มีการสอดแทรกกำลังใจให้กับผู้ชมที่กำลังท้อแท้ในชีวิตและจรรโลงใจด้วยภาพและเสียง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแอนิเมชั่น”
ผู้ก่อตั้งบริษัท Sputnik Tales กล่าวอีกว่า เมื่อผลงานได้ออกสู่สังคมในวงกว้าง ก็ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวน ซึ่งหนึ่งเสียงตอบรับที่ทำให้ได้จุดประกายความคิด แอนิเมชั่นเพื่อสังคม ขึ้นมา คือ ความเห็นจากผู้หญิงคนหนึ่งที่บอกว่า “ถ้าหนูไม่ได้ดูเรื่องของพี่ หนูคงกรีดข้อมือไปแล้ว” จึงทำให้ตนรู้ว่า งานที่ทำออกมานั้น ไม่ได้มีคุณค่ากับแค่ตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นความหมายให้กับคนบางคนที่ยังหาคำตอบให้กับชีวิตไม่ได้ ได้ปรับเปลี่ยนทัศนะคติและเข้าใจคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
จากจุดนั้นเอง เขากล่าวอีกว่า จึงทำให้คิดว่า ผลงานแอนนิเมชั่นนั้นเพื่อสังคมเป็นบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมที่กำลังตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย แก่งแย่งชิงดี หวาดระแวง ฯลฯ ให้ลดทอนลงโดยใช้แอนนิเมชั่นเป็นสื่อกลาง พร้อมกับเชื่อว่า ยังมีเยาวชนอีกมากที่ยังขาดเวทีในการแสดงผลงานด้านแอนนิเมชั่น ซึ่งยังมีผลงานอีกมากมายที่เป็นแอนนิเมชั่นเพื่อสังคมและรอเพียงโอกาสในการแสดงผลงานสู่สังคม ด้วยเหตุนั้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ Animator Fastival
สำหรับความน่าสนใจของ Animator Fastival เขา กล่าวว่า คือความอิสระทางการนำเสนอ เพราะไม่มีการตั้งกฏกติกาใดๆ ในการนำเสนอผลงาน ไม่ว่าจะเนื้อหา ระยะเวลานำเสนอ เทคนิคกระบวนการผลิต ซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้สร้างผลงาน แต่มีเพียงเงื่อนไขเพียงข้อเดียว คือ…ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม
เจ้าของความคิด เทศกาล Animator Fastival กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ในปีนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากหลายฝ่ายมากขึ้น ทั้งมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) บริษัท Beboyd CG จำกัด และ บริษัท Lunchbox Studio จำกัด