ชี้รัฐทบทวนเขื่อนแก่งเสือเต้นฟื้นภูมิวัฒนธรรมแก้ปัญหาน้ำท่วม
ท่ามกลางวิกฤติปัญหานานัปการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ส่วนใหญ่มีรากฐานของปัญหามาจากความไม่เข้าใจภูมิวัฒนธรรม โดยเฉพาะจากมุมมองของคนในพื้นที่ ยิ่งเมื่อบ้านเมืองก้าวไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น เกิดโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและ สังคมวัฒนธรรม ย่อมมีผลกระทบต่อธรรมชาติ สภาพวิถีวัฒนธรรมและสังคมผู้คนในทุกภูมิภาค มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน แต่ขาดการสร้างสำนึกร่วมในความเป็นท้องถิ่น
ท่ามกลางวิกฤติปัญหานานัปการที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ส่วนใหญ่มีรากฐานของปัญหามาจากความไม่เข้าใจภูมิวัฒนธรรม โดยเฉพาะจากมุมมองของคนในพื้นที่ ยิ่งเมื่อบ้านเมืองก้าวไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น เกิดโครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและ สังคมวัฒนธรรม ย่อมมีผลกระทบต่อธรรมชาติ สภาพวิถีวัฒนธรรมและสังคมผู้คนในทุกภูมิภาค มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน แต่ขาดการสร้างสำนึกร่วมในความเป็นท้องถิ่น
รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าโครงการภูมิวัฒนธรรม โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ระบุว่า การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องหวนกลับไปแก้ที่รากฐานของปัญหา คือกลับไปรื้อฟื้นองค์ความรู้เรื่อง “ภูมิวัฒนธรรม” หมาย ถึง ลักษณะภูมิประเทศธรรมชาติที่คนเข้าไปตั้งหลักแหล่งสร้างบ้านแปงเมือง ทำความเข้าใจ ศึกษาและเรียนรู้ เพื่อปรับตัวเองให้เข้ากันได้ดีกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
ล่าสุดโครงการภูมิวัฒนธรรม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “ภูมิวัฒนธรรม” สำนึก พลังท้องถิ่นเพื่อการอยู่รอด" ณ ห้องประชุม สกว. เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาผ่านมุมมองเรื่องภูมิวัฒนธรรม และเสนอแนวทางฟื้นฟูองค์ความรู้เรื่องภูมิวัฒนธรรมจากกรณีศึกษา อันได้แก่ ภูมิวัฒนธรรมกับการจัดการน้ำ กรณีน้ำท่วมเมืองสุโขทัย และการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
กรณี “ภูมิวัฒนธรรมกับการจัดการน้ำ กรณีน้ำท่วมเมืองสุโขทัย และการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น แน่ใจหรือว่าแก้ตรงจุด” รศ.ศรีศักร กล่าวว่า สุโขทัยเป็นเมืองระหว่างแม่น้ำ ตั้งบนที่ลาดเชิงเขา มีแม่น้ำ 3 สาย คั่นอยู่ คือ ปิง ยม และน่าน แต่ไม่ได้ตั้งติดแม่น้ำ สุโขทัยประสบปัญหาน้ำท่วมท้นและน้ำท่วมฉับพลันจากภูเขาเช่นเดียวกับ เชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ การสร้างบ้านแปงเมืองจึงต้องกำหนดผังเมืองให้หลีกน้ำท่วม โดยสร้างทำนบและคันดิน ขณะที่หน้าแล้งก็แล้งมากเพราะไม่มีน้ำใต้ดิน แต่ในอดีตชาวบ้านอยู่ได้เพราะมีตระพังเก็บรักษาน้ำ การจัดน้ำของสุโขทัยหากน้ำมาเร็วฉับพลันก็ใช้วิธีการสร้างทำนบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ถนนพระร่วง เพื่อชะลอน้ำจากที่สูงทั้งด้านเหนือและด้านใต้ของสุโขทัย และอีกหลายทำนบในการกั้นน้ำ ชะลอน้ำ เบนน้ำ เพราะน้ำลงจากเขามาเร็ว
คนสุโขทัยต้องการน้ำกินน้ำใช้มากกว่าน้ำในแม่น้ำ ตามความเชื่อน้ำกินต้องมาจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ คือ เขาพระบาทน้อย กับเขาตะพานหินที่มีพระอัฏฐารสประดิษฐานอยู่ บริเวณนี้เป็นที่น้ำลงมา เมื่อน้ำลงมาได้ใช้ทำนบตัวยูบีบน้ำแล้วขุดเป็นทางน้ำรองรับ มีการต่อท่อน้ำดึงเข้าไปในวัด น้ำที่เหลือจะพุ่งเข้าประตูอ้อซึ่งเป็นประตูเมืองหนึ่งของเมืองสุโขทัย สุโขทัยมีกำแพงและคูน้ำล้อมสามชั้นทำหน้าที่เป็นกำแพงเมืองและคูเมืองแท้ จริงมีเพียงชั้นเดียวและคูเดียว ส่วนคูน้ำอีกสองชั้นเป็นการกักน้ำและผันน้ำทั้งสิ้น โดยผันเข้าข้างในตระพังต่าง ๆ นอกจากนี้พื้นที่ของสุโขทัยทั้งหมดยังเต็มไปด้วยสระน้ำเล็ก ๆ เพราะเป็นการเก็บน้ำผิวดิน และมีบริเวณที่หลบน้ำท่วมที่เรียกว่า โซกพระร่วง ทำเป็นฝายน้ำล้นเพื่อชะลอน้ำด้วย คนในอดีตรู้ระดับน้ำและใช้ระดับน้ำในการจัดการ ทำนาใช้ระบบเหมืองฝาย ไม่ใช้น้ำแม่น้ำ ส่วนตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบันที่น้ำท่วมทุกปีเพราะตั้งอยู่ในที่ต่ำกว่าตัว เมืองเก่า เมื่อน้ำมาจะท่วมท้นสองฝั่งน้ำแล้วเทลง เขตสุโขทัยตรงพื้นที่ระหว่างเขาเชื่อมกันได้ระหว่างแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยม จึงมีผลต่อบางระกำเพราะต่ำกว่าสวรรคโลก น้ำจะไหลแผ่ลงมา ขณะที่เมืองที่ตั้งบนที่สูงอย่างศรีสัชนาลัยได้เปรียบกว่า
“ระบบการจัดการน้ำของเมืองสุโขทัยนั้นสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศที่เป็น ที่ลาดเชิงเขา จึงต้องพึ่งพาน้ำจากที่สูง การจัดการระบบชลประทานจึงเป็นการชักน้ำจากที่สูงมาเก็บไว้ในคูน้ำ สระน้ำ เพื่อใช้อุปโภคบริโภค และมีการสร้างลำเหมืองฝาย เพื่อแจกจ่ายน้ำไปยังพื้นที่นา”
สำหรับกรณีของแก่งเสือเต้น เกิดคำถามว่าเหตุใดจึงไม่สร้างตัวเขื่อนใน พื้นที่ศรีสัชนาลัย เพราะเป็นพื้นที่เชื่อมกับเขตพื้นที่สูง สามารถเก็บกักน้ำได้ พิจารณาจากลำน้ำยมเมื่อไหลลงจากพะเยามาถึงจุดที่สร้างแก่งเสือเต้นในเขต จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นเมืองระหว่างเขา มีลำน้ำงาวจากลำปางไหลมาสบกับแควน้ำยมในซอกเขา ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้สักในพื้นที่แอ่งเล็ก ๆ จากนั้นก็จะไหลลงสู่ อ.เด่นชัย ซึ่งเป็นพื้นที่คอขวด น้ำไหลออกยาก ลำน้ำมีการหักเบนไปทางตะวันตกผ่าน อ.วังชิ้น ที่บริเวณนี้จะมีลำน้ำสายอื่น ๆ ไหลลงมาสมทบราว 40 สาย ก่อนจะไหลลงผ่านเข้าศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ตัวเมืองสุโขทัยใหม่ ซึ่งน้ำที่ไหลต่ำจากสวรรคโลกลงมานั้น จะเริ่มไหลแผ่กระจายและแรง เป็นเหตุให้ตัวเมืองสุโขทัยใหม่ที่ตั้งอยู่ในที่ลุ่มต่ำถูกน้ำท่วมทุกปี จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีการค้านว่าไม่ควรสร้างแก่งเสือเต้นที่แพร่ แต่ควรสร้างบริเวณเหนือเมืองศรีสัชนาลัยมากกว่า อีกทั้งตัวเมืองแพร่ที่เกิดน้ำท่วมก็มิได้มีต้นเหตุมาจากลำน้ำยม เนื่องจากปริมาณน้ำยมที่ไหลจากตอนเหนือนั้นน้อย ขณะที่ต่ำจากเขตวังชิ้น จ.แพร่ ลงมาแล้ว ปริมาณน้ำจะสูงกว่ามาก เพราะได้ลำน้ำสายอื่น ๆ มาสมทบ
แต่น้ำที่ท่วมแพร่นั้นมาจากลำน้ำหลายสายทางตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณผา ช้างด่าน ซึ่งเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ ไหลเข้าตัวเมืองแพร่มาก กอปรกับพื้นที่เขาสูงถูกทำลายจากการเกษตร ไม่มีพื้นที่ซับน้ำจนเกิดดินถล่ม น้ำไหลแรง ทำให้การระบายน้ำลงสู่เด่นชัยไม่ทัน ในอดีตแพร่มีการจัดการน้ำโดยใช้การก่อกำแพงเมืองสูงกั้น กระแสน้ำ และมีการจัดการน้ำแบบเหมืองฝาย ขุดลำเหมืองดึงน้ำเข้ามาใช้ในเมืองแพร่ แม้แต่น้ำกินก็มีลำเหมืองอยู่ตรงกลางเมืองแพร่เดิม แต่ปัจจุบันได้ถูกถมไปแล้ว ฉะนั้นแม้ว่าจะมีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมา พื้นที่รับน้ำซึ่งเป็นอ่างอยู่ด้านบนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ จ.สุโขทัย และ จ.แพร่ได้
“การเข้าใจในเรื่องธรรมชาตินั้น คนไทยค่อนข้างจะรู้ดีว่าเส้นทางน้ำจะมาอย่างไร ออกไปที่ใด แต่คนนอกกลับมองภาพกว้างและไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดเรื่องภูมิวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากข้างใน บางครั้งคนข้างในอาจจะหลงลืมไปบ้าง แต่หากได้รื้อฟื้นขึ้นมาแล้ว และนำมาใช้ก็จะจัดการแก้ปัญหาได้” รศ.ศรีศักรสรุปในท้ายที่สุด.
ที่มาเรื่อง : http://www.dailynews.co.th/article/728/173912