ปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556 Managing Risk in Agricultural Economics 2013
ปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2556
Managing Risk in Agricultural Economics 2013
ดร.จารึก สิงหปรีชา ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่ากลุ่มที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ จีนและสหรัฐฯ และกลุ่มที่ยังคงอ่อนแอ คือ ยุโรปและญี่ปุ่น ดัง นั้น อนาคตจีนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในตลาดโลกมากขึ้น อีกทั้งกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่ยังเติบโต แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศ อุตสาหกรรมหลัก หากเศรษฐกิจของประเทศหลักยังมีแนวโน้มซบเซาต่อไปจึงยากที่จะเลี่ยงผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น ปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจการเกษตรที่เกิดขึ้นประกอบด้วย
1.ปัจจัยภายนอกประเทศ
1.1 ปัจจัยเศรษฐกิจโลก (World Economy)
ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2556 ยังคงมีความผันผวนจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำ ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศผู้นำ มีแน้วโน้มขยายตัวและการปรับตัวที่ดีขึ้น ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการต่าง ๆ
1.2 ปัจจัยทิศทางระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ (New World Order)
การประกาศ "การจัดระเบียบโลกใหม่" ประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ การแข่งขันที่รุนแรงจากเศรษฐกิจเกิดใหม่ การ แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจเกิดใหม่ การสร้างสมดุลระหว่างมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และการใช้เครื่องมือใหม่ๆในการกีดกันการค้าระหว่างประเทศ และแสวงหาประโยชน์จากประเทศอื่นๆ
1.3 ระดับราคาน้ำมันดิบตลาดโลก (World crude oil price)
เนื่อง จากเศรษฐกิจโลกยังเจริญเติบโตไม่มาก ทำให้แนวโน้มของราคาน้ำมันยังคงตัว โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2556 คาดว่ามีแนวโน้มอยู่ในช่วง 108 – 113 ดอลลาร์/ บาร์เรล เทียบกับ 109.5 ดอลลาร์/บาร์เรล
1.4 ปริมาณการค้าโลกทางการเกษตร (World Ag – Export - Import)
ประเทศ ไทยมีจุดแข็งในการค้าสินค้าเกษตรในตลาดโลกเพราะประเทศไทยจะมีผลผลิตสินค้า เกษตรมากกว่าการบริโภคในประเทศ โดยเป็นผู้ส่งออกข้าว มัน ยางเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่ในปัจจุบันมีประเทศอื่นๆที่สามารถเพิ่มผลผลิตสินค้าเกษตรและส่งออกสู่ ตลาดโลกเพิ่มขึ้น เช่น เวียดนาม พม่า และกัมพูชา แต่ปริมาณความต้องการสินค้าเกษตรของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามภาวะ เศรษฐกิจของโลก ดังนั้นจะทำให้มีปริมาณสินค้าเกษตรขายในตลาดโลกมาก ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลงได้ ซึ่งจะกระทบต่อระดับราคาสินค้าเกษตรภายในประเทศ
1.5 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Exchange Rate)
ในปี 2556 คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.00-31.00 บาท/ดอลลาร์ โดยคาดว่าจะมีความผันผวนในกรอบแคบๆ ซึ่งผลของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลกระทบต่อภาคเกษตร เนื่องจาก สินค้าเกษตรที่สำคัญของไทยที่ขายในตลาดโลก มีการค้าขายกันโดยใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ
2.ปัจจัยภายในประเทศ
2.1 การส่งออกสินค้าเกษตรไทย/และรวม Thai – Export, Ag – Export
สินค้า เกษตรนับเป็นสินค้าหลักที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก ดังนั้นการส่งออกสินค้าเกษตรจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลและตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยเริ่มตั้งแต่การควบคุมกระบวนการ การเพาะปลูก การผลิต ผลิตภัณฑ์สุดท้าย จนถึงมือผู้บริโภค ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นที่ยอมรับของประเทศ คู่ค้า และทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ตาราง 1 การประมาณอัตราการเจริญเติบโตการส่งออกสินค้าเกษตรไทย
เปรียบเทียบ |
ไตรมาส 1 |
ไตรมาส 2 |
ไตรมาส 3 |
ไตรมาส 4 |
ภาพรวม |
||||
ปี |
2555 |
2556 |
2555 |
2556 |
2555 |
2556 |
2555 |
2556 |
2555 2556 |
อัตราการเจริญเติบโต (Growth) |
2.68% |
6.64% |
8.40% |
3.95% |
5.35% |
||||
2.2 ปัจจัยภัยธรรมชาติ (Natural Disaster) – ภัยแล้ง น้ำท่วม
ปัญหาภัยธรรมชาติ (ภัยแล้ง น้ำท่วม) ยัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการขยายตัวของการผลิตในภาคเกษตร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร การบริโภคภาคเอกชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยภาพรวม
2.3 เงินทุนไหลเข้าของไทย (Foreign Direct Investment: FDI)
สภาพ คล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่เกิดจากมาตรการขยายปริมาณเงิน ของประเทศต่างๆ จะทำให้มีปริมาณเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจจะสร้างแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่ามากขึ้น รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาความผันผวนในระบบเศรษฐกิจและ การเงิน ซึ่งก่อให้เกิด อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) ที่ มีแน้วโน้มสูงขึ้น แต่คาดว่าจะไม่มากนัก เพื่อเป็นการป้องกันเงินทุนไหลเข้า ทางหน่วยงานภาครัฐจะต้องมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดของ อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) ที่เหมาะสมตามความจำเป็นในเวลานั้น ๆ
2.4 นวัตกรรมใหม่ทางการเกษตร (Agriculture New Innovation)
ประกอบกับภาครัฐและเอกชนได้มีการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในทางที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคที่ดี มีคุณภาพ ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น
2.5 แรงงานภาคการเกษตร (Labour)
แรงงานภาคการเกษตรมีแนวโน้มอายุสูงขึ้น ทำให้ขาดแคลนแรงงาน ดังนั้นส่งผลให้แนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น
2.6 หนี้สาธารณะของประเทศไทย (Public Debt)
ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 หนี้สาธารณะคงค้างมีจำนวนทั้งสิ้น 4,937,239.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.91 ของ GDP ยังอยู่ในระดับที่ปกติและรัฐบาลได้มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง
2.7 ราคาสินค้าเกษตรและแนวโน้ม
ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตรและระบบอาหารโลกที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่จุดใหม่ ในปัจจุบัน โดยโลกของเกษตรและอาหาร นี้จะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเข้ามารุมเร้าจนก่อให้เกิดการถีบตัวสูงขึ้นของราคา อาหารและความผันผวนของอุปทานอาหารโลก (และอาจเกิดความผันผวนในด้านอุปสงค์ด้วย) ปัจจัยสำคัญๆอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), ภัยธรรมชาติ, การ เติบโตขึ้นของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และ ปัจจัยจากเงินทุนเคลื่อนย้าย เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาและการไหลเวียนของอุปทานอาหารในวงจร เกษตรและอาหารโลกในอนาคต
3. นโยบายภาครัฐสำหรับภาคการเกษตร
กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินงานตามนโยบายสำคัญๆ ของรัฐบาลที่สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทั้งเรื่องเร่งด่วน และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร เพื่อพัฒนาภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการพัฒนาเกษตร องค์กรเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อสามารถแข่งขันและเป็นพื้นฐานความมั่นคงทาง อาหารและพลังงานของประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขต พื้นที่ชลประทาน
2. จัดทำแผนขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557
3. สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรกรรมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558
4. การยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน
5. การเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร
สนับ สนุนการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำผลผลิตเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง การผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพทางการตลาดสูงแปรรูปสินค้าเกษตรตามระบบ มาตรฐานความปลอดภัยอาหาร โดยพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรทั้งการนำเข้าและส่งออกให้ เป็นไปตามมาตรฐานโลก รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทฤษฏีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
4. มาตรการรองรับ หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เตรียมการเพื่อรองรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจการเกษตร ดังนี้
- การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) ในสินค้าเกษตรที่สำคัญเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด / จังหวัด อาทิ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย สัปปะรด กุ้ง ไก่เนื้อ และสุกร เป็นต้น
- นิคมการเกษตร
- การพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ (ตั้งแต่กระบวนการผลิต มาตรฐาน/ความปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร การตลาด)
- การเพิ่มขึดความสามารถให้กับ SME และ OTOP สู่สากล
- การปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขัน (พืช ประมง ปศุสัตว์ บริหารจัดการน้ำ)
- การวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร
- การรับจำนำสินค้าเกษตร (ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)
- การป้องกันผลกระทบ ปรับตัวเพื่อรองรับภาวะโลกร้อน
***********************
ข้อมูล : ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร