ถอดบทเรียนเวทีเสวนา “เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ....
ถอดบทเรียนเวทีเสวนา
“เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ....
ทำอย่างไรเราจะยอมรับตนเองที่ยอมรับความแตกต่างได้เพื่อดับไฟการเมือง สู่การดับไฟใต้ตามวิถีประชาธิปไตย”
เรียบเรียงโดย อับดุลสุโก ดินอะ
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสฑูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้ชมทุกท่าน
วันที่ 8-9 ธันวาคม 2555 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) และ USAID ได้จัดโครงการเวทีสันติประชาธิปไตย ระดับ 4หวัดชายแดนภาคใต้คือ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ในหัวข้อ “เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ.... ทำอย่างไรเราจะยอมรับตนเองที่ยอมรับความแตกต่างได้เพื่อดับไฟการเมือง สู่การดับไฟใต้ตามวิถีประชาธิปไตย” ณ ห้องนราทัศน์๑ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
การจัดเวทีครั้งนี้ผู้เขียนในฐานะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนแกนนำจากทุกภาคส่วนจำนวน 60 คน ซึ่งผลการประชุมสามารถถอดบทเรียนการเสวนาดังนี้
1. ศาสนาไม่ใช่ปัจจัยหลักของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะคนมุสลิม พุทธ คริสเตียนหรือเชื้อสายมลายู ไทย จีน อยู่กันได้มายาวนานดั่งเวทีประชาสังคมที่ประชุมในวันนี้ ส่วนผู้ก่อเหตุจะนำประเด็นศาสนามาเพิ่มปัญหาความรุนแรงอันเนื่องมาจากความอยุติธรรมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ส่วนคำถามที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ.... ทำอย่างไรเราจะยอมรับตนเองที่ยอมรับความแตกต่างได้เพื่อดับไฟการเมือง สู่การดับไฟใต้ตามวิถีประชาธิปไตย นั้นไม่ใช่ถามภาคประชาชนแต่ควรถามคนของรัฐมากกว่า
2. การจะลดความขัดแย้งและจะทำให้อยู่ร่วมกันได้ นั้นมีปัจจัยในประเด็นต่างๆดังนี้
2.1 การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง
2.2 ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
2.3 การกระจายอำนาจตามกระบวนการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
2.4 เศรษฐกิจและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ
2.5 การต่างประเทศ/อาเซียน
2.6 รัฐธรรมนูญ
ซึ่งแต่ละประเด็นปัจจัยดังกล่าวได้ใช้กระบวนการกลุ่มศึกษาอดบทเรียน ความผิดพลาดในอดีต ภาพอนาคตที่ทีอยากให้เป็น และแต่ละคนหรือ องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้เลยภายใต้กฎหมาย พระราชบัญญัติ ความพร้อมของผู้นำหรือชุมชน
สำหรับภาพอนาคตที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยากให้เป็นและร่วม ผลักดันในประเด็นต่างๆดังนี้
ประเด็น
การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง
• โครงสร้างการบริหารการศึกษาต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบจากแนวดิ่งให้เป็นแนวราบ
• สร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในเรื่องการจัดการศึกษา
• จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต บริบทพื้นที่มลายูมุสลิม (ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม)พร้อมไม่ทอดทิ้งความแตกต่างที่ไม่ใช่มลายูมุสลิม
• จัดการศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ไม่ใช่จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศด้านวิชาการอย่างเดียว)
• ใช้มัสยิดเป็นสถานการศึกษา โดยเฉพาะวันศุกร์ ศูนย์กลางของการศึกษาใช้กรรมการมัสยิด ๑๕คน บูรณาการกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
• หนุนเสริมภาคประชาชนในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองที่ตระหนักในหน้าที่เน้นการเรียนต้องรู้ประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์แบบท่องจำพร้อมทั้งการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น และความร่วมมือระหว่างมัสยิดเป็นที่เรียนรู้ ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของตนเอง
ประเด็น ความยุติธรรมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
• ยกเลิกพรก.และกฎอัยการศึก ซึ่งขัดกับสิทธิมนุษยชนมายาวนาน 9 ปี
• เริ่มที่ ประชาชนไม่ใช่ทหาร
• กระจายอำนาจให้ชาวบ้านเข้าใจ (ไม่ใช่แค่ตัวแทน)สิทธิของตัวเอง
• การพูดคุยเรื่องกฎหมาย การปกครอง ที่เรียกร้องเรื่องการกระจายอำนาจ คัดเลือกข้าราชการดีเข้ามาทำงานในพื้นที่ ที่ยังไม่สามารถทำได้
• กฎหมายแพ่ง พาณิชย์ อาญา วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่าง
• ฟื้นฟูโต๊ะครูและผู้นำตามธรรมชาติอื่นๆ
• เยียวยาอย่างยุติธรรม/จัดเสวนาเรื่องกฎหมายโดยเฉพาะ
• นิรโทษกรรมชาวบ้านที่ต้องคดีปีพ.ศ.๒๕๔๗ เพื่อแสดงความจริงใจ ด้วยการถวายฎีกา
ประเด็น การกระจายอำนาจและความมั่นคง
• จัดตั้ง รวมกลุ่ม เครือข่ายภาคประชาชนให้เข้มแข้ง เกิดอำนาจต่อรอง
• มีการสื่อสารระหว่างคนท้องถิ่นกับภายนอก (รัฐธรรมนูญ ประชาชน นิติบัญญัติ ความมั่นคง การต่างประเทศ)
• สร้างองค์กร กลไก ช่วยขับเคลื่อน การกระจายอำนาจ ประเด็นด้านภาษาวัฒธรรม การศึกษาหลักสูตร ความยุติธรรม กฎหมาย การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ ภาษี๗๐% :๓๐%
• ท้องถิ่นจัดการตัวเอง
• สร้างความตระหนักถึงสิทธิอำนาจให้คนในท้องถิ่นภาพอนาคตที่เป็นไปได้ถ้ากระจายอำนาจ
• เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น ภาษี การจัดการรายได้ บริหารทรัพยากรของตนเอง อย่างเหมาะสม
• การปกครองท้องถิ่น จัดการปัญหาตนเองได้
• การกระจายอำนาจต้องเกิดขึ้น สร้างความมั่นคงในรัฐ+ชีวิตของคน เกิดความสงบ
• ประชาชนมีสิทธิ มีอำนาจเพิ่มขึ้น กลไกรัฐเป็นระบบ
ประเด็น เศรษฐกิจ ทรัพยากร การต่างประเทศ
• ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำหน่ายใน๑๐ประเทศอาเซียน
• เตรียมคนด้านภาษา เรียนรู้วัฒนธรรม รู้จักอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
• การเปิดด่านและบริการที่สะดวก รวดเร็ว
• สร้างความพร้อม Kuasa หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะและ ปฏิบัติอย่างมืออาชีพ(K=Knowledge U=Understanding A=Attitude S=skill A=Action)
ประเด็น รัฐธรรมนูญ
• เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่ง
• ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชนไม่ใช่เป็นนายของประชาชน
• แยกอำนาจนิติบัญญัติจากอำนาจบริหารอย่างชัดเจน
• กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
ช่วงท้ายตัวแทนในที่ประชุมได้สรุปว่า “การรวมกลุ่มกันคือพลังของสังคม เรายังมีความหวัง เราจะอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยโดย”