3 รมต.กษ.ใหม่โชว์นโยบาย เน้นสมาร์ทฟาร์มเมอร์-ฮับซีฟู๊ดส์โลก-เร่งโซนนิ่ง จว.
“ยุคล-ศิริวัฒน์-ยุทธพงศ์”เปิดตัวโชว์นโยบายยกระดับราคาสินค้าเกษตร- สร้างสมาร์ทฟาร์มเมอร์-เร่งกำหนดโซนนิ่งพื้นที่เพาะปลูก –พัฒนาข้าวไ ทยทั้งระบบ ผลักดันประมงเป็นฮับซีฟู๊ดโลก
วันที่ 5 พ.ย.55 ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(รมว.กษ.) มอบนโยบาแก่ผู้บริหารของ กษ.ว่านโยบายหลักทีต้องเร่งรัดดำเนินการ ได้แก่ 1. โครงการพระราชดำริ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามประสานงานโครงการพระราชดำริ โดยให้ผู้บริหารระดับสูงของ กษ.ติดตามทุกครั้งที่เสด็จฯตรวจพื้นที่
2.โครงการตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะการยกระดับราคาสินค้าเกษตร มอบหมายให้ทุกหน่วยงานรายงานแผนการดำเนินการการและต้นทุนการผลิตสินค้าแต่ละชนิดจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ให้ทราบภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้เชื่อว่า กษ.และกระทรวงพาณิชย์จะร่วมกันทำเรื่องนี้ได้ประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้นโยบายด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร ได้แก่ การสร้างความเข็มแข้งให้องค์กรเกษตรกร การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อการแข่งขันและความมั่นคงอาหาร การพัฒนาทรัพยากรในไร่นา ดิน น้ำ การวิจัยพัฒนาสายพันธุ์ การลดต้นทุนการผลิต และการทำมาตรฐานการผลิต ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนด้วย
3.การสร้างเกษตรกรอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ จะให้ กษ.เป็นสมาร์ทออฟฟิตควบคู่ไปด้วยเพื่อให้คำปรึกษาเกษตรกร โดยจะตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรที่มีข้อมูลทั้งแหล่งผลิต ฤดูกาลที่ผลผลิตออก ปริมาณผลผลิต สภาพภูมิอากาศ ราคาสินค้าทั้งในและนอกประเทศ โดยเชื่อมโยงกับข้อมูลของ สศก. เพื่อตั้งเป็นวอลล์รูมเชื่อมข้อมูลลงทุกจังหวัด และแนะนำแก่เกษตรกรต่อไป
มอบให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์แต่ละจังหวัดทำแผนการพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัดปี 2556 เพื่อรวบรวมข้อมูลการทำโซนนิ่งสินค้าเกษตรทุกชนิดในจังหวัด เช่น ทะเบียนเกษตรกร ที่ตั้งฟาร์ม แหล่งรวบรวมผลผลิตและการกระจายสินค้า แหล่งแปรรูป ต้นทุน ราคา แหล่งน้ำ ฤดูกาล นอกจากนี้ให้ทุกหน่วยงานปรับรูปแบบการส่งเสริมการเกษตรใหม่ โดยบูรณาการการทำงานในจังหวัดและทำแผนปฎิบัติการเชิงรุกเพื่อเข้าถึงเกษตรกร เช่น ให้ข้อมูลด้านการตลาด ราคาผลิต ภัยธรรมชาติ ทั้งนี้ให้เร่งทำแผนระดับจังหวัดให้แล้วเสร็จภายใน 31 ธ.ค.55 เพื่อให้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังได้ในปีหน้าทันที
“เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯต้องรู้ล่วงหน้า ว่าเดือนไหนน้ำมา เดือนไหนแล้ง ปริมาณแหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่ พื้นที่ใดควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ฯลฯ เพื่อบอกให้เกษตรกรเตรียมรับมือได้ โดยจะเน้นการทำแผนพัฒนาเชิงรุก ไม่ใช่ตั้งรับอย่างเดิม เพื่อให้การพัฒนาลงถึงเกษตรกรจริง และรู้ตัวเลขผลผลิตต่อไร่แต่ละพื้นที่ นำไปสู่การลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก”
สำหรับการรับมือภัยแล้ง ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ช่วงวิกฤตในไม่ช้า มอบหมายให้กรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตรประสานงานร่วมกันกับ กบอ.เพื่อดูว่าพื้นใดบ้างที่ประสบภัยแล้งและควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย โดยจะตรวจสอบข้อมูลและประกาศเตือนภัยเกษตรกรให้เร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้งประมาณ 40 จังหวัดโดยที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฝนหลวง
นายยุคลกล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ตั้งศูนย์ดูแลเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงและปลอดภัยของอาหาร , ให้กรมการข้าวทำแผนพัฒนาข้าวทั้งระบบ และกรมปศุสัตว์ประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อดูแลเรื่องการลักลอบค้าสุนัขข้ามชาติ
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่าถึงนโยบายเร่งด่วนคือสานต่อภารกิจที่กรมประมงได้รับมอบหมาย ได้แก่ การยกระดับมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงปลานิลให้เพิ่มขึ้นเท่าตัว ส่งเสริมเกษตรกรภาคประมงให้เข้าสู่มาตรฐานฟาร์มครบทุกแห่ง การสร้างตลาดใหม่ๆ ให้กับสินค้าประมง และผลักดันสู่การเป็นศูนย์กลางสินค้าประมงโลก หรือฮับซีฟู้ด และการดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ
ด้านนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยนโยบายหลักคือ การสานต่อการแก้ไขปัญหาราคายางพารา โดยนำมิติเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ให้มีความสอดคล้องกันทั้งพื้นที่การผลิต และความต้องการของตลาดโลก เพื่อแก้ไขปัญหาระยะ โดยเบื้องต้นจะเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศ เช่น สร้างถนนยางพารา ดูแลให้เกษตรกรมีปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและลดต้นทุน เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย .