โชว์ 6 เดือน ขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ได้แล้วกว่า 1.6 แสนฉบับ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง และกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ผลการดาเนินการของกองทุน ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม ถึง 11 กันยายน 2555 มียอดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ รวมจำนวนทั้งสิ้น 165,333 ฉบับ จากบริษัทประกันภัยทั้งสิ้น 46 บริษัท โดยมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 14,419 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็น (1) กลุ่มบ้านอยู่อาศัย จำนวนกรมธรรม์ 154,306 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 9,186 ล้านบาท (2) กลุ่ม SME จำนวนกรมธรรม์ 10,326 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 1,994 ล้านบาท และ (3) กลุ่มอุตสาหกรรม จำนวนกรมธรรม์ 701 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 3,239 ล้านบาท
โดยบริษัทประกันภัยที่มีการจำหน่ายกรมธรรม์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด บริษัทไทยพาณิชย์สามัคคี จำกัด และบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด
ทั้งนี้ กองทุนคาดว่าจนถึงสิ้นปี 2555 กองทุนจะมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนอยู่ที่ 86,166 ล้านบาท
สาเหตุที่ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนลดลงจากการคาดการณ์เดิมเมื่อช่วงต้นปีเนื่องจาก ระบบประกันภัยได้ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขั้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กองทุนสามารถผ่อนคลายหลักเกณฑ์การรับประกันภัยพิบัติไปแล้วถึง 2 ครั้ง ซึ่งนับเป็นความสาเร็จของกองทุนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบประกันภัยโดยรวม โดยบริษัทประกันภัยสามารถรับประกันภัยได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ และผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติที่เหมาะสมตรงกับความต้องการในราคาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ นายสมชัยฯ ได้ย้าถึงหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกองทุนโดยภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะต้องมีความรุนแรงในระดับภัยพิบัติซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 หลักเกณฑ์ได้แก่
(1) คณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่นเดียวกับกรณีการให้เงินช่วยเหลือพิเศษจำนวน 5,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554
(2) กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ มากกว่า 5,000 ล้านบาทต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายให้เป็นไปตามข้อมูลที่ได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
หรือ (3) กรณีธรณีพิบัติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ ขึ้นไป หรือกรณีวาตภัย ความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
นายสมชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้าท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในขณะนี้ ความรุนแรงยังไม่ถึงขั้นภัยพิบัติจึงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กองทุนกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยได้ หากมีการทำประกันภัยที่กรมธรรม์ระบุถึงความคุ้มครองจากความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในกรณีน้าท่วม