เปิดพิมพ์เขียวกยน. แผนแก้ "มหาอุทกภัย"
จากปัญหาอุทกภัยปี 2554 ที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนการบริหาร จัดการน้ำในระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำของประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นในฤดูฝนหน้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ฟื้นความเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชน เกษตรกร ภาคธุรกิจ และนักลงทุนใน นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบตลอดจนสร้างความมั่นคงของประเทศจากวิกฤตอุทกภัย
โดยมีหลักการดังนี้
1.ลดระดับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วมปี 2554 กรณีที่ปริมาณน้ำปี 2555 มีปริมาณมาก จะต้องไม่เกิดปัญหาอุทกภัยเช่นในปี 2554 และหากเกิดปัญหาอุทกภัยจะต้องลดผลกระทบจากอุทกภัยต่อเศรษฐกิจและสังคมให้น้อยที่สุด
2.ปรับปรุงการบริหารจัดการเขื่อนหลัก โดยบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญๆ จะพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งด้านการชลประทาน การป้องกัน และบรรเทาอุทกภัย
3.ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำชลประทาน คันกั้นน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้สามารถป้องกันน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อให้สามารถจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้
4.ชดเชยให้กับพื้นที่รับน้ำเกษตรกรรม การผันน้ำเข้าพื้นที่เกษตรกรรมในกรณีน้ำหลากเพื่อหน่วงน้ำและลดผลกระทบที่เกิดจากน้ำท่วม ผลกระทบและความเสียหายในพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจ ความยอมรับ และชดเชยความเสียหายให้ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจว่าจะไม่ต้องรับภาระฝ่ายเดียว
5.ปรับปรุงกลไกในการบริหารจัดการภัยจากน้ำท่วม โดยพัฒนาระบบข้อมูลการพยากรณ์ การเตือนภัย ที่น่าเชื่อถือ และมีเอกภาพ รวมทั้งองค์การในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต เพื่อสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
6.จัดทำแผนการแก้ปัญหาอุทกภัยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญเพราะแต่ละพื้นที่มีสภาพพื้นที่ ปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน จึงต้องมีแผนเฉพาะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เช่น พื้นที่ชุมชน เมืองหลัก ธุรกิจ และอุตสาหกรรม เป็นต้น
แนวทางการบริหารจัดการน้ำระยะเร่งด่วน
ที่สำคัญมีดังนี้
1.การดำเนินการด้านวิศวกรรม
1.1 ปรับแผนการบริหารน้ำในเขื่อนสำคัญ โดยการปรับปรุง Rute Curve สะท้อนความสำคัญของการป้องกันน้ำท่วม โดยหน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ ร่วมกับคณะอนุกรรม การติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 กำหนดพื้นที่รับน้ำนอง ตั้งแต่เขื่อนหลัก ในภาคเหนือ ตลอดจนสองฝั่งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล โดยกำหนดพื้นที่รับน้ำนองตามธรรมชาติและที่ก่อสร้างขึ้น พร้อมจัดทำแผนการผันน้ำลงสู่พื้นที่รับน้ำนอง การจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย รวมทั้งสร้างความเข้าใจความยอมรับกับประชาชนในพื้นที่โดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.3 ซ่อมแซมอาคารบังคับน้ำให้มีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุง ซ่อมแซมและก่อสร้างอาคารชลประ ทาน โดยกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.4 เสริมคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ โดยการปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างคันกั้นน้ำ ให้เป็นคันกั้นน้ำถาวร โดยกรมชลประทาน กรุงเทพ มหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.5 ปรับปรุงคูคลอง และทำความสะอาดทางน้ำสาธารณะ โดยการขุดลอก คูคลองและท่อระบายน้ำ รวมทั้งกำจัดวัชพืชที่ขวางทางน้ำไหลซึ่งต้องศึกษาขอบเขตและข้อจำกัดของข้อกฎหมายที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่างๆ และดำเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยกรมชลประทานกรุงเทพมหา นคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.6 สำรวจขีดความสามารถการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร และประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการใช้ระบบท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ปั๊มน้ำ และระบบระบายน้ำใหญ่ที่มีอยู่ โดยกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบ
2.การบริหารจัดการภัยจากน้ำท่วม
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินจากอุทกภัย ประกอบด้วย
2.1 สร้างระบบเตือนภัยที่มีเอกภาพ มีประสิทธิ ภาพ สามารถให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ในการเตือนภัยจากน้ำท่วมซึ่งจะต้องมีเอกภาพ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีข้อมูลระบบเตือนภัย ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรุงเทพ มหานคร และศูนย์เตือนภัยพิบัตแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อประมวลผลด้วยความถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพในการเตือนภัยสาธารณชนอย่างทันเวลา ทั้งนี้ ควรมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นหน่วย งานหลักในการแจ้งเตือนภัยต่อประชาชน รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และพิจารณาความจำเป็นของการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในการเตือนภัย
2.2 จัดให้มีกลไกการบริหารจัดการอาคารบังคับน้ำเมื่อเกิดวิกฤต ในการบริหารจัดการน้ำในแหล่งต่างๆ ทั้งที่ถูกสร้างขึ้นและแหล่งน้ำธรรมชาติเครื่องมือที่ใช้ควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำ คือ อาคารบังคับน้ำต่างๆ ได้แก่ เขื่อน ประตูระบายน้ำ ฝาย อย่างไรก็ดี อาคารบังคับน้ำต่างๆ อยู่ภายใต้การดูแลของหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรม ชลประทาน กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกที่มีอำนาจเต็มในการสั่งการและบริหารจัดการน้ำอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการบรรเทาผลกระทบอันเนื่องมาจากวิกฤตน้ำ ซึ่งจะทำให้มีการบูรณาการการทำงานอย่างมีเอกภาพ มอบหมายให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักดำเนินงาน
2.3 จัดทำแผนลดความเสียหายเฉพาะพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ เขตชุมชนหนาแน่น กรุงเทพมหานครชั้นใน เพื่อให้เกิดแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือน การอพยพ การเตรียมพื้นที่รองรับ การจัดระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคฉุกเฉิน และการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม
2.4 จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการน้ำเป็นการเร่งด่วน เพื่ออำนวยการและสั่งการในภาวะฉุกเฉิน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้เกิดเอกภาพในการแก้ปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน ตามแผนการบริหารจัดการกับน้ำท่วม ตั้งแต่แจ้งเตือนภัย การบริหารจัดการอาคารระบายน้ำ การดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยงเฉพาะพื้นที่
โดยมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และอนุกรรมการวางระบบการบริหารจัดการน้ำระยะเร่งด่วน เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงาน
ที่มา : matichon.co.th