แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
พื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออก รับน้ำเข้าพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพแล้ว
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่กรมชลประทาน ได้ปรับแผนการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยการยกระดับน้ำเหนือเขื่อนให้สูงขึ้น เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านเข้าสู่พื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกได้ในเกณฑ์ปกติ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ทุ่งฝั่งตะวันออก สามารถรับน้ำเข้าพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพแล้ว นั้น
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(26 มิ.ย. 55) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ 635 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 5.95 เมตร ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ 16.50 เมตร(รทก.) มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 136 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่าตลิ่ง 9.51 เมตร ในขณะที่มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์ 231 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(จุดนี้จะเป็นจุดวัดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะไหลผ่านเข้าสู่กรุงเทพฯและปริมณฑล)
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถานการณ์น้ำในอ่างฯ(26 มิ.ย.) มีดังนี้
เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,195 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,200 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,349 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 50 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 254 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 27 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 680 ล้านลูกบาศก์เมตร และ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 115 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 670 ล้านลูกบาศก์เมตร
แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯเพิ่มขึ้น แต่ยังคงต้องมีการระบายน้ำบางส่วนเพื่อสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน โดยเฉพาะพื้นที่ทำนาปีในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้อ่างเก็บน้ำหลายแห่งสามารถรองรับปริมาณฝนที่จะตกลงมาได้อีกจำนวนมาก ซึ่งกรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำในเขื่อนแต่ละแห่งที่รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับสภาวะฝนที่ตกลงมา โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางด้านท้ายเขื่อน พร้อมกับรายงานสถานการณ์น้ำให้ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ทราบอย่างต่อเนื่องด้วย