แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
น้ำท่วมขังลุ่มน้ำยมคลี่คลาย
นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ในสัปดาห์นี้ซึ่งไม่แตกต่างจากสัปดาห์ที่แล้วมากนัก โดย ปัจจุบัน (21 มิถุนายน 2555 เวลา 24.00 น.) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ กฟผ. ทั้งหมด ร้อยละ 55 ของความจุ หรือ 33,892 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 3 หรือ -1,316 ล้าน ลบ.ม. โดยอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือ (เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์) มีปริมาณน้ำร้อยละ 46 หรือ 10,624 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15 หรือ -1,920 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำในภาคตะวันตก (เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนวชิราลงกรณ) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 63 หรือ 16,719 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 7 หรือ 1,127 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนน้ำพุง เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนห้วยกุ่ม) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 38 หรือ 1,819 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15 หรือ -313 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำในภาคใต้ (เขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ร้อยละ 68 หรือ 4,820 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 2 หรือ -110 ล้าน ลบ.ม.
ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าวต่อไปว่า ในช่วงสัปดาห์นี้ปริมาณฝนอยู่ในเกณฑ์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ทางซีกตะวันตกของประเทศ ส่งผลให้เขื่อนวชิราลงกรณในภาคตะวันตกมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากขึ้นตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน เป็นต้นมา มีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณวันละ 50-80 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนอื่นๆ ยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนไม่มาก
เขื่อนภูมิพล ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 6,187 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 46 น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 16 หรือ -1,183 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้งานได้ 2,387 ล้าน ลบ.ม. มีช่องว่างรองรับน้ำได้อีก 7,275 ล้าน ลบ.ม. ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพียง 52 ล้าน ลบ.ม. หรือเฉลี่ยวันละ 7.44 ล้าน ลบ.ม. นับว่าน้อยกว่าช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ระบายน้ำในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งสิ้น 57 ล้าน ลบ.ม. หรือเฉลี่ยวันละ 8 ล้าน ลบ.ม.
เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำ 4,437 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 46.66 หรือ น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 14 หรือ -737 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้งานได้ 1,587 ล้าน ลบ.ม. มีช่องว่างรองรับน้ำได้อีก 5,073 ล้าน ลบ.ม. ม. ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน 49 ล้าน ลบ.ม. หรือเฉลี่ยวันละ 7 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าเช่นเดียวกัน ขณะที่ระบายน้ำ 153 ล้าน ลบ.ม. หรือเฉลี่ยวันละ 22 ล้าน ลบ.ม.
สำหรับแผนการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ในช่วงนี้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ที่วันละ 8 ล้าน ลบ.ม. และ 28 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ จะเห็นว่าแผนการระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์มากกว่าเขื่อนภูมิพล เนื่องจากเขื่อนภูมิพลเหลือช่องว่างสำหรับรับน้ำใหม่ค่อนข้างมาก ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์มีน้อยกว่า ดังนั้นการระบายน้ำเพื่อความต้องการด้านท้ายน้ำจึงพิจารณาระบายจากเขื่อนสิริกิติ์มากกว่า
ทั้งนี้ช่องว่างสำหรับรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์รวมกันอยู่ที่ 12,348 ล้าน ลบ.ม. และปริมาณน้ำใช้งานได้ของทั้งสองเขื่อนรวมกัน 3,974 ล้าน ลบ.ม.
ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ กฟผ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำยมดีขึ้น และกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ในช่วงที่ลุ่มน้ำยมมีปัญหาน้ำท่วมขัง คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้แก้ไขปัญหาโดยผันน้ำยมลงสู่แม่น้ำน่าน เพื่อระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย เขื่อนสิริกิติ์ได้ปรับลดการระบายน้ำลงเพื่อช่วยให้น้ำจากแม่น้ำยมผันลงแม่น้ำน่านได้ นับว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ขอยืนยันว่าการบริหารจัดการน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์จะคำนึงถึงการลดและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก