แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
เตือนภัยน้ำท่วม 10 จังหวัด
เขื่อนใหญ่ภาคอีสาน พร้อมรับน้ำหากเกิดฝนตกหนักในระยะนี้
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักณะอากาศในระยะนี้ว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน บริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และตราด ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในระยะนี้
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคอีสาน (18 มิ.ย.) ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้รวมกันทั้งหมด 4,900 ล้านลูกบาศก์เมตร อาทิ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 90 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 306 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 664 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 143 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 170 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 37 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 70 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนลำแซะ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 180 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 90 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 79 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 40 ล้านลูกบาศก์เมตร แนวโน้มเขื่อนหลายแห่งภาคอีสาน ปริมาณน้ำยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ให้ทุกโครงการชลประทาน ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ให้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำอย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับแจ้งข้อมูลน้ำท่าให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลเพื่อเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที