แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
ความก้าวหน้าปรับปรุงคันกั้นน้ำพท.โครงการมโนรมย์ -ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี
วันที่ 15 พ.ค. 2555 นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานปรับปรุงคันกั้นน้ำใหญ่ ฝายน้ำล้นเขื่อนเจ้าพระยา-เขากระดี่ จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ในส่วนของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ ที่เสียหายจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 จำนวน 5 จุด
ขณะนี้มีความก้าวหน้าร้อยละ 55 โดยคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้
ขณะที่การฟื้นฟูประตูระบายน้ำบางโฉมศรี จ.สิงห์บุรี มีความคืบหน้าและเป็นไปตามแผนงาน ทั้งการซ่อมแซมช่องขาด ไซฟอนส่งน้ำและประตูระบายน้ำมีความคืบหน้าร้อยละ 95
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งสองโครงการจัดอยู่ในพื้นที่กลางน้ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสกัดน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้หลากลงสู่จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรีและลพบุรี ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานจะต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยโครงการช่วงต้นน้ำต้องแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พื้นที่กลางน้ำ ให้แล้วเสร็จเดือนมกราคม และโครงการในพื้นที่ปลายน้ำ ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม
สำหรับในส่วนของความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำบริเวณประตูระบายน้ำบางโฉมศรี โดยการสร้างไซฟอนรอดคลองชัยนาท-อยุทยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิม 145 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 160 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณดำเนินการปี 2555 – 2556 จำนวน 500 ล้านบาทนั้น ขณะนี้พบว่าล่าช้ากว่าแผนงานโดยอยู่ที่ 11 % เนื่องจากทางกรมชลประทานต้องทำทางเบี่ยงเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สัญจรไปมาได้ รวมถึงยังต้องมีการส่งน้ำเพื่อภาคการเกษตรในพื้นที่ประมาณ 3 แสนไร่
แต่อย่างไรก็ตาม จะไม่กระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากอย่างแน่นอน
นายธีระ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำในขณะนี้ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศอยู่ท่ร้อยละ 55 ซึ่งเป็นเกณฑ์ปกติ เนื่องจากช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรร่วมกันประหยัดน้ำและปลูกพืชฤดูแล้งเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ร่วมกัน และขณะนี้กำลังเข้าช่วงต้นฤดูฝนการบริหารจัดการน้ำช่วงนี้ได้มีการเตรียมน้ำไว้สำหรับเกษตรกรปลูกข้าวนาปี และสำรองไว้สำหรับช่วงที่คาดว่าเกิดฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้น้ำในปริมาณมาก โดยยังขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ แม้ว่าขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญ เช่นเขื่อนภูมิพล อยู่ที่ร้อยละ48 เขื่อนสิริกิติ์ร้อยละ 50 ซึ่งเพียงพอสำหรับการจัดสรรในการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์และเพื่อการเกษตรตลอดปีนี้
เขื่อนสิริกิติ์ เตรียมรับภัยแล้งและอุทกภัย
นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์ เปิดเผยถึงการบริหารจัดการน้ำเขื่อนสิริกิติ์ และการระบายน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดน้ำแล้งและน้ำท่วมว่า คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ได้ปรับการบริหารจัดการน้ำตามสถานการณ์น้ำ ซึ่งเมื่อต้นปี 2555 ได้เร่งพร่องน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน ในช่วงฤดูฝน และเพื่อขานรับนโยบายป้องกันอุทกภัยของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการชุดนี้ ก็ได้มีการประชุมติดตามสถานะการณ์ หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ก็จะมีการปรับแผนการระบายน้ำให้เหมาะสมตามสถานะการณ์ ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดนี้ จะมีการประชุมเพื่อทบทวนแผนการระบายน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์
สำหรับสถานการณ์น้ำในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หากมีฝนน้อย น้ำสำรองในอ่างเก็บน้ำยังเพียงพอสำหรับใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร โดยปริมาณน้ำในอ่างฯ อยู่ในสภาวะปกติ และมีความพร้อมที่จะรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2555
ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ ขณะนี้ระดับน้ำอยู่ที่ 140.63 เมตร รทก. มีปริมาณน้ำ ในอ่างฯ 4,764.25 ล้าน ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50.10 มีน้ำพร้อมใช้งาน 1,914.25 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรับแผนการระบายน้ำ ให้เขื่อนสิริกิติ์ระบายน้ำ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัญหาน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว หากไม่มีเขื่อนจะมีน้ำที่ไหลเพิ่มอีกกว่า 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ลงสู่ภาคกลาง ส่วนในปี 2555 นี้ เขื่อนมีพื้นที่สามารถรับน้ำได้ ประมาณ 5,000 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ถ้ามีปริมาณฝนที่ตกอยู่เหนือเขื่อน ก็จะสามารถบรรเทาในเรื่องอุทกภัยได้ในระดับหนึ่ง