แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
กบอ.ชี้ 'ภัยแล้ง' เกิดขึ้นเกิดเป็นจุดๆ และมีขนาดเล็ก
วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เสนอเรื่อง สรุปผลการตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งระหว่างวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2555 ดังนี้
1. สถานการณ์ทั่วไป
1.1 พบว่าภัยแล้งที่เกิดขึ้นเกิดเป็นจุดๆ และมีขนาดเล็ก แต่เนื่องจากจังหวัดมีความจำเป็นต้องใช้เงินในการช่วยเหลือเยียวยาจึงต้องใช้วิธีประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง เพื่อให้จังหวัดและท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณได้
1.2 ฝนซึ่งได้หยุดตกมาเป็นเวลา 5 เดือน ขณะนี้ได้เริ่มตกบ้างแล้ว เชื่อว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเพิ่งเริ่มจะมีอิทธิพลต่อปริมาณฝนในประเทศไทย จะทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำทุเลาลงตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
1.3 ข่าวเรื่องภัยแล้ง ปลาตายและเรือติดตื้นในแม่น้ำป่าสักที่ปรากฏเป็นข่าว เป็นการรายงานข่าวเกินความจริงไปมาก
1.4 การเปลี่ยนแปลงการปล่อยน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งเป็นเขื่อนใหญ่มากอย่างกะทันหันโดยไม่มีการประสานงานให้เป็นระบบเท่าที่ควร ก่อให้เกิดปัญหาปลาในกระชังที่จังหวัดอุทัยธานีตายและ บ้านเรือนราษฎรริมฝั่งแม่น้ำที่สูงชันพังลงมาเกิดความเสียหาย
2. สถานการณ์รายจังหวัด
2.1 จังหวัดลพบุรี
2.1.1) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติที่ 173 ล้าน ลบม. และมีน้ำเหลือสำหรับช่วยเหลือเกษตรกรได้อีก 100 ล้าน ลบม. ซึ่งหมายถึงสามารถประทังการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรได้ประมาณ 20-30 วัน ขณะนี้เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ปล่อยน้ำที่ 30 ล้าน ลบม. ต่อวัน
2.1.2) เรือขนส่งซึ่งนำธัญพืชมายังกรุงเทพหรือเพื่อการส่งออกนั้น ขณะนี้สามารถเดินเรือได้ตามปกติแล้วเพราะ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ปล่อยน้ำลงมาให้ในขณะที่เกิดเหตุ (130 ล้าน ลบม. ต่อวัน) คาดว่าต่อไปจะไม่มีปัญหาอีก
ข้อสั่งการ
1. ให้กรมชลประทานสำรองเครื่องสูบน้ำให้เพียงพอสำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรในการนำน้ำเข้าสู่นา
2. ให้จัดการจราจรทางเรือให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำและอย่าให้มีการซ้อนลำเพราะจะทำให้ติดตื้นได้
3. ให้กรมชลประทานไปศึกษา demand supply ของเกษตรกรอีกครั้งและ ให้ทำ model ในหลายๆ scenario ตลอดจนให้เรียงลำดับความต้องการของน้ำให้ถูกต้องเช่น เริ่มต้นจากน้ำอุปโภค บริโภค แล้วจึงเป็นเรื่องของการเกษตร ตามด้วยการคมนาคมทางเรือ เป็นต้น ขณะนี้ขอตั้งข้อสังเกตว่า demand side มีปริมาณสูงมาก
2.2 จังหวัดอุทัยธานี
2.2.1) มีการขาดแคลนน้ำอยู่บ้างในบางพื้นที่ปลูกข้าว โดยเฉพาะในพื้นที่สูงเกษตรกรเกรงว่ากำลังใกล้จะถึงช่วงเก็บเกี่ยวแล้ว หากข้าวขาดน้ำนานอาจจะตายเสียก่อน แต่เนื่องจากฝนเริ่มตกแล้ว ปัญหาดังกล่าวจึงเชื่อว่าจะคลี่คลายไป
2.2.2) ปลาในกระชังที่ ต. ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้ตายลงอย่างฉับพลันเนื่องจากขาดน้ำ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า การที่เขื่อนใหญ่ได้ลดการปล่อยน้ำกะทันหันและมิได้มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า น้ำในแม่น้ำสะแกกรังที่จุดที่เลี้ยงปลาจึงลดลง 3 เมตร ภายใน 24 ชม. ทำให้กระชังปลาที่อยู่ริมฝั่งเกิดความเสียหาย ในการนี้ ได้มอบเงินช่วยเหลือของจังหวัดจำนวน 3 หมื่นบาท ให้กับชาวประมงเพื่อช่วยเหลือเยียวยาแล้ว
ข้อสั่งการ
1. ให้จังหวัดอุทัยธานีซึ่งเป็นพื้นที่ที่เลี้ยงปลาในกระชังจำนวนมาก ประสานกับกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในเรื่องปริมาณน้ำสูงสุดต่ำสุดอย่างสม่ำเสมอ และหากพบว่าอยู่ในจุดที่อาจเป็นอันตรายต่อการเลี้ยงปลา ให้รีบแจ้งให้ชาวประมงทราบล่วงหน้าเพื่อให้สามารถย้ายกระชังไปที่ปลอดภัยได้ทัน
2.3 จังหวัดชัยนาท
2.3.1) มีบ้านเรือนราษฎรริมแม่น้ำที่ ต. ธรรมามูล อ. เมือง ถล่ม เนื่องจากตลิ่งแม่น้ำทรุดตัวอย่างกะทันหัน วิเคราะห์แล้วเชื่อว่า เกิดจากอิทธิพลของน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ทำให้ดินยังคงอุ้มน้ำไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อน้ำลดลงอย่างกะทันหัน สืบเนื่องจากการหยุดปล่อยน้ำของเขื่อนทำให้เกิดตลิ่งสูง น้ำหนักของดินไม่สามารถจะทนต่อแรงโน้มถ่วงได้ จึงพังทลายลง คาดว่าหากน้ำในแม่น้ำยังอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้อีกต่อไป อาจจะมีบ้านเรือนหรือถนนหรือพื้นที่ริมแม่น้ำทรุดตัวพังลงได้อีก จึงต้องระมัดระวังและต้องติดตามเป็นอย่างยิ่ง
ข้อสั่งการ
1. ให้จังหวัดติดต่อกับกรมทรัพยากรธรณีดำเนินการสำรวจและกำหนดจุดเสี่ยงกรณีตลิ่งพังและออกประกาศให้ประชาชนได้ทราบ
2. ให้กรมชลประทานประสานงานกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยควบคุมปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้เหมาะสม
2.4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2.4.1) พบว่าเกษตรกรที่ ต.บ้านโพธิ์ อ.เสนา ขาดแคลนน้ำประมาณ 40,000 ไร่ เนื่องจากน้ำในลำคลองรางจระเข้ มีน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเป็นอันมาก การแก้ไขจะต้องดำเนินการสูบทอย 2-3 ระยะ ซึ่งในชั้นต้น ท้องถิ่นและเกษตรกรได้ช่วยตัวเองไปอยู่บ้างแล้ว
ข้อสั่งการ
1. ให้กรมชลประทานโดยสำนักชลประทานที่ 11 จ่ายน้ำมันสำรองให้แก่ประชาชนในวงเงิน 6 ล้านบาท พร้อมทั้งให้กรมชลประทานจัดหาเครื่องสูบน้ำไปช่วยสนับสนุนอีกด้วย โดยได้เน้นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จใน 7 วัน