ถกปัญหา-แผนบริหารจัดการน้ำ 2555 ขอกฎหมายรองรับปล่อยน้ำลงฟลัดเวย์
15 มีนาคม - คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดการประชุมรับฟังความเห็นนโยบายและแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ โดยได้เชิญญผู้แทนจากหลายหน่วยงานประกอบด้วย กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร กรมทรัพยากรน้ำกระทรวงงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการเคหะแห่งชาติ ร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ
การประชุมรับฟังความเห็นนโยบายและแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำหน่วยงานต่างๆได้พิจารณาาปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำปี2555 โดยมีประเด็นสำคัญ คือ ปีนี้มีการกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง โดยจะมีการกำหนดอัตราชดเชยต่อไร่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมถึงกรมชลประทานดำเนินการหาพื้นที่รับน้ำซึ่งขณะนี้จัดหาพื้นที่แล้วจำนวน 3 ล้านไร่แต่ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากต้องทำประชาพิจารณ์ขอความเห็นโดยบางส่วนมีข้อเสนอว่าควรออกกฎหมายเพื่อกำหนดเขตพื้นที่ว่าบริเวณใดจะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำรับน้ำได้ เช่นเดียวกับับส่วนที่จะเป็นพื้นที่ฟลัดเวย์ที่ยังขาดกฎหมายรองรับอาจทำให้ในทางปฏิบัติไม่มีใครกล้าผันน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าว
ขณะที่การบริหารจัดการของกรมชลประทานและกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาพบปัญหาเช่นเดียวกันคือการระบายน้ำลงสู่ลำคลองทางตอนล่างไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากชาวบ้านไม่ยอมให้เปิดประตูระบายน้ำ อีกทั้งยังมีปัญหาการต่างคนต่างสร้างพนังกั้นน้ำอาจจะทำให้มวลน้ำจำนวนมากไหลเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ประกอบกับปัญหาสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำทำให้การแก้ไขปัญหาในระยะสั้นไม่สามารถเข้าพื้นที่เพื่อขุดดลอกคลองได้ บางหน่วยงานมีข้อเสนอว่าควรจะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อเกิดภาวะวิกฤตแล้วประชาชนต้องให้ความร่วมมือ เนื่องจากปัญหาที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตามในส่วนของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอาจติดขัดเรื่องกฎหมายว่าด้วยการละเมิดสิทธิ ซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากพื้นที่ดำเนินการได้ยากลำบาก และประชาชนและท้องถิ่นรอบข้างเมื่อเกิดภัยใหญ่ๆ ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภัย แม้ขณะนี้ท้องถิ่นจะค่อนข้างตื่นตัวอย่างมากในการป้องกันภัยพิบัติ อย่างไรก็ตามแนวนโยบายหลักยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนโดยเฉพาะแนวฟลัดเวย์ หากเกิดภาวะวิกฤตอาจจะอาศัยความร่วมมือจากชุมชนได้ยาก
ทั้งนี้มีรายงานข้อมูลว่ามีแนวโน้มที่อยู่อาศัยตามแนวคูคลองต่างๆจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ทางการเคหะแห่งชาติจะทำการสำรวจพื้นที่ทางอากาศ เพื่อเตรียมดำเนินการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ประชาชนในบริเวณคูคลองเคลื่อนย้ายสิ่งปลูกสร้างในระยะ 2-5 กิโลเมตรจากที่อยู่อาศัยเดิม แต่พบปัญหาว่ายังไม่มีกฎหมายรองรับขณะนี้จึงดำเนินการได้เพียงเจรจากับชาวบ้านในเบื้องต้น จึงเห็นว่าควรจะมีกฎหมายรองรับ
สำหรับการบังคับใช้กฎหมายของกรุงเทพมหานครก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องให้รื้อสิ่งกีดขวางทางน้ำและคาดว่าจะมีนโยบายให้มีการเคลื่อนย้ายชุมชนออกจากพื้นที่ด้วย ขณะเดียวกันในส่วนภาคเอกชนมีความเห็นว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้ประกอบการ และเห็นว่าตัวกฎหมายไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวระบบแจ้งเตือน ระบบการบริหารจัดการในเชิงวิกฤตที่แม้ว่าจะมีแผนแต่ปรับใช้ไม่ได้ จึงควรนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง