ทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการพิจาณาศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล เรื่อง “กรณีกล่าวหาการทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง” และผลการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
สรุปผลการดำเนินการตามรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เรื่อง “กรณีกล่าวหาการทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง”
ลำดับ |
ประเด็น |
สรุปผลการดำเนินการของส่วนราชการ |
1. |
อำนาจหน้าที่ในการรับเรื่องไว้พิจารณา |
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดซื้อแบบสัญญารัฐต่อรัฐ (G to G) นั้น ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดสำนักนายรัฐมนตรีที่จะพิจารณาดำเนินการได้ ตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 5 และมาตรา 12 กำหนดให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักนายกรัฐมตรีในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เฉพาะที่เกี่ยวกับงานระเบียบพัสดุ ไปเป็นของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รานงานฯ ดังกล่าว เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรที่กฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องลักษณะดังกล่าวโดยตรง โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีนโยบายไม่รับพิจารณา โดยส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับเรื่องไว้แล้ว ตามมาตรา 29 และ มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 และรายงานฯ นี้ได้ยื่นฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ซึ่งมาตรา 28 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 บัญญัติห้ามผู้ตรวจการแผ่นดินรับเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าวไว้พิจารณา
|
2. |
ระเบียบการจัดซื้อแบบสัญญารัฐต่อรัฐ (G to G) |
กระทรวงการคลัง ส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดซื้อโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ในการกำหนดข้อตกลงรายละเอียดต่างๆ ที่กำหนดขึ้นด้วยความเห็นชอบระหว่างคู่สัญญาแทนการทำสัญญา หากหน่วยงานผู้จัดหาเห็นว่าข้อตกลงหรือรายละเอียดต่างๆ จะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่ง ร่างสัญญานั้นไปให้สำนักอัยการสูงสุดพิจารณาก่อนทำข้อตกลงดังกล่าว |
3. |
ข้อตกลงความเข้าใจ (Agreement on Understanding A.O.U.) |
กระทรวงการต่างประเทศ 1.1 เห็นว่า Agreement of Understanding (AOU) ในการจัดหารถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยที่คณะกรรมาธิการฯ อ้างถึง เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ 1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full power) ให้แก่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อลงนาม AOU 1.3 หากกระทรวง ทบวง กรมที่จะทำความตกลงกับต่างประเทศไม่ส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาเสนอความเห็นก่อนนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถือว่าเป็นการ ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2. ข้อตกลงซื้อขายประกอบข้อตกลงความเข้าใจฯ ระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท STEYR-DAIMLER-PUCH Spezialfahrzeug AG&CO KG เป็นสัญญาเชิงพาณิชย์ ซึ่งมิใช่สนธิสัญญา จึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่จะพิจารณา |
4. |
การดำเนินการทางคดีอาญา |
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้ดำเนินการทางคดีอาญา โดยได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ กับนายโภคิน พลกุล ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย มีคำสั่งประทับฟ้องเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 |
5. |
การดำเนินการทางคดีแพ่ง |
กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครได้ขอให้อัยการสูงสุดดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล โดยอัยการสูงสุดได้ฟ้องคดีแพ่งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เนื่องจากตามข้อตกลงซื้อขายฯ ข้อ 13 ที่กำหนดว่าหากคู่สัญญาไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ภายใน 30 วัน นับจากวันเริ่มเจรจาจะต้องส่งเรื่องไปยังหอการค้านานาชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอให้ตั้งอนุญาโตตุลาการที่ เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มิเช่นนั้นบริษัท สไตเออร์ อาจร้องขอต่อศาลให้จำหน่ายคดีได้ |
6. |
การดำเนินการทางคดีปกครอง |
กรุงเทพมหานคร 3. นายโภคิน พลกุล นายประชา มาลีนนท์ นายวัฒนา เมืองสุข นายอิรักษ์ โกษะโยธิน ได้อุทธรณ์คำสั่งใช้ค่าสินไหมทดแทนภายในกำหนด โดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยได้วินิจฉัยยกอุทธรณ์แล้ว กรณีพลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อพิจารณาอุทธรณ์ |
7. |
การดำเนินการทางวินัย |
กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งลงโทษปลด คุณหญิงณฐนนท หรือ ณัษฐนนท ทวีสิน และลงโทษไล่ พลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ออกจากราชการ โดยพลตำรวจตรี อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ และคุณหญิงณัษฐนนท ทวีสิน ได้ฟ้อง กทม. กับ พวกรวม 2 คน ต่อศาลปกครองกลาง โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลปกครอง |