เปิดสูตร “กองทุนประกันภัย” จ่ายบ้านสูงสุด 1 แสน – SME 30%
ภายหลังจากที่ครม.มีมติเห็นชอบ “พระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555” เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยการรับประกันภัยและทำประกันภัยต่อและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ในวงเงิน 50,000 ลบ. และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 และได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ โดยมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธาน
ซึ่ง “กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการให้ได้รับความคุ้มครองทรัพย์และกิจการ
2. เพื่อจัดให้มีความสามารถในการเอาประกันภัยต่อในจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการ และในอัตราเบี๊ยประกันภัยที่ต่ำที่สุด
3. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองภัยพิบัติได้อย่างทั่วถึง ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม
4. เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติ และผู้ประกอบการต่างๆ ยังคงดำเนินการต่อไปในไทย
1. รูปแบบการประกันภัย
2. แนวทางการรับประกันภัย
2.1 ความคุ้มครอง/ เกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน“ภัยพิบัติ” หมายถึง กรณีภัยพิบัติซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
2.2 รูปแบบการเอาประกันภัย
2.3 การเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม
ความคุ้มครองภัยพิบัติในวงเงินส่วนเกินจากที่กองทุนกำหนด และความคุ้มครองภัยธรรมชาติทั่วไปที่ไม่ใช่ภัยพิบัตินั้น ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อเพิ่มเติมได้จากบริษัทประกันภัยโดยตรง
2.4 อัตราเบี้ยประกันภัย
แนวทางการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ขณะนี้จะกำหนดตามพื้นที่เสี่ยง โดยอ้างอิงแผนที่ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วม จัดทำโดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) สามารถประเมินได้ในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยแบ่งตามระดับความเสี่ยงได้เป็น 4 ระดับ ตามระดับความถี่ของการเกิดอุทกภัยในแต่ละพื้นที่ ดังนี้
อัตราเบี้ยประกันภัยต่อปีประมาณ 0.5 – 2.0 %
2.5 ค่าใช้จ่ายกองทุนฯ
จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการออกกรมธรรม์ประกันภัย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทประกันภัย ดังนี้
2.6 เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
- บริษัทประกันภัยสามารถพิจารณาเข้าร่วมโครงการได้โดยสมัครใจ โดยกองทุนฯ พิจารณาคุณสมบัติของบริษัทประกันภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเฉพาะกรณีการขายให้กลุ่มผู้เอาประกันภัยที่เป็นธุรกิจ เช่น ความเพียงพอของเงินกองทุน อัตราส่วนสภาพคล่อง เป็นต้น
- เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว และรับประกันภัยพิบัติแล้ว จะต้องจัดสรรความเสี่ยงภัยพิบัติทุกรายไปยังกองทุนฯ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
- สำหรับกรณีเป็นภัยที่มีความเสี่ยงสูง และบริษัทประกันภัยปฏิเสธการรับประกันภัย กองทุนฯ จะทำหน้าที่รับประกันภัยความเสี่ยงทั้ง 100% โดยกองทุนฯ สามารถแต่งตั้งบริษัทประกันภัยเพื่อทำหน้าที่รับประกันภัยแทน
3. โครงสร้างรับประกันภัย
กองทุน ฯ ทำหน้าที่ในการรับประกันภัยต่อ โดยผู้เอาประกันภัยสามารถดูอัตราเบี้ยประกันภัยได้จากทำเลที่ตั้งของทรัพย์สินผ่านเว็บไซต์หรือข้อมูลที่ประกาศต่อสาธารณชนและทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัย บริษัทประกันภัยจะรับความเสี่ยงไว้เองขั้นต่ำ 1% ส่วนที่เหลือบริษัทประกันภัยจะส่งต่อความเสี่ยงไปยังกองทุนฯ กองทุนฯจะทำหน้าที่ในการรับประกันภัยต่อ โดยกองทุนฯ อาจเป็นผู้รับความเสี่ยงไว้เองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งโอนไปยังบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศ ทั้งนี้ กองทุนฯ จะจัดจ้างผู้บริหารกองทุนเพื่อดำเนินการในด้านการบริหารจัดการต่างๆ แทนกองทุนฯ
โครงสร้างการรับประกันภัย
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ซึ่งจะพิจารณาสัญญาและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายมานพ นาคทัติ เป็นประธาน
2. คณะอนุกรรมการด้านประกันภัย ซึ่งจะพิจารณารูปแบบการประกันภัยและกไหนด อัตราเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม โดยมีนายประเวช องอาจสิธิกุล เป็นประธาน
3. คณะอนุกรรมการด้านการลงทุน ซางจะพิจารณาแนวทางการลงทุนและการบริหารการเงินของกองทุนฯ โดยมีนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล เป็นประธาน