ประกาศเจตนารมณ์การจัดการน้ำท่วมและภัยพิบัติของภาคประชาชน
การประกาศเจตนารมณ์การจัดการน้ำท่วมและภัยพิบัติของภาคประชาชน
โดยสมัชชาสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร
โดยเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรงชุมชน พ.ศ. 2551 องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน และสภาองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร มีข้อเสนอในการบริหรจัดการน้ำท่วยมและภัยพิบัติอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีร่วมทุกภาคส่วน เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ (กยน.)
ให้พิจารณา “การบริหารจัดกาน้ำท่วมและภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน
ภาคประชาชนตระหนักว่า การจัดการบริหารทรัพยากร ลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืน (ซึ่งในกรุงเทพมหานครหมายถึง คู/คลอง และลำราง สาธารณะ อื่นๆด้วย) และภัยพิบัติ เป็นเรื่องที่มีคยามสำคัญและมีประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของประชาชน ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติกับหน่วยงาน,องค์กร. ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ลุ่มน้ำ
รับทราบว่า การบริหารจัดการลุ่มน้ำและภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ในปัจจุบันมีการดำเนินงาน โดยหน่วยงานภาครัฐ แต่เป็นการดำเนินการแบบแยกส่วนกันปฏิบัติ ถึงแม้จะมีการสนับสนุนและเข้าไปมีส่วนร่วม จากองค์กรภาคประชาน และเอกชนบางส่าวน ยังปรากฏปัญหาที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น อุทกภัยน้ำเน่าเสีย , ภัยแล้ง, ไฟป่า หมอกควัน ทั้งนี้เนื่องจากขาดกลไก สนับสนุนกรกำหนดนโยบาย การจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กและภัยพิบัติ อย่างยั่งยืน แบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
กังวลว่า ปัญหาการขาดแคลนน้ำ, น้ำท่วม, น้ำเน่าเสีย, ฯลฯ เป็นปัญหาที่ปลายเหตุ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ไม่เพียงพอ ต่อการบริโภค,อุปโภค และเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม,อุตสาหกรรม รวมถึงการท่องเที่ยว การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย รวมถึงปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำ รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ ควรมีการจัดการให้ครบวงจรเป็นวัฏจักรของน้ำ เป็นการบริหารจัดการที่ยังไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะ การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน
ด้านภัยพิบัติ เรากังวลว่า สำนักงานเขต กทม. และรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน ในแนวทางการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติ โดยกระบวนการชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง และยังขาดแนวนโยบายเฉพาะสำหรับการรองรับภัยพิบัติ แต่ละประเภท ตลอดจน ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณะภัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และการควบคุมการก่อสร้างอาคาร ,หมู่บ้านจัดสรร ที่การบังคับใช้ยังไม่ได้ผล และยังให้ความสำคัญต่อการจัดการภัยพิบัติ โดยชุมชนน้อยเกินไป ขาดการสรุปถอดบทเรียนจากการทำงาน ขณะเกิดภัยพิบัติ ในแต่ละครั้งอย่างเพียงพอ เพื่อจะนำไปสู่การปฏิบัติให้ดีขึ้น กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
ตระหนักถึง ความจำเป็นของการมีนโยบายสาธารณะ ในการบริหารจัดการ ทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็ก (คู/คลอง และลำราง ในกทม.) และภัยพิบัติอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีของทุกภาคส่วน เพื่อเป็นทิศทาง หลักในการพัฒนาแบบบูรณาการที่สมดุลและเป็นธรรม
โดยมีข้อเสนดังต่อไปนี้
1.พื้นที่กรุงเทพมหานคร ตะวันออก ซึ่งหมายถึง พื้นที่เขตลาดกระบัง, มีนบุรี, คลองสามวา, และหนองจอง ไม่ยอมรับ การถูกกำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำ แต่ยินดีที่จะให้น้ำไหลผ่าน โดยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ให้ภาครัฐ ซึ่งหมายถึงสำนักงานเขต, กรุงเทพฯ และรัฐบาล จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและภัยพิบัติโดยมีภารกิจตั้งแต่การป้องกัน การแก้ปัญหา การเยียวยา และการฟื้นฟู โดยมีภาคประชาชนเข้าร่วมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับเขต ระดับกรุงเทพฯ และระดับชาติ
3.ให้มีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยพิบัติภาคประชาชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อ และประชาสังคม สนับสนุน
4.ให้มีการขุดลอก /ทำความสะอาด คู/คลอง/ระบบระบายน้ำ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างแนวเขื่อนริมคลอง โดยให้คำนึงถึงผลกระทบถึงชาวบ้านและชุมชนที่อยู่ริมคลอง
5.ให้มีหน่วยงานประสานงานที่ประชาชนเข้าถึงและเข้าถึงประชาชนในยามฉุกเฉินและวิกฤติ
6.ให้มีการจัดตั้งและบริหารศูนย์พักพิงอย่างมีรูปธรรม โดยชุมชนเป็นหลัก
7.ให้มีการเปิดเผยข้อมูล และเปิดเวทีประชาพิจารณ์ในการแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างขั้นพื้นฐานและการจัดการน้ำในชุมชนท้องถิ่น
มาตรการของภาคประชาชน
1.สมัชชาสภาองค์กรชุมชน จะร่วมกับภาคเอกชน ติดตามนโยบาย ของกรม. และรัฐบาลในการบริหารจัดกาน้ำในปี 2555
2.ผลักดันให้ชุมชน ทุกชุมชนได้มีส่วนร่วมกับสำนักงานเขตในการร่วมวางแผน ป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วม
3.ใช้มาตรการ ทางศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ในการตรวจสอบการทำงานแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยพิบัติ
4.ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนป้องกันภัยพิบัติ โดยเริ่มจากภาคประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาฉุกเฉิน อย่างทันท่วงที
5.ร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนเรื่องข้อมูลและการสื่อสาร ในการเตือนภัย เฝ้าระวัง การบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
สภาองค์กรชมุชนกรุงเทพมหานคร
ขบวนองค์กรชุมชนกรุงเทพมหานคร
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555