คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงานฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงานฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
คณะรัฐมนตรี วันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 รับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2554 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงานฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
เพื่อให้การฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(3) (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 202/2554 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย รวม 3 คณะ นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและกลไกการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เรียกโดยย่อว่า “กฟย.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Flood Recovery and Restoration Committee” ดังนี้
1.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) รองประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย ข้าราชการที่ประธานกรรมการมอบหมาย และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.2 อำนาจหน้าที่
(1) บูรณาการและประสานการดำเนินการของคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน
(2) ติดตามการดำเนินการกำหนดมาตรการ แนวทาง แผนงานและโครงการของคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน
(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการตามข้อเสนอของคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
(4) รวบรวมความต้องการของพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยเพื่อบูรณาการโครงการและกิจกรรมกับคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน และด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกัน และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัย
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กฟย. มอบหมาย
(6) เรียกให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อมูล และรายงานข้อมูลผลการดำเนินการ รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ กฟย.
(7) ประมวล รวบรวมข้อมูล รายงานและจัดทำข้อสั่งการให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี
(8) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2. คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน เรียกโดยย่อว่า “กคฐ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Flood Recovery and Restoration Committee on Infrastructure” ดังนี้
2.1 องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก) รองประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์) รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและเลขานุการ ข้าราชการที่ประธานกรรมการมอบหมาย จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.2 อำนาจหน้าที่
(1) เสนอแนะมาตรการ กำหนดแนวทาง แผนงานและโครงการฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เช่น ถนน สะพาน ไฟฟ้า ประปา ซ่อมแซมสถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน โบราณสถาน แหล่งน้ำ ชลประทาน เป็นต้น
(2) พิจารณากลั่นกรองโครงการตามข้อเสนอของส่วนราชการในโครงการที่เกี่ยวกับ (1) เพื่อนำเสนอ กฟย. และคณะรัฐมนตรีต่อไป
(3) อำนวยการ กำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนงานการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานตามแนวทางและโครงการใน (1)
(4) ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชน ในการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยตามแนวทางและมาตรการใน (1) เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กคฐ. มอบหมาย
(6) เรียกให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อมูล และรายงานข้อมูล ผลการดำเนินการ รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ กคฐ.
(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3. คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน เรียกโดยย่อว่า “กศอ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Flood Recovery and Restoration Committee on Economy, Industry and Livelihood” ดังนี้
3.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) โดยมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3.2 อำนาจหน้าที่
(1) ประเมินสถานการณ์วิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งเสนอแนะมาตรการ กำหนดแนวทาง แผนงานและโครงการในการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาให้แก่ภาคการเกษตร ที่อยู่อาศัย และภาคธุรกิจ เช่น ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง ผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย แรงงาน ท่องเที่ยว รวมถึงการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม ภาคเกษตร ที่อยู่อาศัย โดยอาจมีมาตรการต่าง ๆ เช่น มาตรการทางภาษี การฝึกอาชีพให้กับแรงงานในระบบอุตสาหกรรม การให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ การให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร เป็นต้น
(2) พิจารณากลั่นกรองโครงการตามข้อเสนอของส่วนราชการ นิคมอุตสาหกรรมในโครงการที่เกี่ยวกับ (1) เพื่อนำเสนอ กฟย. และคณะรัฐมนตรีต่อไป
(3) อำนวยการ กำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนงานการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวทางและโครงการใน (1)
(4) ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชนในการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยตามแนวทางและมาตรการใน (1) ให้เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กศอ. มอบหมาย
(6) เรียกให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อมูล และรายงานข้อมูลผลการดำเนินการ รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ กศอ.
(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
4. คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เรียกโดยย่อว่า “กคช.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Flood Recovery and Restoration Committee on Quality of Life” ดังนี้
4.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้รับมอบหมาย และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
4.2 อำนาจหน้าที่
(1) เสนอแนะมาตรการ กำหนดแนวทาง แผนงานและโครงการในการช่วยเหลือฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นแก่ประชาชนทั่วไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การฝึกอาชีพ การศึกษา การฟื้นฟูสภาพจิตใจ เป็นต้น
(2) พิจารณากลั่นกรองโครงการตามข้อเสนอของส่วนราชการในโครงการที่เกี่ยวข้องกับ (1) เพื่อนำเสนอ กฟย. และคณะรัฐมนตรีต่อไป
(3) อำนวยการ กำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนงานการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตตามแนวทางและโครงการใน (1)
(4) ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรภาคเอกชน ในการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยตามแนวทางใน (1) เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กคช. มอบหมาย
(6) เรียกให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง ข้อมูล และรายงานข้อมูลผลการดำเนินการ รวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ กคช.
(7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
5. ให้มีศูนย์ปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย ปลอดภัย และการจราจร โดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการรักษาความสงบเรียบร้อย ปลอดภัย และการจราจร เรียกโดยย่อว่า “กรจ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Executive Committee of the Center for Peacekeeping, Public Safety and Traffic” ดังนี้
5.1 องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) ประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
5.2 อำนาจหน้าที่
(1) กำหนดมาตรการ แผนงานและโครงการในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และการจราจรในระหว่างประสบอุทกภัยและหลังอุทกภัย
(2) อำนวยการและสั่งการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏับัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กฟย. กคฐ. กศอ. และ กคช.
(3) กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตาม (1)
(4) ประมวล รวบรวมข้อมูล รายงานและจัดทำข้อสั่งการให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี
(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กรจ. มอบหมาย
(6) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
6. ให้มีศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการ โดยมีคณะกรรมการบริหารศูนย์สนับสนุนการปฏิบัติการ เรียกโดยย่อว่า “กปก.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Executive Committee of the Center for Operations Support” ดังนี้
6.1 องค์ประกอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นกรรมการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงกลาโหมที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
6.2 อำนาจหน้าที่
(1) กำหนดมาตรการ แนวทาง และโครงการเพื่อให้การสนับสนุนการบูรณะฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย
(2) อำนวยการเพื่อให้การสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กฟย. กคฐ. กศอ. กคช. และ กรจ.
(3) ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ และองค์กรภาคเอกชนในการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กปก. มอบหมาย
(5) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
7. คณะกรรมการสื่อสารสาธารณะ เรียกโดยย่อว่า “กสส.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Public Communication Committee” ดังนี้
7.1 องค์ประกอบ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการ พลเอก พลางกูร กล้าหาญ รองประธานกรรมการ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ รองประธานกรรมการ อธิบดีกรมสารนิเทศ กรรมการ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ นายสุธรรม ส่งศิริ กรรมการ นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ กรรมการและเลขานุการ นายแพทย์ รณภพ ปัทมะดิษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
7.2 อำนาจหน้าที่
(1) กำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการและแนวทางในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูและเยียวยาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
(2) ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูล และแถลงข่าวเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
(3) ประสานงานและจัดเตรียมข้อมูลให้แก่สื่อมวลชน นักธุรกิจ และบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(4) กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) ประมวล รวบรวมข้อมูล รายงานและจัดทำข้อสั่งการให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
(6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ กสส. มอบหมาย
(7) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
8. คณะที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการน้ำ เรียกโดยย่อว่า “คปน.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Water Resources Management Advisory Committee” ประกอบด้วย คณะบุคคลตามที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ข้อแนะนำเพื่อประกอบการตัดสินใจแก่นายกรัฐมนตรีในการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
9. คณะกรรมการบริหารศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เรียกโดยย่อว่า “กบภ.” และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Executive Committee of the Center for Recovery Management System” ดังนี้
9.1 องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
9.2 อำนาจหน้าที่
(1) วางแผนการปฏิบัติงานในภาพรวม ตลอดจนประสาน และเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
(2) บูรณาการการปฏิบัติงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน เพื่อนำทรัพยากรมาใช้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเป็นระบบ
(3) เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงานในภาพรวมและของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้
(4) วิเคราะห์ และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมการและปรับปรุงแผนการปฏิบัติงานและการดำเนินการให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
(5) วิเคราะห์ ประเมินความเหมาะสมในการจัดซื้อจัดจ้าง และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
(6) จัดให้มีที่ปรึกษา หรือยืมตัวบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ รวมทั้งการขอใช้อสังหาริมทรัพย์ของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อช่วยการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ตามความจำเป็น
(7) ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
10. ให้มีศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการของ กบภ. และงานอื่นๆ ที่ กบภ. มอบหมาย
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และรายงานการปฏิบัติงานตรงต่อกรรมการและเลขานุการ กบภ.
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย นายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการอื่น หรือศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอาจขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐไปช่วยปฏิบัติงานในศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามปกติโดยจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลาหรือนอกเวลา หรือตามที่มอบหมายก็ได้และให้ถือว่าการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้วย
ศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอาจว่าจ้างบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อดำเนินงานตามคำสั่งนี้
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการขับเคลื่อนการบริหารการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป