ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่การประกอบกิจการหรือการดำเนินการของภาคเอกชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคลกลุ่มบุคคล หรือชุมชน ได้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นการประกอบกิจการหรือการดำเนินการเพื่อสังคม ประกอบกับการสนับสนุนให้มีภาคเอกชนประกอบกิจการหรือดำเนินการเพื่อสังคมมากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แล้ว จะมีผลให้ชุมชน สังคมหรือสิ่งแวดล้อม ได้รับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“กิจการเพื่อสังคม” หมายความว่า การที่ภาคเอกชนซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนได้ประกอบกิจการหรือดำเนินการโดยมีเป้าหมายอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และมีรายรับจากการขาย การผลิตสินค้า หรือการให้บริการซึ่งมิได้มุ่งสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการหรือการดำเนินการ รวมทั้งมีลักษณะพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑) มีกระบวนการผลิต การดำเนินกิจการ หรือการดำเนินการในส่วนของผลิตภัณฑ์หรือบริการซึ่งมิได้ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาวะ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(๒) มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
(๓) มีศักยภาพที่จะมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตนเอง
(๔) ผลกำไรส่วนใหญ่จากการประกอบกิจการหรือการดำเนินการถูกนำไปขยายผลเพื่อการบรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือคืนผลประโยชน์ให้แก่สังคม
(๕) สามารถมีรูปแบบองค์กรที่หลากหลาย
(๖) มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ข้อ ๔ รายชื่อและประเภทของกิจการเพื่อสังคมให้เป็นไปตามที่ คกส. ประกาศกำหนด
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “คกส.” และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai Social Enterprise Promotion Board” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตาม (๖) เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(๔) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(๕) ผู้แทนผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวนไม่เกินสี่คน
(๖) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำ นวนหกคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านสื่อสารมวลชนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารการกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสาธารณสุขด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาสังคมหรือด้านสหกรณ์ ด้านละไม่เกินหนึ่งคน โดยในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่ข้าราชการประจำร่วมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่าสามคนให้ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ คกส. แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้จำนวนไม่เกินสามคนหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๖ รองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ขึ้นใหม่ ให้รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ารองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ข้อ ๗ นอกจากการพ้นจากตำ แหน่งตามวาระ รองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๘ เมื่อมีความจำเป็นและสมควร นายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ขึ้นแทนรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้กรรมการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ คกส. ต่อไปได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการตามข้อ ๕ (๕) เพิ่มขึ้นในระหว่างวาระการดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ข้อ ๙ การประชุม คกส. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม คกส. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการคนที่หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการคนที่หนึ่งไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการคนที่สองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการทั้งสองคนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๐ คกส. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
(๒) ศึกษา เสนอแนะนโยบาย และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีให้มีการสนับสนุนและเร่งรัดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีกฎหมายว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม ตลอดจนเสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย
(๔) ประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมตามระเบียบนี้
(๕) สนับสนุนให้มีการพัฒนาขีดความสามารถ ศักยภาพ และรูปแบบที่เหมาะสมของกิจการเพื่อสังคม
(๖) สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากรเพื่อให้มีกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น
(๗) ออกระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
(๘) รายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คกส. หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๑๑ คกส. มีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของ คกส.และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ คกส.มอบหมายได้การประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ให้นำข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ คกส. คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอาจขอให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจัดส่งเอกสาร ข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ คกส. ทำความตกลงกับหน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ คกส.เพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ สถานที่ ตลอดจนการทำ หน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ คกส.
ข้อ ๑๔ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
ดาวน์โหลด
เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่การประกอบกิจการหรือการดำเนินการของภาคเอกชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบุคคล
กลุ่มบุคคล หรือชุมชน ได้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม
ซึ่งถือเป็นการประกอบกิจการหรือการดำเนินการเพื่อสังคม ประกอบกับการสนับสนุนให้มีภาคเอกชน
ประกอบกิจการหรือดำเนินการเพื่อสังคมมากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการสนับสนุน
และความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม มูลนิธิ องค์กรสาธารณประโยชน์
และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ แล้ว จะมีผลให้ชุมชน สังคมหรือสิ่งแวดล้อม ได้รับการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการ
เพื่อสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“กิจการเพื่อสังคม” หมายความว่า การที่ภาคเอกชนซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชน
ได้ประกอบกิจการหรือดำเนินการโดยมีเป้าหมายอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน
สังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และมีรายรับจากการขาย การผลิตสินค้า หรือการให้บริการซึ่งมิได้
มุ่งสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการหรือการดำเนินการ รวมทั้งมีลักษณะพิเศษ ดังต่อไปนี้
(๑) มีกระบวนการผลิต การดำเนินกิจการ หรือการดำเนินการในส่วนของผลิตภัณฑ์
หรือบริการซึ่งมิได้ก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวต่อสุขภาวะ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(๒) มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
(๓) มีศักยภาพที่จะมีความยั่งยืนทางการเงินได้ด้วยตนเอง
(๔) ผลกำไรส่วนใหญ่จากการประกอบกิจการหรือการดำเนินการถูกนำไปขยายผลเพื่อการ
บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือคืนผลประโยชน์
ให้แก่สังคม
(๕) สามารถมีรูปแบบองค์กรที่หลากหลาย
(๖) มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ข้อ ๔ รายชื่อและประเภทของกิจการเพื่อสังคมให้เป็นไปตามที่ คกส. ประกาศกำหนด
หน้า ๒
เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ”
เรียกโดยย่อว่า “คกส.” และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thai Social Enterprise Promotion Board”
ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธาน
กรรมการคนที่หนึ่ง
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติตาม (๖) เป็นรองประธาน
กรรมการคนที่สอง
(๔) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวง
สาธารณสุข เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุน ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(๕) ผู้แทนผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวนไม่เกินสี่คน
(๖) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำ นวนหกคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
ความสามารถและมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านสื่อสารมวลชน
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารการกีฬา ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสาธารณสุข
ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาสังคมหรือด้านสหกรณ์ ด้านละไม่เกินหนึ่งคน โดยในจำนวนนี้จะต้อง
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิใช่ข้าราชการประจำร่วมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่าสามคน
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ คกส. แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้จำนวนไม่เกินสามคน
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการ
ตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๖ รองประธานกรรมการคนที่สองและกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) มีวาระ
การดำรงตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สอง
หรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ขึ้นใหม่ ให้รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการ
ตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า
รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
รองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
ตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
หน้า ๓
เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ข้อ ๗ นอกจากการพ้นจากตำ แหน่งตามวาระ รองประธานกรรมการคนที่สอง
และกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
ที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ข้อ ๘ เมื่อมีความจำเป็นและสมควร นายกรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้รองประธานกรรมการ
คนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖)
ขึ้นแทนรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖) ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
ก่อนวาระให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งรองประธานกรรมการคนที่สองหรือกรรมการตามข้อ ๕ (๕) และ (๖)
ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้กรรมการที่เหลืออยู่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ คกส. ต่อไปได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการตามข้อ ๕ (๕) เพิ่มขึ้นในระหว่างวาระการดำรงตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ข้อ ๙ การประชุม คกส. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม คกส. ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน
กรรมการคนที่หนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการคนที่หนึ่งไม่มาประชุมหรือไม่อาจ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการคนที่สองเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการ
ทั้งสองคนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง
เป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการ
ลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๐ คกส. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมและเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
หน้า ๔
เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๕๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
(๒) ศึกษา เสนอแนะนโยบาย และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีให้มีการสนับสนุนและเร่งรัด
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนแม่บทการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม
อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีกฎหมายว่าด้วยการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม ตลอดจน
เสนอแนะให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง
กับการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย
(๔) ประสานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการดำเนินการส่งเสริม
และสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมตามระเบียบนี้
(๕) สนับสนุนให้มีการพัฒนาขีดความสามารถ ศักยภาพ และรูปแบบที่เหมาะสมของกิจการ
เพื่อสังคม
(๖) สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการเข้าถึงเงินทุนและทรัพยากรเพื่อให้มีกิจการเพื่อสังคม
มากขึ้น
(๗) ออกระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริม
กิจการเพื่อสังคม เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
(๘) รายงานผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อย
ปีละหนึ่งครั้ง
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ คกส. หรือตามที่
คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๑๑ คกส. มีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของ คกส.
และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ คกส.
มอบหมายได้
การประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ให้นำข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ คกส. คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน
อาจขอให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจัดส่งเอกสาร ข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริง
เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ คกส. ทำความตกลงกับ
หน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของ คกส.
เพื่อขอความร่วมมือในการสนับสนุนบุคลากร งบประมาณ สถานที่ ตลอดจนการทำ หน้าที่
เป็นสำนักงานเลขานุการของ คกส.
ข้อ ๑๔ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี