ข้อเสนอ คอ.นธ. ว่าด้วยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ว่าด้วยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ข้อ 1. ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรมสากล และเพื่อ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
ข้อ 2. ให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
(1) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน) หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา (ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยสามสิบคน) หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้
(2) ญัติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมและให้สภา พิจารณาเป็นสามวาวะ
(3) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและ ลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(4) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมด้วย การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
(5) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้ รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(6) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดย เปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
(7) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ข้อ 3. ให้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สภาพิจารณาดังนี้
วิธีที่หนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนระหว่าง 30-35 คน โดยคัดเลือกจากบุคคลผู้มีความรู้ และ มีประสบการณ์ด้านรัฐธรรมนูญ เป็นที่ยอมรับในสังคม เช่นมีผลงานการเขียน ตำรา เขียนบทความ ให้ความเห็นทางสื่อมวลชนทุกแขนง “เป็นนักรัฐธรรมนูญ” โดยต้องไม่เลือก จากเฉพาะบุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือต้องเป็นผู้มีแนวความคิด ทางเดียวกัน โดยให้มีองค์ประกอบจากบุคคลทุกฝ่าย ที่มีความปรารถนาจะให้ ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ และถูกต้องตามหลักนิติธรรม สากลมากที่สุด คณะกรรมการควรใช้เวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน เพราะทุกคนมี แนวคิดของตนเองอยู่แล้ว
เหตุผลที่ไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่าง- รัฐธรรมนูญ (สสร.) โดยให้เลือกสมาชิกจากผู้เป็นตัวแทนของจังหวัด รวม 77 คน และรัฐบาลแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 22 คน (หรือให้สมาชิกเลือกผู้รู้ อีก 22 คน) รวมเป็น 99 คน ตามที่มีผู้เสนอแนะนั้น มีความเห็นว่า การเขียนแบบแปลนเพื่อ สร้างบ้านอยู่อาศัย ต้องใช้สถาปนิก และวิศวกร เป็นผู้เขียนแบบและรับผิดชอบ ซึ่งจะถูกต้องกว่าเลือกผู้มีอาชีพหลากหลายมาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะขาดความรู้และ ประสบการณ์ และในที่สุดจะตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกรรมการที่คณะรัฐมนตรี ตั้งขึ้น หรือของผู้รู้ที่สมาชิกเลือกตั้ง นอกจากนั้น การดำเนินการจะมีกระบวนการขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลามาก โดยต้องมีการขอแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้ง สสร. การกำหนดจำนวน สสร. โดย กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสสร. ได้หนึ่งคน ขัดกับหลักนิติธรรม ไม่เป็นธรรมเพราะแต่ละจังหวัดมีขนาดใหญ่ – เล็ก และมีจำนวนประชาชนแตกต่าง กันมาก เช่น กรุงเทพมหานคร กับจังหวัดระนอง มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิก สสร. ได้หนึ่งคนเท่ากัน เป็นการขัดหลักนิติธรรมว่าด้วยความเสมอภาค นอกจากนั้นการ เลือกตั้งจะใช้เวลานาน และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งควรรอไว้ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการลงประชามติ จะถูกต้องและเป็นธรรมกว่า
วิธีที่สอง ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน เป็นผู้เสนอ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมากกว่าหนึ่งคณะก็ได้
ข้อ 4. ให้คณะรัฐมนตรี หรือประชาชนเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้สภา พิจารณาเป็นสามวาระดังกล่าวข้างต้น
ข้อ 5. การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้อง จัดให้การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย (ผู้ที่ต้องการมีสิทธิร่วมแสดงความคิดเห็นควรเป็น ผู้ที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น) การพิจารณาในวาระที่สอง ให้พิจารณาโดยเปิดเผยและโปร่งใส โดยให้มีการถ่ายทอดการประชุมทางโทรทัศน์ และวิทยุ หรือสื่ออื่นๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ และติดตามความคืบหน้าของการร่าง รัฐธรรมนูญตลอดการประชุมในวาระที่สองนี้ ซึ่งประชาชนทั่วไปจะได้รับความรู้ จากบรรดาผู้แปรญัติ ซึ่งเป็นประชาชน ผู้มีความรู้เฉพาะด้านอย่างกว้างขวาง
ข้อ 6. เมื่อการพิจารณาในวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้ออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม เป็นขั้นสุดท้าย
การออกเสียงลงประชามติ
เมื่อสภาได้พิจารณาเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สามแล้ว ควรจัดให้มีการออกเสียง ลงประชามติ โดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนอย่างแท้จริง หลังจากผ่านการลง ประชามติ โดยประชาชนเห็นชอบแล้ว จึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า ทูกกระหม่อมถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป (การลงประชามติเป็นขั้นตอนสำคัญแม้ว่าจะไม่มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม)
ภาคผนวก
รายชื่อบุคคลที่มีความรู้และมีความสนใจในรัฐธรรมนูญเท่าที่คิดได้ และนำเสนอจะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นหลากหลาย และแตกต่างกัน ถ้าบุคคลเหล่านี้ยอมรับเข้าร่วมเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้กระแสความต้านทานหรือความไม่พอใจลดน้อยลงเพราะบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในการสนับสนุน หรือคัดค้านได้มานั่งประชุมพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญด้วยกันอยู่แล้ว อันจะเป็นก้าวแรกของการสามัคคีปรองดองต่อไป
รายนามคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
1 พล.ร.อ. เกาะหลัก เจริญรุกข์
2 นายคณิน บุญสุวรรณ
3 นายคำนูน สิทธิสมาน
4 นายจาตุรนต์ ฉายแสง
5 ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก
6 ดร.ชูศักดิ์ ศิรินิล
7 มล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล
8 นายขรรชัย บุนปาน
9 ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
10 ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
11 นายปานเทพ วงศ์พัวพันธ์
12 ดร. ปานปรีย์ พหิทธานุกร
13 ดร. ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์
14 นายเผด็จ ภูรีปฏิภาณ
15 นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา
16 น.พ. พรหมมินทร์ เลิศสุริยะเดช
17 นายพันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์
18 ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
19 ดร. ยุพา อุดมศักดิ์
20 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
21 พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
22 ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
23 ดร. วิษณุ เครืองาม
24 นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
25 ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
26 นายสรจักร เกษมสุวรรณ
27 นายสราวุธ วัชรพล
28 นายสัก กอแสงเรือง
29 นายสุขุม เฉลยทรัพย์
30 ดร. สุขุม นวลสกุล
31 รศ. สุดสงวน สุธีสร
32 นายสุทธิชัย หยุ่น
33 นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ
34 นายเสรี สุวรรณภานนท์