งานวิจัย การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)
ชื่อเรื่อง การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)
Cross-Cultural Communication : A Case Study of Buddhist and Muslim in The Southern Border of Thailand (Yala Pattani and Narathiwas)
ชื่อผู้วิจัย นางลดาวัลย์ แก้วสีนวล
บทคัดย่อ
Cross - Cultural Communication : A Case Study of Buddhist and Muslim in The Southern Border of Thailand (Yala Pattani and Narathiwat). This study has 4 objectives : 1) to study the media exposure and pattern of communication 2) to study the variables of culture which effect to their communicate 3) to study the influence of mass media, personal media and the others media to knowledge understanding and participation of people and 4) to construct the effective cross - cultural communication to building relationship between Buddhist and Muslim in the Southern Border of Thailand. Research methods were mix methodology both quantitative and qualitative research : there are questionnaires, focus group meeting and in - dept interview .The results are as follows : firstly, the pattern of communication was interpersonal especially religion leader secondly, language attitude and belief are the barriers against their communicate in addition, both of them are not participate in the opposite religion activities thirdly, the mass media have no effect to them. According to the investigation, the researcher established the paradigm of effective communication to develop relationship between Buddhist and Muslim are “DO IT RIGHT”
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมกรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการ และลักษณะของการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่ออื่น ๆ ที่มีผลต่อการสร้างความรู้ การสร้างความเข้าใจ และความร่วมมือระหว่างประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ เพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประชาชน ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยแบบผสมสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การเก็บข้อมูลพื้นฐานโดยใช้แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มเฉพาะ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่มีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนทุกประเภท และสื่อที่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ สื่อบุคคล โดยเฉพาะผู้นำทางศาสนา โดยเหตุผลที่มีการสื่อสารระหว่างกันได้แก่ ความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติ ความเป็นครูกับศิษย์ ความเป็นเพื่อน ความเป็นผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา และการร่วมธุรกิจกัน ส่วนเหตุผลที่ไม่สื่อสารกัน ได้แก่ ความแตกต่างด้านภาษา ทัศนคติและความเชื่อที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยยังพบว่า สื่อบุคคลมีอิทธิพลในด้านการให้ข่าวสาร ความรู้ แต่ไม่มีผลต่อการสร้างความร่วมมือ ส่วนสื่อมวลชนมีอิทธิพลด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมหรือประเพณีพบว่าทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาของกันและกัน สำหรับรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ การปรับกระบวนทัศน์ในการสื่อสารภายใต้กระบวนทัศน์ “DO IT RIGHT”
คำสำคัญ
การสื่อสาร (communication) สื่อมวลชน (mass media) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (cross
- cultural communication ) การเปิดรับข่าวสาร (media exposure)
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
“จังหวัดชายแดนภาคใต้” แต่เดิมใช้เรียกจังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ สตูล โดยเรียกชื่อรวมกันว่า “สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ต่อมารัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้พิจารณาเห็นว่าการใช้คำว่า ”สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นการก่อให้เกิดการแบ่งแยก จึงมีมติให้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดชายแดนภาคใต้” เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2524 ในระยะต่อมาจึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2524 ลงวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2524 เรื่อง การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้กำหนดไว้ว่า “จังหวัดชายแดนภาคใต้” หมายถึง จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และ สงขลา (กิตติ รัตนฉายา, 2536 หน้า 5)
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ในการศึกษาในขอบเขตของพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เนื่องจากในสามจังหวัดดังกล่าวนี้มีความรุนแรงของปัญหาการก่อความไม่สงบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงในปัจจุบัน ทั้งนี้ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่ประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นั้น ในอดีตเป็นจังหวัดที่มีความสงบและสันติสุข มีความสมานสามัคคีระหว่างพี่น้องชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม มีการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติ มีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมีความเข้าใจอันดีต่อกันเรื่อยมา เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เดียวกันมายาวนาน จะมีความแตกต่างกันบ้างก็ในด้านการใช้ภาษา และการนับถือศาสนา ที่ต่างคนต่างปฏิบัติตามหลักศาสนาของตนไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน และด้านภาษานั้นคนไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นภาษาพูด และชาวไทยมุสลิมให้ภาษายาวี เป็นภาษาพูดในกลุ่มของตน ทั้งนี้ กลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ และกลุ่มคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม หรือ ”ชาวไทยมุสลิม”
ความแตกต่างกันของคนไทยสองวัฒนธรรม และความแตกต่างทางเอกลักษณ์ ของแต่ละวัฒนธรรมที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในด้านความสัมพันธ์กันในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องกระบวนการการก่อการร้ายต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องผลประโยชน์ กลายเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลทุกสมัยต้องขบคิดวิธีการแก้ปัญหาและแสวงหาหนทางเพื่อยุติสถานการณ์ความไม่เข้าใจเหล่านี้ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการตามยุทธวิธีต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าเหตุการณ์จะสงบลง
แต่อย่างไรก็ตาม ภาคใต้นั้นมีลักษณะทางสังคมที่แตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่พิเศษ” เพราะรูปแบบการใช้ชีวิตของคนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวไทยมุสลิม ดำเนินชีวิตไปตามหลักคำสอนแห่งศาสนาอิสลามเป็นสำคัญ การดำเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่เกิดขึ้น หรือกำลังอยู่ในระหว่างการเร่งดำเนินการ หากการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ที่รัฐบาลดำริจะนำเข้าไปเพื่อพัฒนาพื้นที่เหล่านั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางท้องถิ่น วิถีชีวิต และค่านิยมของประชาชนในพื้นที่ สิ่งที่จะตามมาก็คือความล้มเหลวของโครงการ ซึ่งเป็นการสูญเสียเงินงบประมาณอย่างมหาศาลโดยใช่เหตุ
ด้วยเหตุที่กล่าวมาจะเห็นว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม นำมาซึ่งอุปสรรคในการสื่อสาร ดังนั้นแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่าง ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็น ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาถึงลักษณะที่มาของแบบแผนแห่งความคิด การแสดงออก การสื่อสาร หรือการแสดงทางพฤติกรรมเพื่อการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมจำเป็นต้องศึกษาและมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมของแต่ละฝ่าย เนื่องจากจะส่งผลโดยตรงต่อทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลหรือกลุ่มคนนั้น ๆ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อประชาชนที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากเป็นการสื่อสารที่ต้องมีการผสมผสานระหว่างการใช้ถ้อยคำ ภาษา วิธีการสื่อสาร ตลอดจนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงออกมาควบคู่กับลักษณะทางวัฒนธรรม ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานที่มาของรูปแบบแนวความคิด อุปนิสัย และวิถีชีวิต ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ ในการที่จะช่วยส่งเสริมการเข้าใจร่วมกันและเป็นผลในการสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีต่อ ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในที่สุด
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์วิจัยครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
1. เพื่อศึกษา กระบวนการ และลักษณะของการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ที่ส่งผลกระทบ
ต่อการสื่อสาร
3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่ออื่น ๆ ที่มีผลต่อการสร้างความรู้ การสร้างความเข้าใจ ของประชาชนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. เพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง
ประชาชน ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
1. ได้ทราบถึงกระบวนการ และลักษณะของการสื่อสารของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ได้ทราบถึงปัจจัยทางวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ที่ส่งผลกระทบ
ต่อการสื่อสาร
3. ได้ทราบถึงอิทธิพลของสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่ออื่น ๆ ที่มีผลต่อการสร้างความรู้
การสร้างความเข้าใจ ของประชาชนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. ผลการวิจัยนำไปสู่รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง
ประชาชน ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
นิยามศัพท์
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
1. ชาวไทยพุทธ หมายถึง คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
2. ชาวไทยมุสลิม หมายถึง คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม
3. สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หมายถึง จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
4. การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันโดยใช้ภาษาพูด หรือสัญลักษณ์อื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก และทัศนคติที่มีต่อกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
5. การเปิดรับข่าวสาร หมายถึง การเปิดรับข่าวสารต่าง ๆ จากสื่อมวลชน และจากสื่อบุคคล
6. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร หมายถึง ความบ่อยครั้ง รูปแบบ เนื้อหาของข่าวสารจากการอ่านหนังสือพิมพ์ การดูโทรทัศน์ การฟังวิทยุ และการพูดคุยกับสื่อบุคคล
7. รูปแบบการสื่อสาร หมายถึง วิธีการในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่ รูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารระหว่างกลุ่ม และการสื่อสารมวลชน
8. การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม หมายถึง การสื่อสารของประชาชนที่มีวัฒนธรรม
แตกต่างกัน
9. สื่อมวลชน หมายถึง สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์สื่อบุคคล หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ในฐานะผู้ส่งสารไปยังบุคคลอื่น ๆ
10. ผู้นำทางศาสนา หมายถึง บุคคลที่เป็นที่เคารพ ยกย่องและมี
สถานภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม เป็นต้น
11. ผู้นำชุมชน หมายถึง ผู้ปกครองที่เป็นตัวแทนจากรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของ
รัฐ ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นต้น
วิธีการศึกษา
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (mixed method methodology research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (qualitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (quantitative research) เพื่อศึกษาวิจัย กระบวนการ และลักษณะของการสื่อสาร ปัจจัยทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร อิทธิพลของสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่ออื่น ๆ ที่มีผลต่อการสร้างความรู้ การสร้างความเข้าใจ ของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสร้างรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมในการ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประชาชน ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวิจัยมุ่งศึกษาประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแบ่งออกเป็น
1) ประชาชนในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,756, 434 คน
2) ผู้นำท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้นำเยาวชน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
3) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องด้านการสื่อสารและวัฒนธรรม และผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติงานในพื้นที่
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ
1) ประชาชนในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา จำนวน 100 คน ปัตตานี จำนวน 150 คน และนราธิวาสจำนวน 150 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน
2) กลุ่มแกนนำในท้องถิ่น ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแยกเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำสตรี และผู้นำเยาวชน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling)
3) นักวิชาการด้านการสื่อสารและวัฒนธรรม และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แบบสอบถามการเปิดรับข่าวสารของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 400 ชุด
2) การประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ตัวแทนกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ตัวแทนกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 30 คน
3) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-dept interview) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาและการแสวงหารูปแบบการสื่อสารเพื่อนำไปสู่แนวทางในการจัดการการสื่อสารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการศึกษา
ผลวิจัยครั้งนี้พบว่าเป็นเพศชาย มากกว่า เพศหญิงมีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 21 – 23 ปี นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 90.5 ส่วนใหญ่ยังเป็นโสด มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวระหว่าง 4 - 6 คน และมีสถานภาพเป็นบุตรสาวมากที่สุด ด้านการศึกษาพบว่ามีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด รองลงมาคือมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ยังเป็นนักเรียน นักศึกษา รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป จำนวนปีที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านคือ ระหว่าง 21- 30 ปี
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อวิทยุกระจายเสียงของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจากสื่อวิทยุกระจายเสียงร้อยละ 82 โดยมีความถี่ในการเปิดรับสัปดาห์ละ 2-3 วัน ระยะเวลาที่เปิดรับคือ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับรายการวิทยุกระจายเสียงที่เปิดรับ ได้แก่ รายการประเภทรายงานข่าว การวิเคราะห์ข่าว พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ พบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจากสื่อวิทยุโทรทัศน์คิดเป็น ร้อยละ 92.8 โดยมีความถี่ในการเปิดรับรับทุกวัน ระยะเวลาที่เปิดรับคือ มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน รายการโทรทัศน์ที่เปิดรับคือรายการประเภทรายงานข่าว การวิเคราะห์ข่าว
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจากสื่อหนังสือพิมพ์ โดยมีความถี่ในการเปิดรับสัปดาห์ละ 2-3 วัน ระยะเวลาที่เปิดรับคือ ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับคอลัมน์หรือประเภทเนื้อหาคือรายงานข่าว การวิเคราะห์ข่าว
พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลพบว่า ส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารจาก
บุคคลในครอบครัว รองลงมาคือเพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาเดียวกันและญาติ โดยความถี่และเนื้อหาในการพูดคุย ได้แก่ ข่าวสารทั่วไป มีความถี่ในการพูดคุยมากที่สุด
ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการนำเสนอข่าวสารจากสื่อมวลชนในการวิจัยครั้งนี้พบว่า ความรวดเร็วในการนำเสนอข่าวสารเป็นประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมาก ทั้งนี้ความไม่มั่นใจในการนำเสนอข้อมูลของสื่อมวลชนทำให้ประชาชนในพื้นที่ไม่เชื่อถือข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอ
ประเด็นทางวัฒนธรรมที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร พบว่า ความถี่ในการพูดคุยกับคนต่างศาสนาส่วนใหญ่มีการพูดคุยกันทุกวัน โดยลักษณะความสัมพันธ์ของบุคคลต่างศาสนาที่พูดคุยด้วยคือ เพื่อนบ้าน มากที่สุด ประเภทเนื้อหาที่พูดคุยได้แก่ สถานการณ์ทั่วไปในหมู่บ้าน สำหรับสถานที่ที่พบปะพูดคุยกันส่วนใหญ่คือ ในศาสนสถาน (มัสยิด) รองลงมาคือในรานน้ำชาและในบริเวณหมู่บ้านนอกจากนี้ยังพบว่าการเข้าร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนานั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของคนต่างศาสนา และประเภทกิจกรรมหรือพิธีกรรมที่เข้าร่วม ได้แก่ งานแต่งงาน มากที่สุด ทั้งนี้พบว่าเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการพูดคุยกับคนต่างศาสนา ได้แก่ ทัศนคติและความเชื่อที่ต่างกัน มากที่สุด
ผลการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าช่องทางในการแพร่กระจายข่าวสารมาจากแหล่งสำคัญคือมัสยิด ร้านน้ำชา โดยที่มัสยิดเป็นศาสนสถานที่ชาวไทยมุสลิมต้องเข้าไปประกอบศาสนกิจเป็นประจำทุกวัน ส่วนร้านน้ำชาเป็นแหล่งนัดพบปะเพื่อพูดคุยกันในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและอิทธิพลของสื่อแต่ละประเภทพบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยในประเด็นเกี่ยวกับ บทบาทและอิทธิพลของข่าวสารที่ได้รับจากคนต่างศาสนามีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่มีที่มาจากสื่อมวลชน ความน่าเชื่อถือของข่าวสารที่มาจากผู้นำชุมชน ข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากการสนทนาในที่ต่าง ๆ การติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ จะทำให้ได้รับข่าวสารและมีความรู้มากขึ้น การติดต่อสื่อสารทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีกัน เมื่อได้รับข่าวสารใด ๆ แล้วมักจะนำไปเล่าต่อกับบุคคลอื่น ๆ ข่าวสารจากสื่อมวลชนทำให้ผู้รับสารมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ความแตกต่างทางศาสนาไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และการติดต่อกับคนต่างศาสนาทำให้ได้รู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน
จากผลการวิจัยพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน โดยประชาชนให้ความสนใจข่าวสารประเภทรายงานข่าวและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีการติดตามข้อมูลที่มีความถี่สูง แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความน่าเชื่อถือที่มีต่อข่าวสารที่นำเสนอโดยสื่อมวลชนนั้นยังไม่มั่นใจในด้านความถูกต้องของข้อมูลและความเป็นกลางผลจากการวิจัยยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐเป็นไปอย่างไม่ราบรื่น มีการพบปะกันน้อยและสื่อสารกันเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น
ข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้นำไปสู่การพัฒนาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวไทยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน อันเป็นพื้นที่ที่มีความพิเศษในแง่วัฒนธรรมระหว่างคู่สื่อสาร รูปแบบการดำเนินชีวิตและคติความเชื่อที่เรียกชื่อว่ากระบวนทัศน์ “ DO IT RIGHT”
ชื่อ-สกุล นางลดาวัลย์ แก้วสีนวล
วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 15 มิถุนายน 2509
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน
พ.ศ. 2536 กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาการจัดการการสื่อสาร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
พ.ศ. 2532 นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตรพัฒนาการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2547 ศิลปศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Marketing Update Certificate, University of California Berkley San Francisco CA, USA.
พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะวิทยาการจัดการ
ผลงาน ตำราเรื่อง เทคนิคการเป็นผู้ประกาศและนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง เอกสารประกอบการสอนรายวิชา หลักการสื่อข่าวเบื้องต้น
ผลงานวิจัย
พ.ศ. 2540 การเปิดรับข่าวสารด้านการเมืองของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2542 การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2543 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ.2545 ความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อบัณฑิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2549 การพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2550 การสำรวจความนิยมในการรับชมรายการโทรทัศน์ NBT จังหวัดนครศรีธรรมราช