เอกสารประกอบการประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา '53 โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสุขภาวะครอบครัว ร่วมกับ 21 องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ...
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา '53
โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)แผนงานสุขภาวะครอบครัว
ร่วมกับ 21 องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
เมื่อวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2553
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สสส.จับมือ 21 องค์กร จัดประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา '53 เปิดตัวสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย นักวิชาการเสนอข้อมูลโครงสร้างประชากร-สถานการณ์ครอบครัว พบข้องเกี่ยวอบายมุข สูญเงิน 5.5 แสนล้านบาทต่อปี
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานสุขภาวะครอบครัว ร่วมกับ 21 องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จัดการประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา ปี 2553 “ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ สู้วิกฤตครอบครัวไทย” ระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2553 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นายวันชัย บุญประชา ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะครอบครัว สสส. แถลงเกี่ยวกับการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า เป็นการรวมตัวกันของนักวิชาการและคนทำงานด้านครอบครัวในประเทศไทย จะมีการจัดการความรู้ เอางานวิชาการมาพูดคุยกัน เพื่อมาช่วยกันหาแนวทางพัฒนางานวิชาการด้านครอบครัวและวิธีการจัดการปฏิบัติการ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาทำให้เกิดกลไกและการทำงานที่ถูกต้องเกี่ยวกับครอบครัวคนไทย ให้ครอบครัวแบบต่างๆที่มีหลากหลายได้เข้มแข็งและอยู่รอดได้ในสังคม เนื่องจากในปัจจุบัน ครอบครัวในสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่มีเพียงแค่ครอบครัวสมบูรณ์ ที่มีพ่อแม่ลูกเท่านั้น ยังมีครอบครัวพิเศษ ที่ไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึงจากรัฐ
นายวันชัยกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ยังเป็นเรื่องความต่อเนื่องจากการประชุมเมื่อปี 2552 คือ เมื่อปี 2552 เป็นการพูดคุยถึงเรื่องประสบการณ์การทำงานของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่างๆว่ามีองค์ความรู้มากน้อยแค่ไหน จะทำให้เกิดองค์กรทำงานความรู้ด้านครอบครัวได้หรือไม่ การประชุมในปี 2553 ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2553 นี้จะเป็นการตอบโจทย์นี้ คือจะเกิดองค์กรขึ้น จะมีการตั้งสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่องค์กรของรัฐ มีหน้าที่จัดการองค์ความรู้ งานวิจัย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัตินโยบายที่ดีและถูกต้องของรัฐ
“หลังจากการประชุมครั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงกับองค์กรที่ทำงานด้านครอบครัวในประเทศไทย คือ คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายส่งเสริมเรื่องครอบครัว โดยสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทยจะนำเสนอองค์ความรู้เรื่องครอบครัวต่อคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อนำไปประกอบการกำหนดนโยบาย ซึ่งหลังการประชุมครั้งนี้ ก็พร้อมจะเสนอให้คณะกรรมการ” นายวันชัยกล่าว
น.ส.ศิวพร ปกป้อง รองผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการศึกษาสถานการณ์สุขภาวะครอบครัวไทยว่า ประเด็นหลักที่เราทำวิจัยเรื่องนี้ จะสอดรับกับแผนงานสุขภาวะครอบครัว ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครอบครัวตามกรอบแนวคิด หยุดทุกข์ สร้างสุข เพื่อครอบครัว นั่นคือ หยุด 4 คือ อบายมุข หนี้สิน ความรุนแรง การนอกใจ และสร้าง 4 คือ สื่อสารดี มีเวลาร่วมกัน แบ่งปันใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพ ซึ่งในเรื่องของอบายมุขนั้นจะเป็นตัวหลักใหญ่ ที่จะโยงไปถึงอีก 7 เรื่องที่เหลือ คือ หากครอบครัวใดมีสมาชิกเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข จะมีสภาพด้านอื่นไม่ดี แต่ก็ยังโชคดีที่มีครอบครัวไทยอยู่ 25 % หรือประมาณ 4.5 ล้านครอบครัวไทยที่ปลอดอบายมุข ไม่มีสมาชิกในครอบครัวดื่มสุรา เล่นการพนัน และเล่นหวยใต้ดิน
“เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลหรืองานวิจัยก่อนหน้านี้จะพบว่า ในแต่ละปี เงินที่สูญเสียไปกับอบายมุขทั้ง 3 ด้าน คือ สุรา การพนัน และหวยใต้ดิน จะสูงถึง 5.5 แสนล้านบาทต่อปี มีครอบครัวจำนวน 16.2 % ของครอบครัวไทยทั้งหมด ที่มีสมาชิกเกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้ง 3 ด้านนี้ ทำให้มีเงินที่สูญเสียไป 2.2 แสนล้านบาทต่อปี ส่วนครอบครัวที่มีสมาชิกดื่มสุราและเล่นหวยใต้ดิน มี 29.5 % สูญเงิน 2 แสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ขอสนับสนุนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีไม่สร้างอบายมุขเพิ่ม คือ เรื่องหวยออนไลน์” น.ส.ศิวพร
น.ส.ศิวพรกล่าวว่า ยังพบว่า ครอบครัวไทยจำนวน 67 % แทบไม่เคยประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกันในบ้าน ส่วน 58 % แทบไม่เคยออกกำลังกายร่วมกัน และครอบครัวไทย 20 % ไม่เคยกล่าวคำขอโทษหรือขอบคุณให้แก่กัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ อาจจะเหมือนเส้นผมบังภูเขา อาจจะมองว่าต่างคนต่างทำก็ได้ ทั้งๆที่เป็นเรื่องที่ควรจะทำ โดยเฉพาะการประกอบพิธีทางศาสนาหรือการออกกำลังกาย ครอบครัวควรมีโอกาสทำร่วมกัน
รศ.ดร.ชาย โพธิสิตา อาจารย์สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนองานวิจัยเรื่อง “โครงสร้างประชากรและครอบครัว” ว่า จากการศึกษาพบว่า ประชากรไทยในวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยแรงงาน ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2543 มีประชากรอายุ 0-14 ปี จำนวน 14.843 ล้านคน คาดว่าในปี 2563 จะเหลือ 11.172 ล้านคน และปี 2583 เหลือเพียง 8.493 ล้านคน ส่วนวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้น และจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร่งเร็วขึ้นด้วย โดยจากปี 2543 ที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 5.793 ล้านคน คาดว่าในปี 2563 จะเพิ่มเป็น 110.954 ล้านคน และปี 2583 มีถึง 16.6 ล้านคน
ส่วนความเปลี่ยนแปลงในครอบครัวไทย พบว่า 1.คนไทยชะลอเวลาในการเริ่มสร้างครอบครัว จากข้อมูลสำมะโนประชากร ตั้งข้อสังเกตได้ว่า พฤติกรรมการแต่งงานตอบสนองต่อความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ในเมืองใหญ่หรือภาคที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก คนจะเริ่มต้นชีวิตครอบครัวช้ากว่าในภาคอื่นๆ 2.การครองโสดเริ่มแพร่หลายมากขึ้น พบว่า คนไทยที่ยังไม่เคยแต่งงานเลยในอายุสูงๆ เช่น 40 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ผู้ชายที่ไม่มีการศึกษามีโอกาสครองโสดสูงมาก แต่สำหรับผู้หญิงกลับตรงกันข้าม คือ ยิ่งมีการศึกษาสูง โอกาสที่จะโสดยิ่งมีสูงขึ้น ทั้งนี้ หญิงไทยกลุ่มอายุ 40-44 ปี ที่อาศัยใน กทม. มีอัตราการครองโสดสูงที่สุด เมื่อเทียบกับหญิงกลุ่มเดียวกัน ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน 3.รูปแบบการแต่งงานเริ่มถูกท้าทาย และ 4.การหย่าร้างเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ หน่วยงานร่วมจัด ประกอบด้วย
1.ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
3.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
4.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
5.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
6.แผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
7.สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
8.ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
9.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10.คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
13.คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14.ศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็งใน 8 จังหวัด (ลำปาง น่าน พะเยา กาฬสินธุ์ สุรินทร์ สงขลา พัทลุง สุราษฎร์ธานี)
15.ศูนย์ประสานงานเครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา (ศปค.)
16.สถาบันเพื่อการพัฒนาครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว (สคด.)
17.สถาบันรักลูก บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด
18.สหทัยมูลนิธิ
19.มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
20.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
21.สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย
22.มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
สนับสนุนงบประมาณโดย
1.แผนงานสุขภาวะครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2.ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัวไทย สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ
3.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
เอกสารประกอบการประชุม
บทความ เรื่อง ความเปลี่ยนแปลงในครอบครัวไทย โดย ชาย โพธิสิตา, Ph.D.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
เอกสารประกอบการนำเสนอ เรื่อง โครงสร้างประชากรและครอบครัว โดย ชาย โพธิสิตา
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุปผู้บริหาร เรื่อง การศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตและบริการทางสังคมสำหรับครอบครัวเด็กพิการครอบครัวเด็กพิการทางจิต ออทิสติก พิการทางสติปัญญา และครอบครัวเด็กพิการด้านการเรียนรู้
(Living Situation and Social Services for families of Disabilities’ Children : A Case Study of Families of Phychiatric, Autistic, Intellectual and Learning Disabilities’ Children ) โดย นภมณี ขุนฤทธิ์
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เรื่อง การศึกษาเรื่องสภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวเด็กติดยาเสพติดและบริการ/สวัสดิการสำหรับครอบครัว
บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัยสภาพการดำเนินชีวิตและบริการทางสังคมของครอบครัวลักษณะพิเศษ
โดย ผศ.น.ท.หญิง ดร. งามลมัย ผิวเหลือง
นางสาวกัลย์ธีรา สุขก่ำ
นางสาว.ศุทธินี สาครวาสี
นางสาวสุรีพันธ์ ชุมสำโรง
นายอธิ ธนธรรมคุณ
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เอกสาร เรื่อง สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวติดเหล้าและบริการ/สวัสดิการสำหรับครอบครัว
ผู้วิจัย นางสาวอุทุมพร อินทจักร์ และอาจารย์ที่ปรึกษา ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการวิจัย เรื่อง สภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวที่ประสบปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการบริการทางสังคม
ผู้วิจัย นางสาว ฮาฟิสสา สาและ และ นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ
อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. ดร. อมรา พงศาพิชญ์
บทสรุปผู้บริหาร โครงการวิจัยสภาพการดำเนินชีวิตและบริการ โดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
เอกสารประกอบการนำเสนอ โครงการ สถานการณ์สุขภาวะครอบครัวไทยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ของ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (ปุณิกา) เรื่อง การวิจัยสภาพการดำเนินชีวิตของครอบครัวเด็กพิการ : ศึกษาเฉพาะกรณีครอบครัวเด็กพิการ