เอกสารประกอบการสัมมนา แผนชุมชนชีวิตพึ่งตนเอง เรื่อง เรียนรู้บ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
เรียนรู้บ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ข้าราชการบำนาญ : สะท้อนให้เห็นภาพของหมู่บ้านที่เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน เพราะมีความต้องการให้ชุมชนมีความรักความสามัคคี สามารถพึ่งตนเองได้ และมีการบริหารจัดการที่ดีให้กับหมู่บ้านของตนที่อาศัยต่อไปเพื่อให้ลูกหลานและคนในชุมชนรักชุมชน เพื่อชุมชน อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนต่อไป ได้เล่าความเป็นอยู่ของหมู่บ้านและชาวบ้านของหมู่ที่ 15 บ้านควนกุฎว่า สมัยก่อนตัวเองมีฐานะดี และสามารถเนรมิตได้ตามความต้องการว่าจะทำอะไร ด้วยเหตุพื้นที่ส่วนใหญ่ทำนา / เกษตร จึงลงทุนด้วยเงินของตัวเองสร้างเครื่องสีข้าว ต่อมาไม่มีข้าวจะสี เพราะทำนาแล้วขายให้นายทุน หันมาเลี้ยงไก่ตอนแรกๆไม่ขาดทุน ได้กำไรบ้าง ช่วงหลังขาดทุนเนื่องจากอาหาร ยา ระบบการเลี้ยงจึงเลิกล้ม มาปลูกผักทำผลผลิตเพื่อการขาย และมีการจดการซื้อ การขาย (พันธุ์ผัก ปุ๋ย ยาฉีดแมลง) ทำได้ 2 เดือนทิ้งเพราะจ่ายมากกว่ารับ แต่ต้องทำต่อเพราะได้เงินพอเลี้ยงครอบครัว แต่คงเป็นหนี้ ซึ่งการปลูกผักได้ผลผลิตเยอะมากแต่ต้องอยู่กับยา(สารเคมี) เราฉีดเราก็ได้รับ ลงน้ำปลาปูได้รับ ขายเพื่อนเอาไปกินก็ได้รับ มาระยะหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้ามาตรวจสารพิษในร่างกาย ปรากฏว่าในร่างกายมีสารพิษ 80% “ขายสารเคมี กินสารเคมี” ธรรมชาติถูกทำลายลง ลงสมนึกจึงหยุด เพราะสุขภาพ
จุดเริ่มกระบวนการแผนชุมชน
โดยชักชวนให้สมาชิก/คนในหมู่บ้านจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างจริงจัง รวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่นรายรับ-รายจ่าย (รายจ่ายมากกว่ารายได้) แยกแจกค่าใช้จ่ายเป็นหมวด ค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าเกิดขึ้น เช่น ค่าข้าวสาร ค่าผัก ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการดำรงชีวิต เช่น ค่าโทรศัพท์ ซื้อรถ ผ่อนรถ ภาษีสังคมเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นมานั่งวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังการมองสภาพของคน/หมู่บ้านว่าเป็นอย่างไร และค้นหาปัญหาต่างๆ เช่น ค้นหาความเจ็บป่วย สารพิษตกค้างจากอาสาสมัคร 51 คน มีสารพิษตกค้างมาก 3 คน มีสารพิษตกค้าง 29 คน มีสารพิษตกค้างเล็กน้อย 16 คน ไม่พบสารพิษตกค้าง 1 คน
กลุ่มต่างๆของชุมชน (มีกลุ่มไว้แก้ปัญหาของชุมชน ไว้ช่วยเหลือกันเอง ไม่ได้หวังอย่างอื่น)
1. กลุ่มออมทรัพย์
2. กลุ่มเกษตรกรไร่นาผสมผสาน
3. กลุ่มแม่บ้านเลี้ยงสุกร
4. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ
5. กลุ่มแสงเทียน
6. กลุ่มสวัสดิการ
* กระบวนการพื้นที่
1. การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่สูง
2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมส่วนใหญ่รู้กระบวนการ
3. การตั้งคำถามของผู้ถอดบทเรียนตั้งแบบง่ายๆไม่ต้องตีความ
4. มีการวางแผนก่อนที่จะดำเนินการจริง ส่งผลให้เกิดความพร้อม
5. ได้เนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่ลงไปถอดบทเรียนทั้ง 2 พื้นที่
ผลที่เกิดจากแผนชุมชน
1. ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 20 ครัวเรือน
2. ผลิตภัณฑ์สินค้าทดแทนภายในชุมชน
- การทำน้ำยาล้างจาน จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 30 ครัวเรือน
- การทำเครื่องแกงทำมือ จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 35 ครัวเรือน
- การทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 40 ครัวเรือน
3. การทำนาชีวภาพ จำนวน 69 ครัวเรือน จำนวน 90 ไร่
4. การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย จำนวน 143 ครัวเรือน
เรียนรู้บ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
ข้าราชการบำนาญ : สะท้อนให้เห็นภาพของหมู่บ้านที่เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน เพราะมีความต้องการให้ชุมชนมีความรักความสามัคคี สามารถพึ่งตนเองได้ และมีการบริหารจัดการที่ดีให้กับหมู่บ้านของตนที่อาศัยต่อไปเพื่อให้ลูกหลานและคนในชุมชนรักชุมชน เพื่อชุมชน อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนต่อไป ได้เล่าความเป็นอยู่ของหมู่บ้านและชาวบ้านของหมู่ที่ 15 บ้านควนกุฎว่า สมัยก่อนตัวเองมีฐานะดี และสามารถเนรมิตได้ตามความต้องการว่าจะทำอะไร ด้วยเหตุพื้นที่ส่วนใหญ่ทำนา / เกษตร จึงลงทุนด้วยเงินของตัวเองสร้างเครื่องสีข้าว ต่อมาไม่มีข้าวจะสี เพราะทำนาแล้วขายให้นายทุน หันมาเลี้ยงไก่ตอนแรกๆไม่ขาดทุน ได้กำไรบ้าง ช่วงหลังขาดทุนเนื่องจากอาหาร ยา ระบบการเลี้ยงจึงเลิกล้ม มาปลูกผักทำผลผลิตเพื่อการขาย และมีการจดการซื้อ การขาย (พันธุ์ผัก ปุ๋ย ยาฉีดแมลง) ทำได้ 2 เดือนทิ้งเพราะจ่ายมากกว่ารับ แต่ต้องทำต่อเพราะได้เงินพอเลี้ยงครอบครัว แต่คงเป็นหนี้ ซึ่งการปลูกผักได้ผลผลิตเยอะมากแต่ต้องอยู่กับยา(สารเคมี) เราฉีดเราก็ได้รับ ลงน้ำปลาปูได้รับ ขายเพื่อนเอาไปกินก็ได้รับ มาระยะหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้ามาตรวจสารพิษในร่างกาย ปรากฏว่าในร่างกายมีสารพิษ 80% “ขายสารเคมี กินสารเคมี” ธรรมชาติถูกทำลายลง ลงสมนึกจึงหยุด เพราะสุขภาพ
จุดเริ่มกระบวนการแผนชุมน
โดยชักชวนให้สมาชิก/คนในหมู่บ้านจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างจริงจัง รวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่นรายรับ-รายจ่าย (รายจ่ายมากกว่ารายได้) แยกแจกค่าใช้จ่ายเป็นหมวด ค่าใช้จ่ายที่ไม่น่าเกิดขึ้น เช่น ค่าข้าวสาร ค่าผัก ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการดำรงชีวิต เช่น ค่าโทรศัพท์ ซื้อรถ ผ่อนรถ ภาษีสังคมเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นมานั่งวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังการมองสภาพของคน/หมู่บ้านว่าเป็นอย่างไร และค้นหาปัญหาต่างๆ เช่น ค้นหาความเจ็บป่วย สารพิษตกค้างจากอาสาสมัคร 51 คน มีสารพิษตกค้างมาก 3 คน มีสารพิษตกค้าง 29 คน มีสารพิษตกค้างเล็กน้อย 16 คน ไม่พบสารพิษตกค้าง 1 คน
กลุ่มต่างๆของชุมชน (มีกลุ่มไว้แก้ปัญหาของชุมชน ไว้ช่วยเหลือกันเอง ไม่ได้หวังอย่างอื่น)
1. กลุ่มออมทรัพย์
2. กลุ่มเกษตรกรไร่นาผสมผสาน
3. กลุ่มแม่บ้านเลี้ยงสุกร
4. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ
5. กลุ่มแสงเทียน
6. กลุ่มสวัสดิการ
* กระบวนการพื้นที่
1. การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่สูง
2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมส่วนใหญ่รู้กระบวนการ
3. การตั้งคำถามของผู้ถอดบทเรียนตั้งแบบง่ายๆไม่ต้องตีความ
4. มีการวางแผนก่อนที่จะดำเนินการจริง ส่งผลให้เกิดความพร้อม
5. ได้เนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่ลงไปถอดบทเรียนทั้ง 2 พื้นที่
ผลที่เกิดจากแผนชุมชน
1. ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มสมุนไพร จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 20 ครัวเรือน
2. ผลิตภัณฑ์สินค้าทดแทนภายในชุมชน
- การทำน้ำยาล้างจาน จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 30 ครัวเรือน
- การทำเครื่องแกงทำมือ จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 35 ครัวเรือน
- การทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง จำนวนสมาชิกเข้าร่วม 40 ครัวเรือน
3. การทำนาชีวภาพ จำนวน 69 ครัวเรือน จำนวน 90 ไร่
4. การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย จำนวน 143 ครัวเรือน