เอกสารประกอบการสัมมนา แผนชุมชนชีวิตพึ่งตนเอง เรื่อง ชุดความรู้ กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
ชุดความรู้ กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
ปี พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดทำแผนชุมชนภายในตำบลตลุก จากผลการสำรวจข้อมูล ปรากฏว่า ชาวบ้านในตำบลตลุกส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี กันมาก ข้อมูลดังกล่าวทำให้จุดประกายความคิดของ นายสมพงษ์ วงศ์ก่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเสือของขบวนแผนชุมชน ที่ต้องการให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต จึงคิดทำปุ๋ยหมัก ควบคู่ไปกับการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 76 คน เป็นสมาชิกที่มาจากกลุ่มเกษตรกรทั้งสิ้น กำลังผลิตของกลุ่ม วันละ 500-600 กิโลกรัม
มติของกลุ่มที่ต้องการให้กลุ่มสามารถดำเนินการได้ จึงใช้วิธีการระดมหุ้น จากสมาชิก หุ้นละ 100 บาท ซื้อได้ไม่เกินคนละ 100 เงินจำนวนนี้ได้นำไปซื้อจานปั้นเม็ดปุ๋ย ราคา 65,000 บาท ปรากฏว่าเงินไม่เพียงพอ ประธานกลุ่มจึงออกให้เพิ่มเติม 3,000 บาท วัสดุ อุปกรณ์ อื่น ๆ ยังไม่ครบ ได้ทำการปรึกษาหารือกันภายในกลุ่มว่าจะทำอย่างไรดี ถ้ากู้ธนาคารออมสิน และ ธกส. ธนาคารจะให้ 500,000 บาท คณะกรรมการกลุ่มกลัวการเป็นหนี้ ถ้ากิจการทำไปแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ประธานจึงตัดสินใจดำเนินการเองทั้งหมด โดยใช้งบประมาณส่วนตัว ซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง เช่นการสร้างโรงเรือนผลิตปุ๋ย ถังน้ำ หมักชีวภาพ ขี้วัว แกลบ ยิปซัม โคโรไมน์ แร่ฟอสเฟส เครื่องปั่นเพื่อแยกความหยาบ ละเอียด เครื่องผสมปุ๋ย ชั้นตาก ถุงปุ๋ยขนาด จักรเย็บถุงปุ๋ย จอบ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 305,300 บาท
หลังจากได้วัสดุอุปกรณ์ พร้อมโรงเรือนสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ได้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ออกจำหน่ายให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยใช้ชื่อปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตรา “ชีวา” บรรจุกระสอบละ 50 กิโลกรัม ราคาเงินสด 280 บาท/กระสอบ ถ้าเป็นเงินเชื่อราคากระสอบละ 290 บาท โดยจ่ายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ทุกสิ้นปีจ่ายคืนสมาชิกลูกละ 10 บาท และมีเงินปันผลให้กับสมาชิก
ปริมาณการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ผลที่เกิดขึ้นจากปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
1. หลังจากที่มีกลุ่ม ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ตำบลตลุก มีการลดใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ลงประมาณ 40% จากข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจ โดยการบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนชุมชน สิ่งที่ได้รับจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นใช้กันเอง สามารถลดต้นทุนการผลิตประมาณ 40%
2. สภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้น สภาพน้ำมีสารเคมีน้อยลง มีกุ้ง หอย ปู ปลา กบ เพิ่มปริมาณมากขึ้น จากเดิมที่สูญหายไป
3. สุขภาพของผู้ใช้ดีขึ้น
4. มลภาวะของดินที่มีสภาพเป็นกรด ปัจจุบันดินร่วนซุยขึ้น
5. สมาชิกทุกคนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
ภายใต้กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดตลุก ซึ่งช่วงแรกมุ่งเน้นที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ภายในท้องถิ่น ประธานกลุ่มได้ทำการทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์หมักที่ผลิตขึ้นเองได้ โดยการปลูกผัก คนเดียวก่อน แล้วนำผักที่ได้ไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเพื่อทำอาหาร คนที่ได้กินผักปลอดสารพิษมีความชื่นชอบว่าผักมีรสชาติดีกว่าท้องตลาด จึงได้มีชาวบ้านมาขอซื้อผักที่ปลูกไว้ แต่ไม่ขาย ถ้าอยากกินต้องมาปลูกกินเอง มีที่ดิน ปุ๋ย น้ำ รดพรวนดิน ให้ใช้ทุกอย่างฟรีทั้งหมด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ชาวบ้านสนใจ จึงเข้ามาเรียนรู้ สมาชิกชุดแรกที่เข้ามาทำผักปลอดสารพิษจำนวน 7 ครอบครัว เมื่อได้รับผลผลิตจากการปลูกผักก็นำไปกินเอง เหลือจากกินก็แบ่งปันกันในหมู่ญาติพี่น้อง เหลือจากแบ่งปันกันก็นำไปขาย ขายได้ครั้งละ 10-20 บาท ก็นำเงินใส่กระปุกของทุกครอบครัว พอหมดช่วงอายุผักก็เปิดกระปุกนำเงินมานับแข่งกันว่าใครมีเงินมากกว่ากัน ถือว่าเป็นเงินสะสมสำหรับครอบครัวครั้งละประมาณ 2,000-3,000 บาท
กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดตลุก ได้ขยายการเรียนรู้ โดยทุกหมู่ภายในตำบลตลุก หมู่ละ 2 คน มาทำการอบรมวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยใช้สมุนไพรธรรมชาติ การทำน้ำหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ฮอร์โมนไข่ที่ทดแทนปุ๋ยเคมี ขณะนี้ได้รับงบประมาณจาก สกว. 20,000 บาท งบประมาณจาก อบต.ตลุก 20,000 บาท และงบประมาณจาก สสส. 100,000 บาท