เอกสารประกอบการสัมมนา แผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเอง เรื่อง บทเรียนการทำงานจังหวัดนครพนม
บทเรียนการทำงานจังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม มีพื้นที่การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,105 หมู่บ้าน มีพื้นที่ดำเนินงานภายใต้โครงการจัดทำแผนชุมชน เชิงคุณภาพเพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 อำเภอ 5 ตำบล รวมจำนวน 10 หมู่บ้าน
กลไกคณะทำงานจังหวัดนครพนมมีคณะทำงานจังหวัดจำนวน 25 คน เป็นตัวแทนจากทั้ง 10 หมู่บ้าน มีการแบ่งบทบาทการทำงานอย่างชัดเจน มีผู้ประสานงานระดับหมู่บ้านทั้ง 10 หมู่บ้าน รวม 10 คน ซึ่งมีบทบาทดังนี้
1.) เชื่อมประสานภาคีในพื้นที่ รวมในการจัดกิจกรรม
2.) เชื่อมประสานแกนนำในหมู่บ้าน ในการพัฒนาฐานข้อมูลภายในหมู่บ้าน
3.) เชื่อมประสานการจัดเวทีเรียนรู้ และเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ในระดับหมู่บ้าน/ ตำบล
4.) เชื่อมประสานงานกับเครือข่ายแผนชุมชนระดับจังหวัด เพื่อสรุปบทเรียนการทำงาน
5.) จัดเก็บรวบรวมข้อมูลสรุปเอกสารการดำเนินงาน และ สรุปเอกสารการเงินระดับหมู่บ้าน
มีการจัดโซนรับผิดชอบเพื่อติดตามหนุนเสริมสนับสนุนเอื้อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระดับหมู่บ้าน สรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมพื้นที่ แบ่งเป็น 3 โซนๆละ 2 คน
วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานพื้นที่หมู่บ้าน
ขอเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
1. ควรมีการขับเคลื่อนงานตำบลยุทธศาสตร์ ร่วมกับภาคีหุ้นส่วนพัฒนาในพื้นที่ตำบล
2. ควรมีการขยายพื้นที่แผนชีวิตชุมชนเชิงคุณภาพให้เต็มพื้นที่ตำบล
3. ควรมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
4. ควรมีการผลักดันแผนชีวิตชุมชนสู่การปฏิบัติ และผลักดันสู่นโยบายทุกระดับ
5. ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกระดับ กำหนดทิศทางการพัฒนาร่วมกันเป็นองค์รวม
6. ควรมีการจัดเวทีสาธารณเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสนอแนะเชิงนโยบาย ในระดับเครือข่าย ประเด็น / ระดับจังหวัด /ระดับโซนจังหวัด / ระดับภาค และระดับชาติ อย่างละ 1 ครั้ง
“ ไม่มีกระบวนการใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงคนได้ มีเพียงกระบวนการที่สร้างเงื่อนไข เอื้อให้เกิด หรือ จุดประกาย ให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลง ด้วยการกระทำของตัวผู้เปลี่ยนแปลงเองแต่ผู้เดียว”
จากการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการจัดทำแผนชุมชน เชิงคุณภาพเพื่อขยายผลการเรียนรู้สู่การปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ และ รับรู้สถานการณ์ของตนเอง ครอบครัว / หมู่บ้าน / ชุมชนของตัวเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น และ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากนอกหมู่บ้าน / ชุมชน หรือชุมชนอื่น ซึ่งเป็นแหล่งก่อเกิดความรู้ใหม่ และเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ดั้งเดิมของคนในชุมชน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนร่วมกันทำให้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของชุมชน เกิดการเปรียบเทียบการพัฒนาในแนวทางต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของชุมชน
วันนี้ หมู่บ้าน / ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้มีการเรียนรู้ รับรู้ข้อมูลที่มีอยู่ในหมู่บ้าน / ชุมชน ศึกษารายละเอียดเป็นอย่างดี การที่คนในชุมชนได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ ได้สร้างแนวคิดวิธีการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน คงไม่ใช่บทสรุปที่บอกได้ว่ากระบวนการดังกล่าวจะทำให้คนในหมู่บ้าน / ชุมชน จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ จะสามารถฝ่าวิกฤตปัญหาความยากจนนั้นไปได้ แต่หากกระบวนการเรียนรู้นี้ถูกนำไปสู่การใช้และถือปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ยังมีความเชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนสังคมและประเทศชาติได้ กระบวนการแผนชีวิต ชุมชนคงจะเป็นคำตอบ เป็นทางเลือก และ ทางรอดให้กับสังคมไทย