“ธนพล ทรงพุฒิ” กับปฏิบัติการ “คนค้นโคลน”
เมื่อเกิดปัญหาภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือ ดินโคลนถล่ม คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการบริจาคเงิน และสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย แต่คนกลุ่มหนึ่งกลับเลือกที่จะบริจาคแรงกาย ด้วยการอาสาขุดโคลน เก็บขยะ และซ่อมแซมบ้าน พวกเขาเชื่อว่า อย่างน้อยจะช่วยลบร่องรอยความสูญเสีย และเรียกรอยยิ้มของผู้ประสบภัยกลับคืนมา
ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน สำนักข่าวอิศรา จะพาไปพูดคุยกับ "ธนพล ทรงพุฒิ" หรือ "เอ – กระจกเงา" หัวหน้าโครงการ "พัฒนาจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน" มูลนิธิกระจกเงา เพื่อฟังเสียงสะท้อนจัดการภัยพิบัติในชุมชน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคต
@ทำไมจึงเลือกการขุดโคลน ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
การช่วยเหลือทำได้หลายรูปแบบและแตกต่างกันออกไป แต่ที่เราไม่เน้นการบริจาค เพราะเชื่อว่า คนอื่น หรือ องค์กรอื่น น่าจะทำได้ดีกว่า ยกตัวอย่างสื่อโทรทัศน์บางช่องแค่ประกาศตูมเดียว ก็มียอดบริจาคเข้ามาเป็นล้านแล้ว ก็ให้เขาทำหน้าที่นี้ดีกว่า ส่วนเราก็เลือกทำในสิ่งที่ก้าวไปข้างหน้า และคิดว่าเรามีศักยภาพทำได้ และยังเป็นช่องว่างที่ยังไม่มีใครจัดการ เช่น การขุด และล้างคราบโคลน การซ่อมแซมบ้าน การพัฒนารอบๆ หมู่บ้าน หรือแม้แต่การจัดกิจกรรมกับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะถ้าอยู่ในเต้นท์ผู้ประสบภัย จะประสบกับสภาวะเครียดได้ง่าย ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ด้วยครับ
เช่น ถ้าโรงเรียนได้รับความเสียหาย ก็จะเน้นไปที่โรงเรียนเป็นอันดับแรก เพราะในพื้นที่ประสบภัยส่วนใหญ่โรงเรียนจะปิดทำการ เราจะเน้นการฟื้นฟูเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้เด็กๆ สามารถถกลับเข้าไปเรียนได้
แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ครับ คือ ติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล และระดมอาสาสมัครลงพื้นที่
ติดตามสถานการณ์ - เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ หรือมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่เหตุการณ์ภัยพิบัติ เช่น เกิดพายุ หรือมีฝนตกหนักในแต่ละพื้นที่ ทางทีมงานจะมีการมอนิเตอร์ (ติดตาม) เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ อย่างใกล้ชิด โดยอาศัยข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย เพื่อนำมาเชื่อมโยงกัน เช่น ข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุฯ การเคลื่อนตัวของพายุ และสถานการณ์น้ำ ถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็จะประเมินภาพรวมว่า ความรุนแรงของภัยอยู่ในระดับใด เช่นระดับหมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด หรือ ประเทศ แล้วมาปรึกษากันในทีมว่า ขอบเขตของเราควรอยู่ตรงจุดไหน เพราะแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน
สำรวจข้อมูล - เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น หน่วยงานแรกๆ ที่จะเข้าถึงพื้นที่ก่อน คือ ทหาร เพราะมีเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่พร้อม เพื่อทำหน้าที่เคลียร์เส้นทาง เช่น ถนนขาด สะพานชำรุด ให้กลับมาใช้งานได้ เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เข้าสู่พื้นที่ได้
จากนั้น ทางทีมงานถึงจะลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความเสียหาย และความต้องการของชุมชน เพื่อการช่วยเหลือที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน แต่ต้องแน่ใจว่าพื้นที่มีความปลอดภัยระดับหนึ่งแล้ว ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็น ผู้ประสบภัยเอง
การให้ความช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงบริบทของพื้นที่จะทำให้เกิด ปัญหาการจัดการตามมา เช่น กรณีน้ำท่วมหาดใหญ่ มีผู้บริจาคมาม่าหมูสับเป็นจำนวนมาก แต่พี่น้องมุสลิมต้องการอาหารฮาลาล หรือ น้ำท่วมภาคเหนือมีผู้บริจาคข้าวสารเยอะมาก แต่ชาวบ้านกินข้าวเหนียว มีแต่ซึงกับหม้อนึ่ง อย่างนี้เรียกว่าไม่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทชุมชน
หลังจากที่ได้ข้อมูลชุมชนแล้ว จะมาประเมินศักยภาพอีกครั้งว่าในพื้นที่มีใคร หรือองค์กรใดบ้าง เช่น ทหาร หน่วยกู้ภัย อสม. อพปร. แล้ววางบทบาทตนเองในการทำงาน แต่ต้องคุยในพื้นที่ให้ชัดเจนว่าบทบาทมีแค่ไหน ทำอะไรได้แค่ไหน
“ส่วนใหญ่เราจะไม่สัญญาว่าจะให้ แต่จะนำข้อมูลมาเผยแพร่สู่สาธารณะชนมากกว่า”
สุดท้าย คือ การระดมอาสาสมัครลงพื้นที่ –จะ ต้องศึกษาสภาพพื้นที่ก่อน ว่ากิน-นอนตรงไหน อย่างน้อยต้องปลอดภัย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น มีน้ำ-มีไฟฟ้า ถ้าเป็นไปได้มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับส่งข้อมูลข่าวสารด้วย เพราะถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็จะลำบากต่ออาสาสมัคร ซึ่งถ้าอาสาฯ จัดการตนเองไม่ได้ แทนที่จะช่วยชุมชนกลับกลายเป็นการสร้างภาระให้ชุมชนแทน คือเราจะรบกวนชาวบ้านที่เขาประสบภัยอยู่แล้วให้น้อยที่สุด
@อาสาสมัครได้อะไรจากการทำกิจกรรมจิตอาสา
เคยมีอาสาฯ บางคนถามผมเหมือนกันว่า “ทำไมชาวบ้านไม่ช่วยกันเอง?” ผมก็ตอบว่า ชาวบ้านเขาห่วงบ้านเขาอยู่ แต่ละหลังประสบภัยเหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีภาระที่ต้องเลี้ยงปากท้อง แต่อาสาฯ มีพลัง มีความตื่นตัว มีศักยภาพในการช่วยเหลือ หรือสื่อสารต่อสาธารณะ ตามศักยภาพของแต่ละคน บางคนมีรถก็ช่วยขนของได้ บางคนมีแรงก็ช่วยกันไป บางคนมีเงินก็บริจาคเงิน ให้คนพื้นที่ได้ทำงาน และผมมักจะบอกอาสาอยู่เสมอว่า
"เราไม่ใช่ผู้ให้ เราเป็นอาสาที่มาบริจาคแรง ส่วนชาวบ้านก็บริจาคอาหาร ดังนั้น เราต่างเท่าเทียมกัน"
ผมว่า เกิดถี่ขึ้นมากกว่า ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับการประเมินความเสียหายในแต่ละพื้นที่
@คิดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
ในอดีตป่าเมืองไทยจะเป็นป่าสมบูรณ์ คำว่าป่าสมบูรณ์ หมายถึง ป่าที่มีความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ มีหลายชั้น ตั้งแต่ไม้ยืนต้น เถาวัลย์ นานาพันธุ์ สูงต่ำลดหลั่นกันลงไป และยังมีพืชคลุมดินอีก ดังนั้น เวลาที่ฝนตกในป่าบริเวณนี้จะใช้เวลานาน กว่าน้ำจะหยดถึงพื้น และเมื่อถึงพื้นรากพืชที่อยู่ลึกลงไปไม่เท่ากันก็ช่วยซับน้ำไว้ ทำให้น้ำถูกดูดซับลงสู่ระบบน้ำใต้ดิน
ผมไม่ได้โทษชาวบ้านนะ ผมมองว่าส่วนหนึ่งคือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จารกระบบเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านต้องหันมาทำไร่ในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (contract farming) คือ นายทุนลงทุนให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจให้ โดยจะให้ปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง แต่ด้วยจำนวนที่ดินทำกินมีน้อยเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะขาดทุน จึงต้องบุกเบิกที่ทำกินใหม่
"เศรษฐกิจชุมชน ขยายตัวมากกว่า เศรษฐกิจพอเพียงจะรับมือได้ ถ้าเราหันมาดูชนบท จะพบว่ารายจ่ายสูงไม่ต่างจากคนเมือง เพราะลูกก็ต้องเรียน งวดรถไถก็ต้องจ่าย"
@การจัดการภัยพิบัติของเมืองไทยมีพัฒนาการอย่างไร
ก็ยังเหมือนเดิม ยังไม่ไปถึงไหน รัฐบาลทุกสมัย ยังเน้นที่การเยียวยา ฟื้นฟู ที่ใช้งบประมาณสูง ในขณะที่การป้องกันเตือนภัย ที่จะช่วยลดการสูญเสียและลงทุนน้อยกว่า กลับไม่มีงบประมาณ
อย่างกรณีน้ำท่วมทางภาคกลาง ที่ระดับชุมชนทะเลาะกันแทบตาย เรื่องความไม่ยุติธรรมของหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วม กับหมู่บ้านที่น้ำไม่ท่วม
เพราะการที่น้ำท่วมสูงขนาดนี้ไม่ได้มาจากวิถีธรรมชาติ แต่เพราะคันกั้นน้ำที่ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วมผลผลิตทางการเกษตรที่ยังไม่ ได้เก็บเกี่ยว จึงเกิดความไม่เข้าใจกัน สังคมไทยยังขาดตัวกลางในการไกล่เกลี่ยปัญหา เช่น หมู่บ้านที่น้ำไม่ท่วมจะช่วยเหลือหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมอย่างไร จะทำกับข้าวมาให้ แบ่งปันข้าวหลังเก็บเกี่ยวแล้ว หรือ จะจัดเก็บภาษีคนกรุงเทพฯมาช่วยคนถูกน้ำท่วมในจังหวัดรอบนอกดีไหม
"แต่กลับมีนโยบายเพิ่มความสูงคันกั้นน้ำขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้เกิดความแตกต่างมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง ที่รุนแรงและบานปลาย"
ผม อยากเสนอให้ยุบทั้ง 3 หน่วยงาน คือ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และปภ. (สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) มาทำงานร่วมกันแบบบูรณการมากกว่า
ซึ่งอาจมาจากกล่มผู้นำชุมชนที่มีอยู่แล้ว เช่น อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน)