ทีดีอาร์ไอชำแหละประกันสังคมเบี้ยแพง
ในปัจจุบันกลุ่มประชาชนที่ไม่มีหลักประกันทางสังคม แบ่งได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ คือ เกษตรกร แรงงานนอกระบบ และกลุ่มประกอบอาชีพอิสระ รวมประมาณ 24 ล้านคน “วิโรจน์-อัญชนา ณ ระนอง” ชำแหละปัญหาระบบประกันสังคม ท่ามกลาง “ประชาวิวัฒน์” ที่รัฐบาลเพิ่งแถลง
นโยบายของภาครัฐต้องการที่จะดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคม เมื่อคำนึงว่ากลุ่มเป้าหมายที่สำคัญส่วนมากเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่มากนัก และที่ผ่านมาสิทธิประโยชน์และเบี้ยประกันตามมาตรา 40 เดิมก็ไม่สามารถจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ จึงต้องปรับเปลี่ยนสิทธิประโยชน์และอาจต้องลดเบี้ยประกันลง และได้รับการอุดหนุนเงินสมทบจากรัฐ
นายวิโรจน์ ณ ระนอง และนางอัญชนา ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ได้ศึกษาโครงการวิจัยแนวทางการขยายความคุ้มครอง โดยรัฐบาลร่วมจ่ายในการประกันสังคมตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ในรูปแบบชุดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นที่ต้องการของประชาชน
จากข้อมูลที่พบว่ามีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 น้อยมาก ประมาณ 50 คน (จากผู้ที่มีสิทธิประมาณ 20 ล้านคน) ซึ่งบ่งชี้ว่า โครงสร้างเบี้ยประกันและสิทธิประโยชน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้สอดคล้องกับความต้องการของประชากรกลุ่มเป้าหมาย
จากผลการสำรวจพบว่าในทุกกลุ่มอาชีพต้องการสิทธิประโยชน์ที่เป็นการชดเชย รายได้เมื่อเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล 2-3 วันขึ้นไปมากที่สุด และต้องการสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตและกรณีทุพพลภาพ รวมทั้งให้ต้องการสิทธิประโยชน์บำนาญมากกว่าบำเหน็จชราภาพ
โดยส่วนใหญ่ ระบุว่ามีกำลังจ่ายไม่เกิน 50-100 บาท/เดือน
ทั้งนี้ ทีดีอาร์ไอได้จัดทำสิทธิประโยชน์ 6 รูปแบบให้เลือก ดังนี้
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 1 ครอบคลุม 3 กรณีคือ (1) ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีมีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต 3 หมื่นบาท (2) เงินชดเชยรายได้ในกรณีทุพพลภาพ 1,500 บาท/เดือน จนอายุครบ 60 ปี จากนั้นจะลดลงเหลือ 1,000 บาท/เดือน (ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพจากรัฐบาล 500 บาท/เดือน อยู่แล้ว) และ (3) บำนาญชราภาพ 500 บาท/เดือน เพิ่มเติมจากที่จะได้รับจากรัฐบาลอีก 500 บาท/เดือน อยู่แล้ว แต่ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 100 เดือน ผู้ประกันตนยินดีจ่ายเงินสมทบ 0100 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 2 ประกอบด้วยสิทธิประโยชน์ 4 กรณีคือ (1) การชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล 23 วัน เมื่อนอนโรงพยาบาลครบ 2 วัน จะได้รับ 500 บาท และจะได้รับเพิ่มอีกวันละ 200 บาท ตั้งแต่วันที่ 3 เป็นต้นไป ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง (2) ได้รับเงินช่วยเหลือเมื่อคลอดลูก 3,000 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องส่งเงินสมทบติดต่อกันมาแล้ว 12 เดือน (3) ได้รับเงินช่วยเหลือกรณีที่บุคคลในครอบครัวเสียชีวิต 4 หมื่นบาท/คน และ (4) เงินชดเชยรายได้กรณีทุพพลภาพ 1,500 บาท/เดือน จนอายุครบ 60 ปี จากนั้นจะลดเหลือ 1,000 บาท/เดือน ผู้ประกันตนยินดีที่จะจ่ายเงิน 101200 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 ประกอบด้วยสิทธิประโยชน์ใน 5 ด้านดังต่อไปนี้ (1) ได้รับการชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล 23 วัน เมื่อนอนโรงพยาบาลครบ 2 วัน จะได้รับ 500 บาท และจะได้รับเพิ่มอีกวันละ 200 บาท ตั้งแต่วันที่ 3 เป็นต้นไปปีละไม่เกิน 3 ครั้ง (2) เงินช่วยเหลือเมื่อคลอดลูก 3,000 บาท/ครั้ง ไม่เกิน 2 ครั้ง (3) ได้รับเงินช่วยเหลือกรณีที่เสียชีวิต 4 หมื่นบาท/คน (4) ได้รับเงินชดเชยรายได้กรณีทุพพลภาพ 2,000 บาท/เดือน จนอายุครบ 60 ปี จากนั้นจะลดเหลือ 1,500 บาท/เดือน (5) ได้รับบำนาญชราภาพ 500 บาท/เดือน โดยรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 500 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงิน 101200 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 4 มีสิทธิประโยชน์ 5 ด้านเช่นกัน โดยใน 4 ด้านแรกจะเหมือนกับกรณีของสิทธิประโยชน์รูปแบบที่ 3 จะแตกต่างเฉพาะเรื่องการรับบำนาญชราภาพ จะได้ 1,000 บาท/เดือน ซึ่งจะจ่ายเงินสมทบ 201300 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ชุดที่ 5 ส่วนใหญ่คล้ายกับสิทธิประโยชน์ชุดที่ 4 จะแตกต่างเฉพาะเรื่องของการชดเชยรายได้ เมื่อนอนโรงพยาบาลครบ 3 วัน จะได้รับ 1,000 บาท และจะได้รับเพิ่มอีกวันละ 200 บาท ถ้านอนเกิน 5 วัน ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง ซึ่งผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบ 201300 บาท
ชุดสิทธิประโยชน์ชุดที่ 6 (มีลักษณะเหมือนกับสิทธิประโยชน์แบบที่ 5 ยกเว้นในกรณีบำนาญชราภาพ ให้จะได้รับเงิน 1,500 บาท/เดือน ผู้ประกันตนจ่าย 201300 บาท
ด้านการคำนวณรายรับรายจ่าย และดุลเงินสดของโครงการ จากชุดสิทธิประโยชน์ต่างๆ
ภายใต้ข้อสมมติว่าแรงงานนอกระบบจะค่อยๆ เข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยสมมุติว่าเริ่มเข้าสู่ระบบในปีที่หนึ่งใน 5% จากนั้นจะเพิ่มเป็น10% 15% 20% ในปีที่ 24 และเมื่อเวลาผ่านไปผู้ประกันตนจะเพิ่มมากขึ้น เป็น 30% 40% 60% 70 80 %และ 90% (ระหว่างปีที่ 510) หลังจากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอีก 1% ทุกปีจนถึง 100% ในปีที่ 20 และคงอยู่ที่สัดส่วนนี้ไปตลอดจนถึงปีที่ 30
ในด้านรายรับของกองทุน ได้แก่ รายรับจากเงินสมทบ และผลตอบแทนจากเงินในกองทุน แบ่งออกเป็น 5 กรณี คือ กรณีแรก ผู้ประกันตนจ่าย 50 บาทต่อเดือน รัฐบาลไม่ร่วมสมทบ กรณีที่สอง ผู้ประกันตนจ่าย 50 บาทต่อเดือน รัฐบาลร่วมสมทบ 50 บาทต่อเดือน กรณีที่สาม ผู้ประกันตนจ่าย 50 บาทต่อเดือน รัฐบาลร่วมสมทบ 100 บาทต่อเดือน
กรณีที่สี่ ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลจ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน กรณีที่ห้า ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาทต่อเดือน รัฐบาลจ่ายสมทบ 200 บาทต่อเดือน สำหรับรายรับจากผลตอบแทนการลงทุน ได้สมมุติอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจากการลงทุนของเงินกองทุนไว้ที่ 2 %ต่อปี ด้านรายจ่าย ด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ 6 กรณี และค่าบริหารจัดการ สมมุติไว้ที่ 10% ของเงินสมทบที่เข้ามาในแต่ละปี โดยสรุปโครงการที่มีเงินสมทบ 100 บาท/ คนเดือนขึ้นไป (ซึ่งรวมถึงกรณีที่ผู้ประกันตนจ่าย 50 บาท และรัฐจ่าย 50 บาท) จะสามารถอยู่ได้โดยมีดุลเงินสดเป็นบวกตลอดช่วง 30 ปี
ในขณะที่การเปิดให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกประกันสังคมราคาถูก ตามโครงการประชาวิวัฒน์ จะมี 2 ราคา คือต่ำสุด 100 บาท/เดือน โดยผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐสมทบ 30 บาท ได้สิทธิประโยชน์ 3 อย่าง คือ 1.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยได้วันละ 200 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 20 วัน 2.เงินชดเชยทุพพลภาพ 1,000 บาท/เดือน ต่อเนื่อง 15 ปี 3.เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต 2 หมื่นบาท/คน
สำหรับประกันสังคมราคา 150 บาท/เดือน ผู้ประกันตนจะจ่าย 100 บาท รัฐสมทบ 50 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกรณีแรก แต่เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินเมื่อถึงอายุครบ 60 ปี
ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สนใจในปีแรก 2.4 ล้านคน รัฐต้องอุดหนุนเงิน 1,500 ล้านบาท เป็นเงินสมทบ 1,200 ล้านบาท และค่าบริหาร 300 ล้านบาท เมื่อเทียบกับรูปแบบสิทธิประโยชน์ของทีดีอาร์ไอ เสนอในรูปแบบที่ 2 ในราคาจ่าย 100 บาท (ประชาชนจ่าย 50 บาท รัฐบาลจ่าย 50 บาท) ได้สิทธิประโยชน์คุ้มครองที่มากกว่าและราคาถูกกว่า
อย่างไรก็ตาม ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โครงการนี้จะบรรลุเป้าหมายต่อเมื่อผู้มีสิทธิจำนวนมากเข้าร่วมโครงการ แต่เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีรายได้น้อย และต้องอาศัยความสมัครใจ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องมีส่วนร่วมจ่ายสมทบ (ในเบื้องต้นนี้ เสนอให้รัฐบาลรับภาระอย่างน้อย 50% ของค่าใช้จ่ายของโครงการที่ให้ชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐาน)
ในกรณีที่รัฐบาลจ่ายสมทบ 50100 บาท/คน/เดือน (ประมาณ 6001,200 บาท/คน/ปี หรือประมาณหนึ่งถึงสองในสามของเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายให้ผู้มีสิทธิประกัน สังคมส่วนที่ไม่รวมค่ารักษาพยาบาล คือ 1,7002,000 บาท/คน/ปี) ในช่วงสองถึงสามปีแรก รัฐบาลจะยังมีภาระทางการเงินไม่มากนัก (ระดับพันล้าน/ปี) ซึ่งต้องใช้เวลา 13 ปีก่อนที่จะมีประชาชนจำนวนมากสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ และควรปรับเปลี่ยนชุดสิทธิประโยชน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ถึงแม้ว่าการสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับประชาชนทั้งประเทศมีแนวโน้ม ที่จะทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่การละเลยคนกลุ่มนี้ ในสภาวการณ์ที่มีความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงในสังคมไทย โดยประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีความเชื่อว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจกับ พวกเขามากเท่ารัฐบาลในอดีต ก็มีโอกาสที่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง ขึ้นได้ในอนาคต
นอกจากโครงการนี้จะเป็นโครงการที่มีประโยชน์และความจำเป็นในตัวเองแล้ว โครงการนี้น่าจะมีจุดขายทางการเมืองทั้งต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากโครงการโดยตรง และต่อกลุ่มผู้ที่มีเศรษฐกิจฐานะดีที่ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาความขัด แย้งในสังคมในปัจจุบันอีกด้วย.