ม.ท สรุปสถานการณ์อุทกภัยและภัยหนาว’53
มหาดไทยระบุน้ำยังคงท่วม 13 จว. 55 อ. 2,881 หมู่บ้าน 8.2 แสนคน คาดพื้นที่เกษตรเสียหาย 6.3 ล้านไร่ คลี่คลายและอยู่ระหว่างฟื้นฟู 26 จว. เตือนภัยชุมพรปริมาณน้ำฝนเกิน 99 มม. เชียงใหม่อุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลง โดยอุณภูมิลงลง 1-2 องศา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่น ๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2553 ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกเพิ่มขึ้นกับฝนตกหนักในบางแห่งและคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือด้วย
-จังหวัดที่ปริมาณน้ำฝนเกิน 90.00 มม. มี 1 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร
-จังหวัดที่มีอุณภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส มี 1 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่
กระทรวงมหาดไทย สรุปสถานการณ์อุทกภัยและภัยหนาวที่เกิดขึ้น รวมทั้ง การให้ความช่วยเหลือราษฎร ดังนี้
1.สรุปสถานการณ์อุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม-14 พฤศจิกายน 2553)
-ปัจจุบัน มีสถานการณ์อุทกภัย 2 พื้นที่
1) ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
2)ภาคใต้
-ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2553 ถึงปัจจุบัน จังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย มี 13 จังหวัด 55 อำเภอ 427 ตำบล 4,881 หมู่บ้าน ราษฏรได้รับความเดือดร้อน 234,383 ครัวเรือน 820,941 คน พื้นที่ทำการเกษตรคาดว่าเสียหาย 6,316,156 ไร่ ได้แก่ จังหวัดศรีษะเกษ สุรินทร์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นนทบุรี และปทุมธานี
-จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู มี 26 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ ระยอง จันทบุรี ตราด ตาก ชลบุรี ลำพูน เชียงใหม่ สระแก้ว นครนายก กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ปราจีนบุรี สมุทรปราการ นครปฐม อุทัยธานี บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง ชัยภูมิ นครสวรรค์ นครราชศรีมา ลพบุรี และสิงห์บุรี
-ผู้เสียชีวิต 152 ราย รวม 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 32 ราย บุรีรัมย์ 6 ราย ลพบุรี 18 ราย ขอนแก่น 5 ราย ระยอง 1 ราย ตราด 1 ราย สระแก้ว 1 ราย ชัยภูมิ 7 ราย สระบุรี 4 ราย นครสวรรค์ 15 ราย อุทัยธานี 1 ราย ชัยนาท 3 ราย นนทบุรี 7 ราย กำแพงเพชร 6 ราย สุพรรณบุรี 8 ราย พิจิตร 1 ราย ปทุมธานี 3 ราย พระนครศรีอยุธยา 21 ราย เพชรบูรณ์ 2 ราย และสิงห์บุรี 10 ราย
จังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์ มีดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 7 จังหวัด ดังนี้
1)จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
2)จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
3)จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 6 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
4)จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
5)จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
6)จังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
7)จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 อำเภอ 2 เทศบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
ภาคกลาง มี 6 จังหวัด ดังนี้
8)จังหวัดชัยนาท ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
9)จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
10)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 13 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
11)จังหวัดสระบุรี ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 1 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
12)จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
13)จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันมีสถานการณ์ในพื้นที่ 7 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
-สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ถึงปัจจุบัน
จังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยมี 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง
จังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างฟื้นฟู มี 8 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดสตูล นราธิวาส ยะลา กระบี่ ชุมพร ระนอง ปัตตานี และตรัง
-ผู้เสียชีวิต 72 ราย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา 35ราย สตูล 2 ราย สุราษฎร์ธานี 7 ราย (เพิ่ม 1 ราย) ปัตตานี 5 ราย พัทลุง 7 ราย ชุมพร 2 ราย ตรัง 4 ราย และนครศรีธรรมราช 10 ราย
1) จังหวัดสงขลา มีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
2) จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีสถานการณ์อุทกภัยใน 17 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
3) จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสถานการณ์อุทกภัยใน 18 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
4) จังหวัดพัทลุง มีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 อำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว
2.การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน
1) กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ประสบภัยอย่างใกล้ชิด โดยให้จังหวัด ศูนย์ป้องกันสาธารณภัยเขตต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ราษฎรที่ประสบอุทกภัยโดยเร่งด่วน และเตรียมพร้อมพร้อมฟื้นฟูเยียวยาภายหลังน้ำลด ต่อไป
2) กรมชลประทาน เตรียมเครื่องสูบน้ำ 1,200 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามจังหวัดต่าง ๆ ปัจจุบันให้การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 653 เครื่อง ในพื้นที่ 38 จังหวัด
3) กองทัพไทย ส่งกำลังพล 5 หน่วยงาน จัดส่งยุทโธปกรณ์ให้ความช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัยใน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และส่งกำลังพล 4 หน่วยงาน จัดส่งยุทโธปกรณ์ให้ความช่วยเหลือจัดหวัดที่ประสบภัยในภาคใต้ ด้วยแล้ว
4) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรภาค 1,3,5 และ 6 ร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
3.สิ่งของพระราชทาน
(1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ได้รับความเดือดร้อน ได้พระราชทานถุงยังชีพให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปมอบให้แก่ราษฎรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น มนพื้นที่ 26 จังหวัด
(2) สำนักบรรเทาทุกข์และประชานามัย สภากาชาดไทย นำชุดธารน้ำใจพระราชทาน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 43 จังหวัด รวม 129,622 ชุด น้ำดื่ม 11,014,320 ขวด ผ้าห่ม 1,200 ผืน เสื้อกันหนาว 1,000 ตัว แก๊สหุงต้ม 50 ชุด รถผลิตน้ำดื่ม 3 คัน เรือท้องแบน 4 ลำ และแจกจ่ายอาหาร 2,500 ชุดต่อวัน
(3)กองพระวรชายาฯ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้ผู้แทนพระองค์เดินทางไปมอบถุงพระราชทานแก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยใน 21 จังหวัด จำนวน 18,350 ชุด นมเม็ดจิตรลดา 700 ลัง ส้วมสำเร็จรูป 600 ชุด และจังหวัดอุบลราชธานี เพชรบูรณ์ “ครัวสายใยรักแห่งครอบครัวในพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯเพื่อผู้ประสบภัยพิบัติ”ประกอบอาหารสำเร็จรูปแจกจ่าย พร้อมนำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ผู้ประสบภัยด้วยแล้ว
(4)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ)และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยากสภากาดไทย ทรงให้ผู้แทนพระองค์ เดินทางไปมองถุงพระราชทานแก่ราษฎรพระราชทานแก่ราษฏรที่ประสบภัยในพื้นที่ 11 จังหวัด จำนวน 17,102 ชุด อาหารกล่อง 3,500 กล่อง
-สถานการณ์ภัยหนาว
ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 – ปัจจุบัน มีพื้นที่ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) 13 จังหวัด 134 อำเภอ 1,225 ตำบล 14,260 หมู่บ้าน ดังนี้
ภาคเหนือ มี 7 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน เชียงราย และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 6 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดอุดรธานี สกลนคร เลย ขอนแก่น นครพนม และหนองคาย
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้ทุกพื้นที่เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากสภาวะฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงในอ่าวไทย อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ในระหว่างวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2553 และได้ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา เขต 18 ภูเก็ต และจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในเขตความรับผิดชอบ โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตอลด 24 ชั่วโมง รวมทั้ง เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์
ภาพประกอบจาก http://www.dektube.com/action/viewarticle/3876/