โครงการหมอไร้พรหมแดน รณรงค์ "สหภาพยุโรป หยุดแย่งยาพวกเราซะที"
วานนี้ (10 ต.ค. 53) ที่เมืองบรัสเซล, นิวเดลี ประเทศอินเดีย ขณะ ที่สหภาพยุโรปกำลังจะเจรจาการค้าทวิภาคี (เอฟทีเอ) กับอินเดีย พร้อมกันนั้นเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯอินเดียได้ประท้วงการเจรจาดังกล่าวทำให้ มีผู้ชุมนุมหลายคนถูกจับกุมและถูกตำรวจทำร้ายร่างกาย, ในวันนี้ องค์การหมอไร้พรมแดนซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรมได้ เริ่มเปิดตัวการรณรงค์ระดับโลกเตือนสติสหภาพยุโรปให้หยุดการกระทำทุกวิถีทาง ที่จะเป็นบ่อนทำลายการเข้าถึงยาของประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
“ในฐานะที่เป็นหมอ พวกเราพึ่งพายาราคาถูกที่ผลิตในอินเดียทำให้พวกเราสามารถรักษาผู้ป่วยของเรา ได้ เราซื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี/เอดส์กว่าร้อยละ 80 จากอินเดียเพื่อรักษาคนไข้ 160,000 คนให้มีชีวิตอยู่ได้” นายแพทย์อูนนิ คารุนาคารา (Dr.Unni Karunakara) ประธานองค์การหมอไร้พรมแดนนานาชาติกล่าว “ในนามของคนไข้ทุกคน เราไม่สามารถนิ่งเฉยทนเห็นรัฐบาลสหภาพยุโรปปิดประตูการเข้าถึงยาทุกหนทาง ไม่ว่าจะเป็น การผลิตยาชื่อสามัญ, การขึ้นทะเบียนยา, การขนส่งยาเพื่อไปถึงมือประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น วันนี้เราจึง เปิดตัวการรณรงค์ระดับโลก เพื่อจะส่งเสียงดังและชัดเจนว่า ‘Europe! HANDS OFF our medicine.’ “สหภาพยุโรป หยุดแย่งยาจากพวกเราซะที”การ เจรจาเอฟทีเอระหว่างอินเดียและสหภาพยุโรปเป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธีที่สหภาพ ยุโรปใช้โจมตียาชื่อสามัญ เช่นเดียวกับเอฟทีเอที่สหภาพยุโรปกำลังเจรจากับอีกหลายประเทศ สหภาพยุโรปกำลังบ่อนทำลายการผลิตยาชื่อสามัญที่ปลอดภัย มีคุณภาพทัดเทียมและมีราคาถูกด้วยการกดดันให้ประเทศคู่เจรจาต้องยกระดับการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากกว่าไปที่กฎหมายระหว่างประเทศกำหนด ไว้ สหภาพยุโรปเป็นหัวโจกหลักในการเจรจาอย่างลับๆในความตกลงทางการค้าด้านสินค้า ปลอมแปลง (Anti-Counterfeiting Trade Agreement (ACTA)) ซึ่งจะมีกลไกและมาตรการต่างๆที่จะจำกัดการผลิตยาชื่อสามัญ
จนถึงขณะ นี้มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้แล้ว: ด้วยระเบียบศุลกากรของสหภาพยุโรป ยาชื่อสามัญที่ถูกกฎหมายถูกกักที่ท่าเรือในสหภาพยุโรประหว่างการจัดส่งไป ประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากมีชีวิตเหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้ายเมื่อขาดยาจำเป็น
“สิ่ง ที่สหภาพยุโรปกำลังทำอย่างได้ผลคือการแย่งยาช่วยชีวิตไปจากมือของพวกเรา” แพทย์หญิงมาเรียส มูลเลอร์ (Dr. Marius Müller) ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ขององค์การหมอไร้พรมแดนขเคนย่า “เพราะยาชื่อสามัญมีราคาถูกกว่า ทำให้เราสามารถรักษาคนไข้เอดส์และผู้ติดเชื้อฯได้ มันเป็นความหวังที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาที่จะกลับไปทำงาน เลี้ยงดูลูกๆของพวกเขาอีกครั้ง แต่ถ้าสหภาพยุโรปเดินหน้านโยบายดังกล่าวซึ่งคือการปิดการผลิตยาราคาถูกเหล่า นี้ เท่ากับว่าเรากำลังเสี่ยงที่จะทำลายความสำเร็จตลอด 5 ปี ที่เราสู้กับโรคเอดส์มา”
จากงานศึกษาล่าสุดพบว่า ในปี 2008 เกือบร้อยละ 90 ของยาต้านไวรัสเอชไอวีเอดส์ที่องค์กรผู้บริจาคทั่วโลกใช้อยู่ ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลประเทศยุโรปเอง เป็นยาชื่อสามัญที่ผลิตจากอินเดียทั้งสิ้น การผิดแหล่งผลิตยาชื่อสามัญเหล่านี้จะเป็นความหายนะของผู้คนนับล้านที่รอคอย ยาช่วยชีวิต
“มีความชัดเจนมากที่สหภาพยุโรปใช้ทุกโอกาสที่มีในการ ปิด ทางการเข้าถึงยาชื่อสามัญของคนในประเทศกำลังพัฒนา” นางมิเชล ไชด์ส (Michelle Childs) ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์เข้าถึงยาจำเป็น องค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว “พวกเราร่วมมือกับภาคประชาสังคมทั่วโลกขอเรียกร้องให้สหภาพยุโรปยุติการ กระทำดังกล่าวทันที และขอให้ทุกคนไม่ว่าคุณจะอยู่มุมใดของโลกร่วมสนับสนุนการรณรงค์ของเรา โดยไปที่ https://action.msf.org/en_CH และร่วมกันส่งข้อความถึงนายคาเรล เดอ กุช (Karel De Gucht) ประธานคณะกรรมาธิการการค้าของยุโรปให้หยุดแย่งยาจากพวกเราซะที”
ภาพประกอบจาก : http://gotoknow.org/blog/frxbaby/319710