ยกร่าง กม.คุ้มครองสื่อ รับข้อเสนอปรับลดสัดส่วน กก.ที่เป็น ‘เจ้าของสื่อ’
‘มานิจ’ หวั่นหากสภาล่มต้องนับหนึ่งใหม่ ด้าน ‘จักร์กฤษ’ แจงเดินหน้าขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. ฯ ตามเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ทิ้งข้อเสนอเพิ่มเติม พร้อมรับพิจารณาต่อ
ภายหลังที่ คณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่เป็นกฎหมายขยายความมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเป็นผู้ร่วมกันพิจารณารวมและยกร่าง เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็น และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา โดยมี นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี คณะทำงานยกร่างฯ นำเสนอเนื้อหาสำคัญของร่างฯ และนายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะทำงานยกร่างฯ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ นายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น และนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา หัวหน้าข่าวหน้า 1 นสพ.เดลินิวส์ ร่วมแสดงความเห็นต่อร่างฯ
นายมานิจ กล่าวถึงการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างฯ ในครั้งนี้ว่า หลักๆ เป็นข้อเสนอในเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้ที่ไม่ควรมีเจ้าของสื่อมาอยู่มากเกินไป อีกทั้งเรื่องที่มาของเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ทางกรรมการร่างฯ ได้มีการบันทึกข้อคิดเห็นไว้แล้ว
“สัดส่วนของคณะกรรมการที่เป็นเจ้าสื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ไม่ควรมากถึง 4 คน ส่วนข้อเสนอไม่รับเงินอุดหนุนจากทางรัฐบาลนั้นก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าหากไม่รับ จะนำเงินส่วนไหนมาสนับสนุนการทำงาน” นายมานิจ กล่าวและว่า กว่าที่ร่างฯ ฉบับนี้จะเสร็จสิ้น ยังต้องผ่านการแก้ไขอีกหลายขั้นตอน ทั้งในส่วนของกฤษฎีกา และกรรมาธิการสภาผู้แทนในกรณีถ้าได้เข้าสภา จึงไม่สามารถคาดหวังได้ว่าหน้าตาของร่างฯ จะเป็นไปตามเดิม
“ขณะนี้ยังห่วงว่าอาจต้องมานั่งนับหนึ่งกันใหม่ เพราะไม่แน่นอนว่าร่างฯ ฉบับนี้จะได้เข้าสภาทันหรือไม่ เนื่องจากข่าวคราวการยุบสภายังเป็นที่คลุมเครือ”
ด้านนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานกรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา กล่าวว่า ประเด็นที่ชัดที่สุดที่กรรมการร่างฯ กับผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องต้องกัน คือ สัดส่วนของคณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้ ที่อาจจะมีตัวแทนของฝ่ายเจ้าของสื่อมากกว่าตัวแทนฝ่ายอื่นๆ ซึ่งทางคณะกรรมการร่างฯ ค่อนข้างเห็นด้วย และคงต้องทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า สัดส่วนของกรรมการจะเฉลี่ยให้ทั่วทุกภาคส่วนอย่างไร
ทั้งนี้มีข้อเสนอจากผู้ร่วมประชุม ให้กลับไปพิจารณาในแรกเริ่มว่า ควรมีกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ โดยผู้ที่เสนอ เห็นว่าตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในมาตรา 46 ให้รับรองสิทธิเสรีภาพน่าจะบังคับใช้ได้ และในขณะเดียวกันองค์กรสื่อที่มีอยู่ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สภาวิทยุโทรทัศน์ สมาคมนักข่าววิทยุ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยน่าจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งในจริยธรรมของสมาชิกได้อย่างพอเพียงแล้ว
ซึ่งในกรณีนี้ นายจักร์กฤษ กล่าวว่า ทางกรรมการร่างฯ เห็นว่าที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงส่วนใหญ่มาทั่วประเทศ และเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้คัดค้านให้มีร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น ทางกรรมการร่างฯ คงต้องพิจารณาตามเสียงส่วนใหญ่ที่รับฟังความคิดเห็นมา
อย่างไรก็ตาม นายจักร์กฤษ กล่าวว่า ความเห็นที่เสนอในที่ประชุมวันนี้ก็จะประมวล รวบรวม และสรุป จากนั้นทางศูนย์กฎหมายฯ จะพิจารณาในแง่ของรายละเอียด และทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการที่จะดูว่าจะเดินหน้า ขับเคลื่อน ยกเลิก ตัดทอนในส่วนไหน และอย่างไร
กก.ยกร่าง กม.คุ้มครองสื่อ รับข้อเสนอปรับลดสัดส่วน คกก.ที่เป็น ‘เจ้าของสื่อ’
‘มานิช’ หวั่นหากสภาล่มต้องนับหนึ่งใหม่ ด้าน ‘จักร์กฤษ’ แจงเดินหน้าขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ. ฯ ตามเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ทิ้งข้อเสนอเพิ่มเติม พร้อมรับพิจารณาต่อ
ภายหลังที่ คณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่เป็นกฎหมายขยายความมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพสื่อเป็นผู้ร่วมกันพิจารณารวมและยกร่าง เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ในการเสนอข่าวและการแสดงความคิดเห็น และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และส่งเสริมมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา โดยมี นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี คณะทำงานยกร่างฯ นำเสนอเนื้อหาสำคัญของร่างฯ และนายมานิจ สุขสมจิตร ประธานคณะทำงานยกร่างฯ นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ นายสุทธิชัย หยุ่น บรรณาธิการอำนวยการ เครือเนชั่น และนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา หัวหน้าข่าวหน้า 1 นสพ.เดลินิวส์ ร่วมแสดงความเห็นต่อร่างฯ
นายมานิจ กล่าวถึงการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างฯ ในครั้งนี้ว่า หลักๆ เป็นข้อเสนอในเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้ที่ไม่ควรมีเจ้าของสื่อมาอยู่มากเกินไป อีกทั้งเรื่องที่มาของเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ทางกรรมการร่างฯ ได้มีการบันทึกข้อคิดเห็นไว้แล้ว
“สัดส่วนของคณะกรรมการที่เป็นเจ้าสื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ไม่ควรมากถึง 4 คน ส่วนข้อเสนอไม่รับเงินอุดหนุนจากทางรัฐบาลนั้นก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าหากไม่รับ จะนำเงินส่วนไหนมาสนับสนุนการทำงาน” นายมานิจ กล่าวและว่า กว่าที่ร่างฯ ฉบับนี้จะเสร็จสิ้น ยังต้องผ่านการแก้ไขอีกหลายขั้นตอน ทั้งในส่วนของกฤษฎีกา และกรรมาธิการสภาผู้แทนในกรณีถ้าได้เข้าสภา จึงไม่สามารถคาดหวังได้ว่าหน้าตาของร่างฯ จะเป็นไปตามเดิม
“ขณะนี้ยังห่วงว่าอาจต้องมานั่งนับหนึ่งกันใหม่ เพราะไม่แน่นอนว่าร่างฯ ฉบับนี้จะได้เข้าสภาทันหรือไม่ เนื่องจากข่าวคราวการยุบสภายังเป็นที่คลุมเครือ”
ด้านนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานกรรมการศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน สถาบันอิศรา กล่าวว่า ประเด็นที่ชัดที่สุดที่กรรมการร่างฯ กับผู้เข้าร่วมประชุมเห็นพ้องต้องกัน คือ สัดส่วนของคณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้ ที่อาจจะมีตัวแทนของฝ่ายเจ้าของสื่อมากกว่าตัวแทนฝ่ายอื่นๆ ซึ่งทางคณะกรรมการร่างฯ ค่อนข้างเห็นด้วย และคงต้องทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า สัดส่วนของกรรมการจะเฉลี่ยให้ทั่วทุกภาคส่วนอย่างไร
ทั้งนี้มีข้อเสนอจากผู้ร่วมประชุม ให้กลับไปพิจารณาในแรกเริ่มว่า ควรมีกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ โดยผู้ที่เสนอ เห็นว่าตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในมาตรา 46 ให้รับรองสิทธิเสรีภาพน่าจะบังคับใช้ได้ และในขณะเดียวกันองค์กรสื่อที่มีอยู่ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สภาวิทยุโทรทัศน์ สมาคมนักข่าววิทยุ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยน่าจะสามารถสร้างความแข็งแกร่งในจริยธรรมของสมาชิกได้อย่างพอเพียงแล้ว
ซึ่งในกรณีนี้ นายจักร์กฤษ กล่าวว่า ทางกรรมการร่างฯ เห็นว่าที่ผ่านมาได้รับฟังเสียงส่วนใหญ่มาทั่วประเทศ และเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้คัดค้านให้มีร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น ทางกรรมการร่างฯ คงต้องพิจารณาตามเสียงส่วนใหญ่ที่รับฟังความคิดเห็นมา
อย่างไรก็ตาม นายจักร์กฤษ กล่าวว่า ความเห็นที่เสนอในที่ประชุมวันนี้ก็จะประมวล รวบรวม และสรุป จากนั้นทางศูนย์กฎหมายฯ จะพิจารณาในแง่ของรายละเอียด และทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการที่จะดูว่าจะเดินหน้า ขับเคลื่อน ยกเลิก ตัดทอนในส่วนไหน และอย่างไร