ไอซีทีย้ำยุทธศาสตร์ 6 ข้อ นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ
หวังให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน คำนึงถึงเทคโนโลยีใหม่ที่จะใช้ในอนาคต ด้านกทช.รอศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเดินหน้า 3จี ชี้หากมี 3จีประชาชนมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในทุกพื้นที่ เนคเทคมองการใช้จำนวนมากจะเปลี่ยนรูปแบบทางการค้า ควรจะคิดแนวทางการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วันที่ 4 พฤศจิกายน คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา จัดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็น ”นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ความสามารถด้าน ICT เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม" ณ โรงแรมเรดิสัน โดยจะมีการนำความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติต่อไป
ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที กล่าวถึงนโยบายด้านบรอดแบนด์แห่งชาติตามแนวทางการที่ไอซีทีกำหนด มีประมาณ 6 ด้าน 1.กำหนด ให้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเช่นเดียวกับไฟฟ้าหรือน้ำประปา และเปิดให้มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ทั้งหน่วยรัฐและเอกชน 2. ลดช่องว่างการเข้าถึงสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี ของประชาชนชนบท 3. รัฐและเอกชนต้องมีความเสมอภาพที่ในการให้บริการ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน 4. การลงทุนด้านโครงข่ายจะต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการใช้งานร่วมกันลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน เพราะเทคโนโลยีต่างๆมีการนำเข้าจากต่างประเทศ 5. การเชื่อมต่อโครงข่ายต่างประเทศ หรือตำแหน่งดาวเทียมเชื่อมต่อในพื้นที่ต่างๆ โดยเน้นมีในเรื่องความั่นคงและความปลอดภัย และ 6. โครงข่ายอินเทอร์เน็ตวามความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีแบบมีสายและไร้สายก็ได้
ที่ปรึกษา รมว.ไอซีที กล่าวว่า นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นมาอนาคตอย่าง IPV6 ที่ สามารถรับส่งข้อมูลได้จำนวนมหาศาลโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดที่มีอยู่จะต้อง สามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกโครงข่ายไม่ว่า จะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือ โทรศัพท์พื้นฐาน
กทช.ให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพสร้างแรงจูงใจ
ขณะที่ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กล่าวว่า นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ ทางรัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพ พร้อมกับเปิดโอกาสให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการได้มีการโอกาสเข้ามาร่วมกำหนดเป้าหมาย พร้อมกับแนวทางการในการดำเนินการร่วมกัน โดยรัฐบาลควรจะสร้างแรงจูงใจและสิทธิพิเศษต่างๆ เอกชนที่ต้องการจะเข้าลงทุน ด้วยมาตรการภาษี เพื่อให้เกิดการลงทุน เพราะโครงการนี้จะต้องใช้ประมาณจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการงานของกทช.ที่ผ่านมามีการกำหนด กฎเกณฑ์ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกทช.เข้าไปให้บริการสาธารณะในท้องถิ่นห่างไกล โดยให้ประชาชนที่อยู่พื้นที่ต่างมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยี โครงการระยะแรกเป็นการติดตั้งโครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลในชนบท ส่วนโครงการระยะ2 จะให้ผู้ประกอบการดำเนินการติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นความสร้างเท่าเทียมกันระหว่างคนชนบทและในเมือง
ดร.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หากโครงการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ไม่ล้ม คาดว่าประชาชนจะมีโอกาสเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยโครงการนี้อยู่ในระหว่างการรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ากทช.จะสามารถ ดำเนินการต่อไปหรือ จากก่อนหน้าศาลปกครองได้มีการสั่งให้ระงับโครงการไป
"การใช้โครงข่ายโทรคมนาคมสามารถนำไปใช้ในกิจการต่างๆ เช่น โครงการการแพทย์ทางไกลหรือเทเลเมดิซิน ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลคนไข้มะเร็งกับโรงพยาบาลในส่วนกลาง ซึ่งกทช.ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดทางภาคอีสาน เชื่อมโยงกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เพื่อดำเนินการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นจำนวนมากในแถบอีสาน ส่วนของธุรกิจมีการนำมาใช้กับธุรกรรมทางการเงิน และถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนผู้ประกอบการเอกชน กทช.ได้มีการออกกฎเกณฑ์การใช้โครงข่ายร่วมกัน เพื่อให้เอกชนรายย่อย ที่ไม่เงินลงทุนสามารถเข้ามาใช้โครงข่ายของผู้ประกอบการรายใหญ่ได้" ประธาน กทช. กล่าว และว่า นอกจากนี้ควรจะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อโครงการมีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน โดยกทช.ได้มอบเงินสนับสนุนให้กับกระทรวงศึกษาธิการประมาณ 70 ล้านบาท นำร่องการติดตั้งระบบอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสารในโรงเรียน
เนคเทคมองจะมีการเปลี่ยนรูปแบบการค้า
ส่วนดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) กล่าวถึงการใช้อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้งานประมาณ30-40% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งการลงทุนโครงข่ายจะช่วยลดช่องว่างลงมาให้เหลือ50% ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นคือรูปแบบการค้าสมัยใหม่ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทั้งนี้จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายโครงสร้างการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1. จะต้องมีการลงทุนโครงข่ายหลักแบคล์โบนให้สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายย่อยในท้องถิ่นต่างๆได้ 2. ปลายทางที่จะเข้าไปยังบ้านเรือน ควรจะมีการนำเทคโนโลยีไร้สายเข้ามาใช้ และ 3. วงจรต่างประเทศควรจะมีราคาถูกเปิดโอกาสให้ผู้ประกบการทุกรายสามารถดำเนินการได้อย่างเท่าเทียมกัน พร้อมกับให้องค์กรบริหารส่วนตำบลเข้ามาเป็นแกนนำให้ชุมชนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
"ในส่วนของเอกชนควรจะมีการสร้างเนื้อหาและบริการสร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถใช้ได้ตลอดเวลากับหลายบริการโดยไม่กำจัดเวลาและภาษาที่จะมีการใช้งาน ขณะที่เนคเทคกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์เครื่องมือค้นหาเพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น"
เอกชนเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน
สุดท้ายนายวิชัย เบญจรงคกุล นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการกำหนดนโยบายบรอดแบนด์ควรจะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุน หากให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการฝ่ายเดียวคงไม่สามารถดำเนินการได้เร็ว เพราะโทรคมนาคมเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก พันธ์สัญญากับต่างประเทศที่ต้องเปิดประเทศ ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมาย ที่จะมีการรวมเทคโนโลยีระหว่างโทรคมนาคมกับบรอดแคส