ภาค ปชช.จี้รัฐเลิกพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ขัด รธน.ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
ภาคประชาชนค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ระบุสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ การจำกัดเสรีภาพการชุมนุมตาม พ.ร.บ. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
เมื่อเร็วๆนี้ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดเวทีสาธารณะ "ข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ" ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีภาคประชาชนหลายเครือข่ายเข้าร่วม
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอไปเมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นผลทำให้ภาคประชาชน นักวิชาการ มีความกังวลและไม่เห็นด้วยต่อพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะดังกล่าว
สถานการณ์ตอนนี้ ที่มีในรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องมีกฎหมายเรื่องการชุมนุมสาธารณะหรือไม่
จินตนา แก้วขาว กลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูด กล่าวว่า จากการจัดการการชุมนุมทางการเมือง อยากจัดการสองสี แต่จัดการไม่ได้ การยกกฎหมายนี้มาเพื่อจัดการคนสองสีนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ที่สุดแล้วมีคนที่มีศักยภาพอยู่เบื้องหลัง กฎหมายนี้จึงจัดการได้เฉพาะกับกลุ่มเล็กๆที่ออกมาใช้สิทธิ การแบ่งพื้นที่การชุมนุม เช่น จ.ประจวบฯ มี 6กลุ่ม แบ่งกันไป จะเอาอะไรมาวัดว่าสถานการณ์ไหนเกิดการวุ่นวาย ถ้าเกิดการวุ่นวาย เจ้าหน้าที่สามารถสั่งให้หยุดการชุมนุมได้ อะไรวัดว่าเกิดการวุ่นวายการชุมนุมของชาวบ้าน ไม่มีใครมานั่งพับเพียบ ทุกคนใช้เสียงเดินไปมา เอาอะไรมาบอกว่าเรียบร้อยไม่เรียบร้อย ไม่ควรมีในภาคประชาชนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิที่ทำกิน ต้องแยกจากการชุมนุมทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงโดยมีกรอบของการปกครองเป็นตัวตั้ง
ทั้งนี้เราถูกลิดรอนสิทธิเรื่องสถานที่การชุมนุม เช่น การจะไปชุมนุมเรื่องถมดินเราก็ต้องไปชุมนุมที่สถานที่จะขุดดินถมดิน ไม่ควรต้องมีการขออนุญาต รัฐธรรมนูญมีกรอบอยู่แล้ว กฎหมายอาญาก็มีอยู่แล้ว ถ้ามีการทำผิดก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายนี้ ถ้าจำเป็นต้องเลือกเฉพาะกลุ่ม
บารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน กล่าวว่า 1.เวลาดูกฎหมายไม่ควรดูกฎหมายนี้อย่างเดียว ควรดูคู่กับกฎหมายอื่นด้วย เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ วิทยุกระจายเสียง เป็นบางอย่างของรัฐที่ต้องการให้อยู่ในความสงบ ประชาชนทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในรัฐ รัฐจึงต้องการควบคุม 2.กฎหมายนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อคนชั้นกลาง เอารัดเอาเปรียบทางชนชั้น ไปทำความเดือดร้อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความเดือดร้อนของ กทม. โดยไม่คำนึงว่าคนกทม. นี้เป็นการเอารัดเอาเปรียบ ขูดรีด แย่งชิงทรัพยากรจากชนชั้นล่าง เมื่อคนชั้นล่างถูกแย่งชิง เดือดร้อนเข้ามาขอใช้สิทธิชุมชน คนชั้นกลางก็ออกมาโวยวาย ในขณะที่เราต้องถูกไล่ ถูกตี ถูกจับ ถูกกระทำจากรัฐ โดยให้คนชั้นกลางได้รับประโยชน์ มองให้เห็นถึงการเอาเปรียบทางชนชั้น 3.เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการข่มขู่ คุกคาม ของเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมเป็นเรื่องใหญ่ นอกจากข่มขู่แล้วอาจเป็นการเรียกรับผลประโยชน์ด้วย 4.เป็นการลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการชุมนุมตาม รธน. เรายังไม่มีเสรีภาพในการชุมนุมโดนจำกัดมาโดยตลอด สิทธิเสรีภาพที่เราควรได้รับเมื่อมาชุมนุม เช่น ห้องน้ำ เต้นท์ เราถูกกีดกัน เมื่อเรามาชุมนุม มีเจ้าหน้าที่เข้าพื้นทีติดตามแกนนำ ข่มขู่แกนนำ ไม่ให้มาชุมนุม ไม่ได้รับการคุ้มครองเลย แต่กลับมาออกกฎหมาย 5.เป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ใช้ประโยชน์ในการสลายการชุมนุม อะไรจะวัดว่าขนาดไหนจะสลายการชุมนุมได้ ทั้งทหารและตำรวจไม่มีประสิทธิภาพในการสลายการชุมุนม การสลายการชุมนุมตาม ระบบสากลกว่าเขาจะฉีดน้ำ พ่นแก๊สน้ำตา ใช้เวลาเป็นครึ่งวัน มีการแจ้ง ของเราใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที ใช้ฉีดน้ำจนถึงการยิงตาย มีตำรวจเคยพูดว่าทำอย่างไรที่จะสลายการชุมนุมแล้วไม่ต้องรับผิด ผมคิดว่าการจะสลายการชุมนุมต้องมีประสิทธิภาพควรมีการดำเนินการเรื่องนี้ก่อน ต้องไม่ลิดรอนเสรีภาพในการชุมนุม พ.ร.บ.ส่งเสริมเสรีภาพในการชุมุนม 6.การที่กรรมการสิทธิฯชุดปัจจุบันออกมาสนับสนุนกฎหมายนี้ใช้ไม่ได้ กสม.ควรสนับสนุนเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพตาม รธน. นายบารมีกล่าว
มงคล สมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า"เครื่องมือหนึ่งของกรรมกรคือการเรียกร้อง การชุมนุม กฎหมายนี้เหมาะกับประเทศ ปัจจุบันที่ใช้ พรก.ก็ยังจัดการกับการชุมนุมที่มีอยู่ไม่ได้ การมีกฎหมายหลายตัวมากที่เล่นงานการชุมนุมอยู่แล้ว และการที่จะต้องมีการแจ้งก่อนการชุมนุม เช่น การจะประท้วงสำนักงานตำรวจแล้วเจ้าหน้าที่จะอนุญาตหรือไม่ เป็นการที่ไม่ใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม ต้องขอศาล แล้วให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ว่าจะอนุญาตให้ชุมนุมหรือไม่ ผมไม่รู้ว่าศาลจะมีกระบวนการกลั่นกรองที่ลิดรอนสิทธิของพวกเราหรือไม่
หากออกกฎหมายมาเพื่อกำจัดแกนนำโดยเฉพาะ ฉะนั้นผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่ตามกฎหมายนี้ ถ้าไม่ทำก็จะมีความผิด ทั้งนี้มันกระทบต่อแรงงานอย่างแน่นอน การเรียกร้องเชิงนโยบายก็ไม่ได้ เรียกร้องในโรงงานหรือตามที่ สาธารณะก็ไม่ได้ แล้วเราจไปเรียกร้องที่ไหน"มงคลกล่าว.
นายสมศักดิ์ สุขยอด สหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวถึงกฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญว่า ไม่เห็นด้วยกับกม.นี้ ซึ่งขัด รธน.แต่เรื่องการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เราเห็นด้วยว่าไม่ควรเกิดความรุนแรง กฎหมายดังกล่าวถือว่าหนักกว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธที่ต้องแจ้งก่อน 24 ชั่วโมง อย่างเช่น กรณีนายจ้างกำลังขนย้ายเครื่องจักร แล้วลูกจ้างจะมาชุมนุม กว่าจะขออนุญาตก็ไม่ทันกับเหตุการณ์ กรณีเกษตรกร ประชาชนที่มีปัญหาเรื่องที่ทำกินต้องไปเรียกร้องต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อมีการห้ามมิให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะเช่น สถานทูต แต่คนต่างประเทศมากดขี่ข่มเหงคนไทย รัฐนอกจากไม่สนับสนุนให้มีสิทธิเสรีภาพในการเรียกร้องแล้วยังเปิดโอกาสให้เคนต่างชาติมาทำลายคนไทยด้วย.
สุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ มองว่าสาเหตุการณ์ชุมนุมมีหลายเรื่อง กว่าจะออกจากหมู่บ้านก็ยากอยู่แล้วชาวบ้านเองก็ไม่มีใครอยากชุมนุม ถ้าไม่มีปัญหาจริง สิ่งที่รัฐพยายามมัดมือชก เช่น การที่ชาวบ้านที่อุดรจะมากทม. แจ้งสามวันจะมาอย่างไร การกระจายอำนาจ การตัดสินใจอยู่ที่กระทรวง จังหวัดจะไปชุมนุมที่ศาลากลาง ผู้ว่ารู้ก็หนีแล้ว คนที่คิดกฎหมายนี้ไม่เข้าใจชาวบ้านอย่างแท้จริง เป็นเครื่องมือของทุนในการที่จะจัดการกับชาวบ้านด้วย ผมมองว่ากฎหมายนี้ฝ่ายรัฐต้องพยายามผลักให้ออกแน่ๆจะขยับไปข้างหน้าอย่างไร เราก็ต้องดื้อในการใช้สิทธิของเรา เราต้องใช้สิทธิของเรา
อ.ศิริพรรณ นกสวน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงกฎหมายต้องแยกประเภทว่า การชุมนุมที่เราใช้ผ่านมาเป็นเครื่องมือของเรา เป็นการชุมนุมแบบไทยๆแต่เขากำลังจะใช้กฎหมายต่างประเทศมาใช้กับเรา เป็นปฏิกิริยาตอบโต้ ถ้าอย่างนั้นเราจะสู้กับเขาอย่างไร อย่างไรก็ตามการชุมนุมที่ตอบโต้อำนาจรัฐ การจัดการทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ต่าง ประเทศไม่มี เขาใช้อำนาจศาลได้ แต่ไทยมันมีลักษณะบางอย่างที่การตอบโต้กะทันหัน เราไม่สามารถขออำนาจศาลได้ในการตอบโต้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบ การชุมนุมเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรต้องแยกออกจากกัน ลักษณะและประเภทของการชุมนุมรวมทั้งขอบเขตของอำนาจรัฐ เกิดการตั้งคำถามกับรัฐว่า ถ้าไม่ให้เราชุมนุม จะให้เครื่องมืออะไรกับเราในการเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงฐานทรัพยากรและอื่นๆ เราจะเรียกร้องผ่านช่องทางไหน
การชุมนุมที่ผ่านมา
อรุณ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า "ผมคิดว่ารัฐบาลรู้อยู่แล้วว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่จะใช้กับกลุ่มการเมือง การออกกฎหมายใช้ได้กับทั้งสองฝั่ง ฝ่ายรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนพยายามออกมาตลอด คิดว่าเรื่องนี้เป็นเครื่องมือของฝ่ายรัฐ และฝ่ายปกครองที่จะทำลายเครื่องมือของผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นเครื่องมือเดียวในการใช้เป็นอำนาจต่อรองได้ในขณะนี้การยื่นหนังสือต่อหน่วยงานภาครัฐ สหภาพได้ทำทุกวิถีทางจนถึงจุดๆหนึ่งก็ต้องทำในวิธีที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย กฎหมายนี้จำกัดสิทธิผู้ได้รับผลกรทบโดยตรง คือ สหภาพแรงงาน การกำหนดโทษของผู้จัดการชุมนุม คุณสมบัติของการจัดชุมนุมในปัจจุบันมีฝ่ายตรงข้ามเข้ามา ถ้ามีการแจ้งล่วงหน้าการขัดขวางยิ่งทำได้ง่าย สหภาพก็จะลำบากที่สุด การจัดชุมนุมไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆจะมาจัด ถ้าไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคมสังคมจะตัดสินเอง ไม่จำเป็นไม่ทำไม่อยากให้เครื่องมือนี้ถูกลิดรอน ถูกจำกัดไปอีก"อรุณกล่าว
ชัยณรงค์ จากบ่อนอก เห็นด้วยกับหลายคน ว่าเป็นกฎหมายที่ขี้ขลาดของรัฐบาลนี้เป็นกฎหมายที่น่าอับอาย เราควรจะร่วมกันประณามรัฐบาล คำว่าชุมนุม จะไม่ให้เดือดร้อนเป็นไปไม่ได้ เรายื่นหนังสือถึงทุกหน่วยงานของรัฐแต่ไม่เกิดการแก้ปัญหา แล้วเราก็ต้องชุมนุม เพื่อแสดงออก เป็นสิทธิของคนทุกคน ชาวบ้านเดือดร้อนจึงมาชุมนุมส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านมาชุมนุมก็เพราะรัฐ แล้วรัฐยังจะมาออกกฎหมายมากำหนดบังคับจึงไม่ควร
ไพโรจน์ กล่าวว่า ข้อถกเถียงเรื่องควรมีกฎหมายชุมนุมหรือไม่ ทั้งแวดวงวิชาการ การออกกฎหมายชุมนุม จะแก้ปัญหาการชุมนุมของประเทศไทยหรือไม่ ฝ่ายทื่เห็นว่าควรมี มีความเห็นว่าเรามีการชุมนุมมายาวนานหลายหมื่นครั้ง เป็นวิถีปกติของสังคมประชาธิปไตยที่ควรดำเนินการได้ แต่จุดพลิกผันที่กฎหมายกลายเป็นสิ่งจำเป็นนั้นเป็นการชุมนุมภายในห้าปีที่ผ่านมามาควบคุมการชุมนุมที่เกินเลย ไปคุกคามชีวิตคนอี่น ทรัพย์สินของคนอื่นทำให้เกิดกระแสว่าควงรมีกฎหมายการชุมนุมเพื่อให้การชุมนุมอยู่ในกติกา ทำให้เกิดความต้องการกฎหมายฉบับนี้ พยายามกันมาทุกรัฐบาล ข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นคนที่เห็นว่าไม่ควรจะมีกฎหมายฉบับนี้ จะใช้กำกับการชุมนุมขนาดใหญ่ไม่ได้ กระทบกับประชาชนที่ใช้การชุมนุมเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุกับข้อเรียกร้อง สิทธิเสรีภาพอื่นๆของประชาชนในเครื่องมือที่เรามีอยู่ รธน.พอไหมที่จะดูแลการชุมนุมไม่เลยเถิดกับ มีกฎหมายอื่นอยู่แล้ว คุกคามทรพัยสินชีวิตผู้อื่นก็มีกฎหมายอยู่แล้ว
ทั้งนี้ผมคัดค้านมาตลอดว่าไม่ควรมีกฎหมาย การชุมนุมใช้กระบวนการควบคุม เดิมมีกระบวนการในการตกลง เสนอให้ทำสัตยาบั เป็นเรื่องๆให้สังคมช่วยกำกับ ถ้าเกินเลยจากนี้รัฐจะจัดการได้ หลายๆครั้งเป็นกติกาไม่เปิดเผยกับคนอี้น เรื่องที่สำคัญกว่าคือ ปัญหาอื่น การที่ต้องใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพราะมีปัญหาอื่น หน่วยงานของรัฐไม่สนองตอบกับปัญหาอื่นมากกว่า ไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องการชุมุนม เช่นการชุมนุม สิบวันแล้วมาเจรจากันมาจำกัดเรื่องการชุมนุมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องโยงกับเรื่องอื่นโดยสรุป ยังยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการมีกฎหมาย แต่เห็นด้วยกับการมีกติกา แต่กติกาจะมีแบบไหน มีกติการ่วมกัน เราประกาศกับสาธารณะ เราจะควบคุมกำกับกัน ถ้าเกินเลย ก็มีกฎหมายจัดการได้ คนที่จะดื้อแพ่งต่อกฎหมายฉบับนี้ก็ทำได้ มีคนพร้อมที่จะดื้อแพ่งต่อกฎหมายฉบับนี้อยู่แล้ว ต้องคิดให้กว้าง ต้องวิเคราะห์การชุมนุมทั้งหมดที่ผ่านมา แล้วจะกำกับแบบไหน ต้องศึกษา กฎหมายฉบับนี้มีการศึกษาบทเรียนจากต่าง ประเทศมาก เกือบทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม แต่สิ่งที่ขาดหายไปในกฎหมายฉบับนี้คือ ไม่มีการศึกษาการชุมนุมในประเทศไทย คือจุดอ่อนของที่มาของกฎหมายฉบับนี้
สมศักดิ์ สหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าวว่าการชุมนุมในเขตสาธารณะในหลายจังหวัดมีนิคมอุตสาหกรรมเป็นเขตส่วนบุคคล เมื่อมีปัญหาข้อพิพาทจะออกมาชุมนุม วันนี้ รูปแบบ นิคมเหมราชที่อยู่ภาคตะวันออก นายจ้างเลือกที่จะไม่ดำเนินคดี เคยถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทรัพย์สิน ปัจจุบันนายจ้างไม่ให้นิคมอุตสาหกรรมดำเนินคดีแทน คนแจ้งความไม่ใช่นายจ้างแล้ว เพราะถ้าเป็นนายจ้างเจรจาแล้วมีการยอมความกันได้ นิคมฯจะไม่มีการยอมความ ตั้งกำหนดกฎเกณฑ์ในการเรียกค่าเสียหาย การชุมนุมในที่สาธารณะ ก็จะชุมนุมในนิคมอุตสาหกรรมไม่ได้ เป็นพื้นที่บุคคล ถ้าบางนิคมมอบถนนเส้นนั้นให้อปท. อาจชุมนุมบนถนนนั้นได้ แค่กฎหมายเก่าแพ่งอาญาปัจจุบันก็หนักหนาแล้ว ถ้ามีตัวนี้เพิ่มเติมก็จะหนักเข้าไปใหญ่ กรณีสหภาพแรงงานมิชชลิน ถูกกล่าวหาว่าชุมนุมโดยมีอาวุธ ถือไม้ มีข้อหาว่าใช้อาวุธ อะไรคืออาวุธที่เขาตีความ การที่ถือไม้อยู่ในมือนับว่าเป็นอาวุธหรือไม่
บารมี กล่าวว่าเนื่องจากกฎหมายนี้มีการร่างมาโดยมิได้มีการศึกษาผลกระทบจากการใช้กฎหมายของผู้ชุมนุมในประเทศเหล่านั้นมาด้วย เคยไปคุยกับแรงงานเกาหลีบอกว่ามีอุปสรรคในการเติบโตของแรงงานเกาหลีอย่างมาก ยังเคยคุยถึงขั้นในระดับเอเชียควรมีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ด้วย อย่างไรก็ตามการชุมนุมเรายังขาดการทำคดีเรื่องการชุมนุมตั้งแต่ต้นจนจบ มีแต่สื่อมวลชนที่ทำข่าวเป็นกระแส ขาดสถานที่ที่ใช้การชุมนุมเป็นประจำ ช่วยผู้ชุมนุมอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ชุมุนมต้องมีมาตรฐานของตัวเอง ต้องไม่ใช่การจ้างมา สื่อมวลชนสำคัญมาก ทำให้การชุมนุมเรียกร้องของประชาชนไม่มีประสิทธิภาพ
ตัวแทนเครือข่ายสิ่งแวดล้อมบางสะพาน กล่าวว่า "ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย แต่มองว่ามันก็เป็นกระแสที่เกิดขึ้น ประชาธิปไตยจริงๆคืออะไร อิสระ เสรีภาพ ในการกระทำการใดๆซึ่งหากมีกฎหมายมีควบคุมก็จะขาดซึ่งสิทธิเสรีภาพตามระบบประชาธิปไตย ผมว่ากระบวนการภาคประชาชนที่ส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างนี้ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับร่างตัวนี้เลย หากจำเป็นต้องมีจริงๆต้องรับฟังความคิดเห็นโดยรอบด้าน ซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย ต้องแยกการชุมนุมทางการเมืองการชุมนุมตามสิทธิตามรัฐ ธรรมนูญ มิใช่ออกควบคุมไปทั้งหมดจนไม่อาจกระทำการชุมนุมใดๆได้เลย ร่างที่ออกมาเห็นได้ชัดว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ"
ไพโรจน์ กล่าวว่า กติกาในการชุมนุปัจจุบันการใช้อำนาจรัฐในการกำกับควบคุมการชุมนุมได้ หลายครั้งทำไม่ได้จริง แล้วเราจะกำกับร่วมกันได้อย่างไร แทนที่จะให้รัฐกำกับ การกำกับการชุมนุมร่วมกันเป็นวิถีประชาธิปไตยปกติที่ต้องใช้ ไม่มีกลุ่มไหนไม่ใช้เสรีภาพในการชุมนุมเลย ไม่ว่าจะพระ ครู อาจารย์นัก เรียน ใช้กันทุกกลุ่มประเด็นคือว่าเราไม่เคยทราบว่าการใช้เป็นหมื่นๆ ครั้งนั้นมีอะไรที่เป็นข้อดี เช่น ไม่กระทบ ไม่คุกคาม มีอยู่จริงแต่เราไม่สนใจแต่ไปสนใจเรื่องที่มีผลกระทบและกระทบแรงมาเป็นข้อในการออกกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีด้านบวกเยอะมาก ควรมีการกำหนดกฎกติกาอย่างไร แล้วให้สังคมมาช่วยกันกำกับข้อตกลงทางสังคม เพื่อให้สังคมได้เรียนรู้ถึงระบบการชุมนุม
มลคง จากบางกอกโพสต์ กล่าวว่ว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยเต็มใจโดยภาระหน้าที่ของสื่อถือได้ว่าตลอดการทำงานข่าวทางการเมืองก็บางครั้งก็เป็น แนวร่วมกับพวกท่าน เอาปัญหาท่านไปตั้งคำถามกับหน่วยงานรัฐ บางเรื่องก็ช่วยได้บางเรื่องรัฐก็เพิกเฉย ในมุมมองของผมนั้นเคยติดตามมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หมอประเวศไปพูดที่นั่น เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนเมษายและพฤษภาคม ซึ่่งแน่นอนเป็นคนละลักษณะกับของพวกท่านแต่จากกุมภาพันธ์วันนั้นจนถึงวันนี้ โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯจะเกิดการผวาเมื่อรู้ว่าจะเกิดการชุมนุมที่ไหน เพียงแค่อยู่บริเวณใกล้เคียงแล้วได้รับผลกระทบ ผมเชื่อว่าสื่อจำนวนมากก็ไม่ได้เชื่อว่าการที่ผู้มีโอกาสเหนือกว่าเป็นความผิดของเขา เป็นหน้าที่ของสื่อในการที่จะไปทำความเข้าใจแล้วเข้ามาเป็นแนวร่วมเรียกร้องสิทธิว่าควรเสียหายโดยเท่าเทียมกัน ควรเป็นความเท่าเทียมในการมีความสุขโดยเท่าเทียม
ลักษณะร่วมสื่อกับประชาชนกับภาครัฐ ออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อคู่กรณีเกิดการปะทะกันองค์กรสื่อใช้วิธีการกำหนดคำถามขึ้นมาเพื่อตอบคำถามสังคม ตอบสังคมว่าเรามีขั้นตอนมีเครื่องมือ สื่อเองก็ปฏิเสธในการมีกฎหมายมาควบคุมสื่อ ถ้าท่านปฏิเสธกฎหมายฉบับนี้แล้วจะเอาอะไรมาแทนจะทำหน้าที่สื่อในการสื่อแนวความคิดของท่านต่อไป
ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร จะมีอะไรทดแทน จะขับเคลื่อนอย่างไร
ไพโรจน์ บอกว่า เรามีกติกากันอยู่แล้วเช่น เราตกลงว่าเราจะชุมนุมอยู่ที่นี้จะเคลื่อนย้ายไปที่ไหนถ้าทำผิดก็มีกฎหมายกำหนดอยู่แล้ว เพื่อให้สังคมกำกับไม่อยากให้รัฐกำกับ ให้ พลังของสังคมมาช่วยกันดูแล ผมคิดว่าแทนที่จะเอารัฐ ไม่มีกติกาเพิ่มเราขอใช้ประตูนี้ของทำเนียบ เราจะขอเดินในช่วงเวลาไหน แต่เรื่องพวกนี้มันไม่ถูกยกขึ้นมาว่าเป็นกติกา เราไม่เคยศึกษาการชุมนุมที่เป็นประโยชน์
ทั้งนี้ในการชุมนุมผู้นำการชุมนุมจะมีลักษณะพิเศษ ถ้าชุมนุมแล้วผู้ชุมนุมเพิ่มก็จะมีชัยชนะ ถ้าเราไปมีพันธะกับคู่กรณีอีกหนึ่งระดับ ผู้นำการชุมนุมที่โง่เขลาเท่านั้น ที่ชุมนุมแล้วจำนวนยิ่งน้อย ชุมนุมแล้วคนยิ่งเห็นด้วย เราจะสร้างเครื่องมือเพิ่มเติมเราต้องให้อำนาจรัฐมาดูแลทุนกับรัฐจับมือกันแน่ เรามองอย่างเข้าใจว่าคนชั้นกลาง ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ต้องมองปัญหาหลักในการชุมนุมว่าคืออะไร การปิดถนน การปิดที่ทำการอะไร ถ้าคุณปิดตายคุณโดนโต้ทันที ฉะนั้นจะนำการชุมนุมอย่างไรจะประสบความสำเร็จได้
กระรอก บอกกว่า โดยเงื่อนไขการชุมนุมถ้าเราเล่นตามกฎกติกาของรัฐจะไม่มีกรณีไหนที่จะชนะ วันนี้จะเห็นว่ามีอยู่ไม่กี่กรณีที่จะชนะ แต่ก็แลกกับความเป็นความตายของประชาชน ก่อนที่พี่รสนาจะยื่นมีการชุมนุมของสหภาพและอีกหลายกรณี ที่มาคัดค้านการแปรรูป ถ้าเราดูเงื่อนไขทางสังคม ถ้าผู้พิพากษามีดุลพินิจ อย่างอื่น สิ่งที่พี่ไพโรจน์พูด สร้างกติกาของเราเอง กติกามีประมาณไหน เราไม่อยากเรียกว่าเป็นกติกา แต่ถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญ การแพ้ชนะตัวชี้ขาดคือมติของประชาสังคม การต่อสู้ที่ผ่านมาของประจวบฯ การปิดถนน เข้ากรุงเทพ แต่ถามว่าเราสู้มาตั้งแต่แรกสื่อในกระแสหลัก เมื่อเราเห็นว่าเราต่อสู้กับรัฐกับทุนไม่ได้ เราต้องทำความเข้าใจกับสังคมด้วย ประท้วงแม้กระทั่งศาล ทำไมเราถึงชนะได้ จึงเป็นภาคประชาชนที่เข้มแข้ง อยากให้ลงรายละเอียดว่าประมาณไหน การต่อสู้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาอันสั้น กฎกติกา โดยหลักการสู้กับประชามติของสังคม ผลักเรื่อง พ.ร.บ.การชุมนุมออกมาต้องคำนึงถึงกลุ่มคนที่อ่อนแอกว่าเราเยอะ แค่เขาคิดตัวไม่ทันที่จะติดคุก แต่ใจติดไปแล้ว ภาคประชาชนแบบเราๆ จะไม่ใช่การจัดกฎกติกาให้สังคมที่เป็นสุข แต่ผมคิดว่ากฎหมายฉบับนี้ออกมา พยายามสร้างความเหลื่อมล้ำ และแบ่งคนออกจากกัน เกรงการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐ เพราะเมื่อมีกฎหมายใหม่ๆ จะมาทดลองกับพวกกรรมกร ในเบื้องต้น มวลชนเป็นตัววัดว่าเราจะกดดันได้ขนาดไหน ประเด็นที่ว่าเราจะไปไหนทำอะไรนั้น จะต้องบอกก่อน กรณีเสื้อแดง บอกว่าจะเดินเส้นนี้ก็โดนสกัด ฉะนั้นถ้าบอกก่อนก็ไม่มีอะไรที่จะกดดันภาครัฐได้.
จิตร บอกว่า พ.ร.บ.การชุมนุมเราได้ถามนายกฯแล้วนายกฯบอกว่ายังไม่ถึง ไหนเลย ผ่านครม.แล้ว ในเรื่องของการประมวลข้อดี ข้อเสีย เราพูดว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นการตัดตอน ต้องมาดูว่าที่ผ่านมารัฐบาลพยายามที่จะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมและแกนนำอยู่แล้ว ต้องดูว่าแกนนำและประชาชนถูกดำเนินคดีไปแล้วแค่ไหนอย่างไร ข้อดีมีอะไรบ้าง เป็นช่องทางหนึ่งที่เป็นโอกาสให้เราทำความเข้าใจต่อสาธารณะถึงประเด็นของประชาชน รู้สึกว่าการชุมนุมเป็นการกดดันในการแก้ไขทางนโยบาย ถ้าไม่กดดันก็จะถูกละเลยในประเด็นปัญหานั้น ประเด็นการมีส่วนร่วม พ.ร.บ.ฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมกับประชาชน
สุรชัย บอกว่า ในฐานะที่เรเป็นทนายความ ปัญหาหนึ่งที่เราถูกดำเนินคดีนั้นคือการที่เราไม่มีหลักเกณฑ์ เพราะเมื่อเป็นการชุมนุม ก็อาจถูกกลั่นแกล้งอยู่เสมอ เรานึกถึงหลักเกณฑ์ที่เป็นหลักร่วมกันของสังคม ร่างที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับประชาชนนั้นไม่ถูกต้องอยู่แล้ว การพยายามที่จะให้อำนาจศาลเป็นผู้ตรวจสอบ แต่สุดท้ายอำนาจศาลก็เป็นการระบุ จำกัดอำนาจศาลปกครองให้เป็นอำนาจศาลยุติธรรม ซึ่งจริงๆเป็นเรื่องการบริหารควรขึ้นอยู่กับศาลปกครอง เราไม่ได้บอกว่าศาลมีความแตกต่างกัน แต่ศาลยุติธรรมไม่มีลักษณะเฉพาะเพียงพอในการที่จะมาสนับสนุนที่เพียงพอต่อการชุมนุม ไม่มีระบบการไต่สวน ซึ่งไม่สอดคล้องสำหรับคนที่ต้องการใช้เสรีภาพในการชุมนุม เสนอว่าคัดค้านก็ประการหนึ่ง ควรพิจารณาเรื่องร่างว่าควรมีร่างประกบหรือไม่ ถ้าเราเล่นเกมส์เดียวหน้าเดียวถ้าต้องเอาจะทำอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภาคประชาชนมีความเห็นคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะฯ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ อีกทั้งจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้องค์กรภาคประชาชนเตรียมรายชื่อพร้อมเหตุผล ข้อมูล คัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนในสังคมได้รับทราบทั่วกัน.