องค์กรนักศึกษา-กลุ่มนักวิชาการมธ.แถลงการณ์ต้านความรุนแรงที่ทำให้เกิดความสูญเสีย
วันนี้ (12 เม.ย.) กลุ่มนักวิชาการ "เห็นต่างกันได้ไม่ใช้ความรุนแรง" นำโดยดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ออกแถลงการณ์เสนอทางแก้ไขวิกฤติชาติเพื่อจะช่วยกันทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์สูญเสีย สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 16 คน เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 5 คน และมีผู้บาดเจ็บ 858 คนนั้น เป็นสิ่งที่น่าเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นมาอีกในประเทศไทย ทั้งๆ ที่เราเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 แต่ดูเหมือนว่าเรายังไม่สามารถสรุปบทเรียนได้ จนทำให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียเลือดเนื้อขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะนี้สถานการณ์สงบลงชั่วคราว ทุกฝ่ายควรสรุปบทเรียนและช่วยกันหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สูญเสีย เลือดเนื้อชีวิตขึ้นมาอีก
ช่วยกันพาประเทศไทยออกจากวิกฤติด้วย “สันติวิธี” และ “เจรจา”
กลุ่มนักวิชาการเห็นต่างกันได้ไม่ใช้ความรุนแรง
เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้ชุมนุมเสียชีวิต 16 คน เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 5 คน และมีผู้บาดเจ็บ 858 คนนั้น เป็นสิ่งที่น่าเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นมาอีกในประเทศไทย ทั้งๆ ที่เราเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 แต่ดูเหมือนว่าเรายังไม่สามารถสรุปบทเรียนได้ จนทำให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียเลือดเนื้อขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะนี้สถานการณ์สงบลงชั่วคราว ทุกฝ่ายควรสรุปบทเรียนและช่วยกันหาทางป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียเลือดเนื้อชีวิตขึ้นมาอีก
1. ไม่ว่าจะเป็น “การสลายการชุมนุม” หรือการใช้คำว่า “ขอพี้นที่คืนจากผู้ชุมนม” ถ้าเป็นการใช้กำลังเข้าผลักดันแล้ว ประสบการณ์ของประเทศไทยและทั่วโลกคือ ถ้ามีผู้ชุมนุมจำนวนมากเป็นหมื่นคนขึ้นไปแล้ว ถึงแม้จะพยายามลงมือโดยไม่ให้มีการสูญเสีย แต่ไม่เคยมีประเทศใดสามารถทำสำเร็จได้โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อเลย รัฐบาลและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงที่เรียกร้องรัฐบาลให้ “บังคับใช้กฎหมาย” กับคนเสื้อแดง ต้องสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้นว่า วิธีการ “บังคับใช้กฎหมาย” ในแนวทางเช่นนี้ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา หากเป็นเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง รัฐบาลต้องใช้ “สันติวิธี” เท่านั้นในการแก้ปัญหา เพราะถ้าเกิดความรุนแรงขึ้นมาอีกในครั้งหน้าจะมีความสูญเสียยิ่งไปกว่านี้ และจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นมิคสัญญีไปจริงๆ
2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ต้องลดเงื่อนไขของความรุนแรงและการเผชิญหน้า โดยรัฐบาลควรเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ในขณะนี้การประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งก็เพียงพออยู่แล้ว รัฐบาลควรยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง ให้เหลือเพียงการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเท่านั้น และให้เจ้าหน้าที่ทหารกลับที่ตั้งเพื่อลดการเผชิญหน้า โดยคนเสื้อแดงก็ต้องลดระดับการเคลื่อนไหวที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรง และต้องควบคุมการเคลื่อนไหวของแกนนำบางคนที่ใช้วิธีการที่เกินกว่าขอบเขตของสันติวิธีด้วย
3. ความสูญเสียที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความสับสนและมีความสูญเสียเกิดขึ้นกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏว่ามีกลุ่มบุคคลที่ไม่แน่ชัดว่าเป็นฝ่ายใดมีการใช้อาวุธอยู่ในเหตุการณ์ด้วย รัฐบาลจะต้อง “รับผิดชอบ” แค่ไหน จะต้องมีใครลาอออกหรือไม่ หรือใครควรต้องรับผิดชอบอีกบ้าง จึงควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ที่จะมีการดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้ผลสอบสวนออกมาเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย บุคคลที่จะตั้งขึ้นมาจะต้องเป็นที่ยอมรับจากฝ่ายคนเสื้อแดงด้วย โดยการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ควรรวดเร็วที่สุดคือ ไม่ควรเกิน 7 วัน ในการหาข้อเท็จจริงว่า การเสียชีวิตของผู้ชุมุนมและเจ้าหน้าที่ทหารเกิดจากอะไร ในขณะนี้รัฐบาลควรหยุดยืนยันข้อมูลทางฝ่ายรัฐบาลว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีการใช้อาวุธ หรือกล่าวโทษฝ่ายผู้ชุมนุม แต่ควรรอผลการสอบสวนข้อเท็จจริงที่จะออกมา
4. ทุกฝ่ายและทุกพรรคการเมืองควรต้องตระหนักว่า “การเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยคือ “การเอาชนะใจประชาชน” ไม่ใช่ด้วยการใช้กำลัง หรือการบังคับให้คนอื่นต้องปฏิบัติตาม ในระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนมีความหลากหลาย ฝ่ายที่จะชนะทางการเมือง คือฝ่ายที่สามารถชนะใจคนที่อยู่ตรงกลางๆ และยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถเอาชนะใจฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย และสำคัญที่สุดคือการเอาชนะกันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของส่วนรวมที่เป็นส่วนของทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นชัยชนะที่ได้กับทุกคน การใช้กำลังหรือละเมิดสิทธิผู้อื่นไม่ใช่วิธีการที่จะเอาชนะใจฝ่ายตรงข้ามหรือแม้กระทั่งคนที่อยู่ตรงกลางๆ ได้ ทุกฝ่ายจึงควรใช้วิธีการเอาชนะกันในวิธีทางของประชาธิปไตยคือ “การเอาชนะใจประชาชน” ที่จะตัดสินกันในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นนานจนเกินไป เพราะความสูญเสียที่เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2553 รัฐบาลไม่อาจที่จะยืนยันกรอบเวลา 9 เดือนได้อีกต่อไปแล้ว
5. ประเทศไทยในขณะนี้ไม่มีทางออกอื่น นอกจากต้องถอยคนละก้าว และหันหน้ามาเจรจากัน โดยทุกฝ่ายต้องตระหนักว่า ประชาธิปไตยนั้นไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ตามที่ต้องการ ทุกฝ่ายจึงควรลดเงื่อนไขและหันหน้าเข้าหากัน ทางออกที่ประเทศชนะและทุกฝ่ายชนะยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นไปได้ยาก แต่การที่ฝ่ายแกนนำคนเสื้อแดงและผู้บังคับบัญชาทหารที่ปฏิบัติการในวันที่ 10 เมษายน 2553 ได้มีการเจรจากันให้ทั้งสองฝ่ายถอยกลับที่ตั้งทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามไปสู่การสูญเสียมากไปกว่านี้ ชี้ให้เห็นว่า เรายังมีสติกันอยู่ และการพูดคุยเจรจายังเป็นไปได้เสมอ โดยรัฐบาลในฐานะที่เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหาควรเป็นฝ่ายเริ่มต้นเสนอให้มีการเจรจาอีกครั้ง ซึ่งถ้าได้มีการดำเนินการตามแนวทางข้างต้น น่าจะช่วยทำให้สถานการณ์คลี่คลายระดับหนึ่ง และนำมาสู่การเจรจากันอีกครั้งหนึ่งได้
ขอให้การสูญเสีย 21 ชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นการสูญเสียครั้งสุดท้าย และเป็นบทเรียนให้กับทุกฝ่ายในการช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นมาอีก ขอให้สังคมไทยช่วยใช้ “สันติวิธี” และ “การเจรจา” ในการพาประเทศไทยออกจากวิกฤติการณ์ ประเทศไทยยังมีทางออกเสมอถ้าเราสรุปบทเรียนได้ว่าความรุนแรงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
กลุ่มนักวิชาการเห็นต่างกันได้ไม่ใช้ความรุนแรง
12 เมษายน 2553
ขณะเดียวกันองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องและเสนอแนะของการแก้ไขต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันความว่า
เนื่องด้วย ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน และวันอาทิตย์ที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา ได้เกิดการสูญเสียระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต จิตใจ ร่างกาย และทรัพย์สินแก่สังคมในวงกว้าง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รู้สึกสะเทือนใจและเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคาดหวังว่า ภาพความรุนแรงและความสูญเสียเช่นนี้ ไม่ควรปรากฏให้เห็นในสังคมอารยะอีกต่อไป จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะ ซึ่งมีเนื้อหาดังจะกล่าวต่อไปนี้
1.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายตั้งสติ ใช้เหตุผลในการหาทางออกของปัญหา โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และไม่สนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
2.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรียกร้องให้ยุติการอ้างความผิดพลาดในอดีตของฝ่ายอื่นมาเป็นบรรทัดฐานในการสร้างความชอบธรรมให้แก่การเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองของฝ่ายตน และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสร้างความยุติธรรม และรักษาบรรทัดฐานทางกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์อย่างเคร่งครัด งดเว้นจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเลือกปฏิบัติ
3.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่สนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองด้วยวิธีการนอกกรอบประชาธิปไตย
4.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งกันละกัน
5.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนง รักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของสื่อมวลชน และร่วมกันทำหน้าที่กระตุ้นจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมให้เกิดขึ้นสังคม
การออกแถลงการณ์เรียกร้องและเสนอแนะขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มีเจตนาฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ
อนึ่ง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักในการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนจะพึงมีตามที่ได้รับการรับรองคุ้มครองไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการชุมนุมอย่างสงบและโดยปราศจากอาวุธ ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญในข้อนี้ และควรคำนึงถึงการใช้สิทธิเสรีภาพ ตลอดจนเร่งหาทางออกด้วยวิธีการอันสร้างสรรค์ ลดการเผชิญหน้า หากทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นจริง ก็ขอให้ทั้งสองฝ่ายมาร่วมมือหรือหาทางออกร่วมกัน
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นภาพความสงบเรียบร้อยเป็นปกติสุขกลับคืนสู่สังคมโดยเร็ว และคาดหวังว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการแสดงจิตสำนึกต่อสังคม ทั้งทางด้านวาจาและการกระทำ
สุดท้ายนี้ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักดีว่าการแสดงพลังนักศึกษาในปัจจุบัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์การนักศึกษาแต่เพียงองค์กรเดียว จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาในทุกสถาบันตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไป
แถลงการณ์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันที่12 เมษายน 2553
แถลงการณ์ เรียกร้องและเสนอแนะขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
ต่อ สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
เนื่อง ด้วย ในวันเสาร์ที่ ๑๐ เมษายน และวันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายนที่ผ่านมา ได้เกิดการสูญเสียระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและพลเรือน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต จิตใจ ร่างกาย และทรัพย์สินแก่สังคมในวงกว้าง
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รู้สึกสะเทือนใจและเสียใจต่อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคาดหวังว่า ภาพความรุนแรงและความสูญเสียเช่นนี้ ไม่ควรปรากฏให้เห็นในสังคมอารยะอีกต่อไป จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะ ซึ่งมีเนื้อหาดังจะกล่าวต่อไปนี้
๑. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรียกร้องให้ทุกฝ่าย ตั้งสติ ใช้เหตุผลในการหา
ทางออกของปัญหา โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และไม่สนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
๒. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรียกร้องให้ยุติการ อ้างความผิดพลาดในอดีต
ของฝ่ายอื่นมาเป็นบรรทัดฐานในการสร้างความชอบ ธรรมให้แก่การเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองของฝ่ายตน และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งสร้างความยุติธรรม และรักษาบรรทัดฐานทางกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์อย่างเคร่งครัด งดเว้นจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างเลือกปฏิบัติ
๓. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่สนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของชาติ
บ้านเมืองด้วยวิธีการนอกกรอบประชาธิปไตย
๔. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมเคารพในศักดิ์ศรี
ความเป็น มนุษย์ซึ่งกันละกัน
๕. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกร้องให้สื่อมวลชนทุกแขนง รักษาไว้ซึ่ง
จรรยาบรรณ ของสื่อมวลชน และร่วมกันทำหน้าที่กระตุ้นจิตสำนึกเพื่อส่วน รวมให้
เกิดขึ้น สังคม
การออก แถลงการณ์เรียกร้องและเสนอแนะขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในครั้งนี้ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มีเจตนาฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นการเฉพาะ อนึ่ง องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตระหนักในการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมือง ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนจะพึงมีตามที่ได้รับการรับรองคุ้มครอง ไว้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการชุมนุมอย่างสงบและโดยปราศจากอาวุธ ดังนั้นจึงขอให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญในข้อนี้ และควรคำนึงถึงการใช้สิทธิเสรีภาพ ตลอดจนเร่งหาทางออกด้วยวิธีการอันสร้างสรรค์ ลดการเผชิญหน้า หากทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียขึ้นจริง ก็ขอให้ทั้งสองฝ่ายมาร่วมมือหรือหาทางออกร่วมกัน
องค์การ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นภาพความสงบ เรียบร้อยเป็นปกติสุขกลับคืนสู่สังคมโดยเร็ว และคาดหวังว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นขององค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการแสดงจิตสำนึกต่อสังคม ทั้งทางด้านวาจาและการกระทำ
สุดท้าย นี้ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตระหนักดีว่าการแสดงพลังนักศึกษาใน ปัจจุบัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์การนักศึกษาแต่เพียงองค์กรเดียว จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาในทุกสถาบันตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมทาง การเมือง ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติต่อไป
แถลงการณ์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วันที่ 12 เมษายน 2553