“สมัชชาสวัสดิการชุมชน”ชง 5 ข้อเสนอขอรัฐออกกม.ยกระดับกองทุนฯ ถาวร
เขียนวันที่
วันอังคาร ที่ 31 สิงหาคม 2553 เวลา 09:15 น.
เขียนโดย
สาธินีย์ วิสุทธาธรรม
หมวดหมู่
พร้อมจี้คณะกก.ปฏิรูปประเทศ หันกลับมามองประเด็นระบบสวัสดิการชุมชน ระบุเป็นกลไกคุ้มครองสังคมที่ต้องทำ ขณะที่ นายกฯ โปรยยาหอม เผยปี 54 รัฐใส่ใจ ชงงบให้อีก 800 ล้านบาท
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดงาน ”สมัชชาสวัสดิการชุมชน : ปฏิรูปสังคมจากฐานราก” ระหว่างวันที่ 27-28 ส.ค. ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชนจากขบวนกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศกว่า 1,500 คน จาก 800 กว่ากองทุนเข้าร่วมสมัชชา เพื่อระดมความร่วมมือ จัดทำข้อสรุปพร้อมข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในส่วนของสมัชชาและข้อเสนอต่อรัฐบาลในการสนับสนุนขบวนการชุมชนเข้มแข็งและการจัดสวัสดิการชุมชน ทั้งนี้รัฐบาลได้มอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนอีก 820 แห่ง รวมเป็น 1,195 กองทุน
สำหรับผลการระดมความเห็นของสมัชชาสวัสดิการชุมชนจากตัวแทนทั่วประเทศนั้น ได้มี 5 ข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้ความสนับสนุนช่วยเหลืองานขับเคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการชุมชนและการสร้างเสริมความเข้มแข็งชุมชน ดังนี้ 1.ให้รัฐกำหนดมาตรการ แผนแม่บทหรือกฎหมายยกระดับสวัสดิการชุมชนจากโครงการรายปีให้มีสถานะที่มั่นคงขึ้นกว่าปัจจุบัน 2.ให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศไทยทุกคณะต้องนำระบบและกระบวนการสวัสดิการชุมชนมากำหนดเป็นประเด็นสาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศด้วย เนื่องจากสมัชชาสวัสดิการชุมชนเห็นว่าเป็นกลไกการคุ้มครองทางสังคมของชุมชนที่สำคัญมาก
3.คณะกรรมการกระจายอำนาจ ต้องกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานเพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง โดยปราศจากเงื่อนไขความไม่มั่นคงทางการเมือง 4.รัฐต้องปรับมาตรการการช่วยเหลือสวัสดิการทางสังคม ถ้าโครงการหรือมาตรการใดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนที่ชุมชนสามารถจัดเองได้ รัฐต้องปรับเปลี่ยนระบบจัดสรรงบประมาณตรงให้ชุมชนดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนการชุมชน และ 5. รัฐต้องออกมาตรการอื่นๆ สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน เช่น มาตรการภาษี การให้กองทุนซื้อพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษ การสร้างสินทรัพย์ถาวรของกองทุน เป็นต้น เพื่อให้กองทุนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
นอกจากนี้ สมัชชาสวัสดิการชุมชนได้ประกาศแนวทางขับเคลื่อนขบวนงานชุมชนเป็น 10 แนวทาง เช่น การดำเนินงานกองทุนจะยึดมั่นในหลักการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี ช่วยเหลือกันและกันในชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมจากฐานรากอย่างแท้จริง, การทำงานจะเชื่อมโยงกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน, จะสร้างกองทุนสวัสดิการชุมชนให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมดของเมืองหรือตำบลภายใน 2-3 ปี, จะปรับเพิ่มรูปแบบสวัสดิการของกองทุน, ขยายโอกาสการช่วยเหลือมากกว่าแค่เฉพาะสมาชิก แต่จะดูแลครอบคลุมคนด้อยโอกาสในชุมชนด้วย, กองทุนทุกแห่งจะประสานความร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โรงเรียน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับเพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้ มีคุณภาพและความยั่งยืน เป็นต้น
ส่วนวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาสวัสดิการชุมชนครั้งที่ 1 นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินสมทบเพิ่มครั้งที่ 2 แก่ 820 กองทุนสวัสดิการชุมชน จากนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของการทำงานของชุมชน ซึ่งรัฐบาลยืนยันความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์เรื่องสวัสดิการเพื่อตอบสนองความต้องการสวัสดิการของสังคมที่หลากหลาย
" ขณะนี้รัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชาวนา ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลมีทิศทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมที่ชัดเจน คือการสร้างสังคมสวัสดิการ อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากองทุนการออมแห่งชาติและกองทุนสวัสดิการชุมชน จะพยายามผลักดันให้เห็นในปีหน้าให้ยิ่งขึ้น"
เมื่อถามถึง 5 ข้อเสนอจากสมัชชาสวัสดิการชุมชนต่อรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะนำเรื่องข้อเสนอในการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนรับไปศึกษาและดำเนินการต่อไป ส่วนกรณีให้นำประเด็นระบบสวัสดิการชุมชนเป็นประเด็นสาระสำคัญในการปฏิรูปนั้นก็จะรับไปเสนอต่อคณะกรรมการชุดต่างๆ ต่อไป เชื่อว่าสามารถนำเรื่องกระบวนการสร้างสวัสดิการชุมชนนี้ไปเชื่อมโยงการทำงานชุมชนเรื่องต่างๆ ได้ เช่น เชื่อมโยงกับการทำงานเรื่องโฉนดชุมชน เป็นต้น
“รัฐบาลยืนยันว่าเอาใจใส่ และดูแลติดตามงานเรื่องสวัสดิการชุมชน และขบวนการองค์กรชุมชนแน่นอน ซึ่งอยากให้มั่นใจ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณอีก 800 ล้านบาทในปี 2554 เพื่อสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งขณะนี้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว”
ด้านคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ซึ่งจัดสรรงบประมาณ 727.3 ล้านบาทผ่านพอช.เพื่อยกระดับสวัสดิการชุมชนให้เป็นวาระแห่งชาติ ปัจจุบันโครงการสนับสนุนสวัสดิการได้อนุมัติงบประมาณสมทบกองทุนแล้ว 1,195 กองทุน จำนวน 215.23 ล้านบาท ครอบคลุม 75 จังหวัด มีสมาชิก 637,135 คน มีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 813,575 คน
ส่วนการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น คุณหญิงสุพัตรา กล่าวว่า มีจำนวนกองทุนฯ เพิ่มขึ้น 510 กองทุน เกิดระบบฐานข้อมูลออนไลน์ของการบริหารงานกองทุนแล้ว มีฐานข้อมูลกองทุนเข้าระบบแล้ว 3,352 กองทุน ครอบคลุมสมาชิก 1.22 ล้านคน หรือ 25,270 หมู่บ้าน มีจำนวนเงินกองทุนส่วนของชุมชน 683.34 ล้านบาทหรือ 73% ส่วนเงินสมทบจากรัฐ 19% จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5% และแหล่งอื่นๆ อีก 3% สำหรับแผนงานปีงบประมาณ 2554 นั้นมีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ 5,100 องค์กร จัดตั้งพื้นที่ใหม่ 1,000 องค์กร สมทบงบประมาณ 2,300 องค์กร วงเงิน 624,960 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 800 ล้านบาท
“โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนซึ่งเป็นวาระสำคัญของชาติที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้าร่วมกระบวนการสวัสดิการชุมชน ขบวนการองค์กรชุมชนเห็นว่าเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ เป็นธรรมในสังคม จึงเกิดสมัชชาสวัสดิการชุมชนเพื่อปฏิรูปสังคมจากฐานรากขึ้น เพื่อสรุปบทเรียนและจัดการความรู้ร่วมกัน รวมถึงพิจารณาแนวทางการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมให้เชื่อมโยงกับระบบ สวัสดิการชุมชนด้วย” ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ กล่าว
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดงาน ”สมัชชาสวัสดิการชุมชน : ปฏิรูปสังคมจากฐานราก” ระหว่างวันที่ 27-28 ส.ค. ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี โดยมีตัวแทนผู้นำชุมชนจากขบวนกองทุนสวัสดิการชุมชนทั่วประเทศกว่า 1,500 คน จาก 800 กว่ากองทุนเข้าร่วมสมัชชา เพื่อระดมความร่วมมือ จัดทำข้อสรุปพร้อมข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในส่วนของสมัชชาและข้อเสนอต่อรัฐบาลในการสนับสนุนขบวนการชุมชนเข้มแข็งและการจัดสวัสดิการชุมชน ทั้งนี้รัฐบาลได้มอบเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนอีก 820 แห่ง รวมเป็น 1,195 กองทุน
สำหรับผลการระดมความเห็นของสมัชชาสวัสดิการชุมชนจากตัวแทนทั่วประเทศนั้น ได้มี 5 ข้อเสนอต่อรัฐบาลเพื่อให้ความสนับสนุนช่วยเหลืองานขับเคลื่อนงานกองทุนสวัสดิการชุมชนและการสร้างเสริมความเข้มแข็งชุมชน ดังนี้ 1.ให้รัฐกำหนดมาตรการ แผนแม่บทหรือกฎหมายยกระดับสวัสดิการชุมชนจากโครงการรายปีให้มีสถานะที่มั่นคงขึ้นกว่าปัจจุบัน 2.ให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศไทยทุกคณะต้องนำระบบและกระบวนการสวัสดิการชุมชนมากำหนดเป็นประเด็นสาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศด้วย เนื่องจากสมัชชาสวัสดิการชุมชนเห็นว่าเป็นกลไกการคุ้มครองทางสังคมของชุมชนที่สำคัญมาก
3.คณะกรรมการกระจายอำนาจ ต้องกำหนดแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานเพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง โดยปราศจากเงื่อนไขความไม่มั่นคงทางการเมือง 4.รัฐต้องปรับมาตรการการช่วยเหลือสวัสดิการทางสังคม ถ้าโครงการหรือมาตรการใดเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการชุมชนที่ชุมชนสามารถจัดเองได้ รัฐต้องปรับเปลี่ยนระบบจัดสรรงบประมาณตรงให้ชุมชนดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของขบวนการชุมชน และ 5. รัฐต้องออกมาตรการอื่นๆ สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน เช่น มาตรการภาษี การให้กองทุนซื้อพันธบัตรอัตราดอกเบี้ยสูงพิเศษ การสร้างสินทรัพย์ถาวรของกองทุน เป็นต้น เพื่อให้กองทุนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
นอกจากนี้ สมัชชาสวัสดิการชุมชนได้ประกาศแนวทางขับเคลื่อนขบวนงานชุมชนเป็น 10 แนวทาง เช่น การดำเนินงานกองทุนจะยึดมั่นในหลักการให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี ช่วยเหลือกันและกันในชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมจากฐานรากอย่างแท้จริง, การทำงานจะเชื่อมโยงกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน, จะสร้างกองทุนสวัสดิการชุมชนให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมดของเมืองหรือตำบลภายใน 2-3 ปี, จะปรับเพิ่มรูปแบบสวัสดิการของกองทุน, ขยายโอกาสการช่วยเหลือมากกว่าแค่เฉพาะสมาชิก แต่จะดูแลครอบคลุมคนด้อยโอกาสในชุมชนด้วย, กองทุนทุกแห่งจะประสานความร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โรงเรียน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับเพื่อหาแนวทางพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนให้ มีคุณภาพและความยั่งยืน เป็นต้น
ส่วนวันสุดท้ายของการประชุมสมัชชาสวัสดิการชุมชนครั้งที่ 1 นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มอบเงินสมทบเพิ่มครั้งที่ 2 แก่ 820 กองทุนสวัสดิการชุมชน จากนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของการทำงานของชุมชน ซึ่งรัฐบาลยืนยันความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์เรื่องสวัสดิการเพื่อตอบสนองความต้องการสวัสดิการของสังคมที่หลากหลาย
" ขณะนี้รัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการชาวนา ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลมีทิศทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมที่ชัดเจน คือการสร้างสังคมสวัสดิการ อย่างไรก็ตามเชื่อว่ากองทุนการออมแห่งชาติและกองทุนสวัสดิการชุมชน จะพยายามผลักดันให้เห็นในปีหน้าให้ยิ่งขึ้น"
เมื่อถามถึง 5 ข้อเสนอจากสมัชชาสวัสดิการชุมชนต่อรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะนำเรื่องข้อเสนอในการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ สนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนรับไปศึกษาและดำเนินการต่อไป ส่วนกรณีให้นำประเด็นระบบสวัสดิการชุมชนเป็นประเด็นสาระสำคัญในการปฏิรูปนั้นก็จะรับไปเสนอต่อคณะกรรมการชุดต่างๆ ต่อไป เชื่อว่าสามารถนำเรื่องกระบวนการสร้างสวัสดิการชุมชนนี้ไปเชื่อมโยงการทำงานชุมชนเรื่องต่างๆ ได้ เช่น เชื่อมโยงกับการทำงานเรื่องโฉนดชุมชน เป็นต้น
“รัฐบาลยืนยันว่าเอาใจใส่ และดูแลติดตามงานเรื่องสวัสดิการชุมชน และขบวนการองค์กรชุมชนแน่นอน ซึ่งอยากให้มั่นใจ โดยรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณอีก 800 ล้านบาทในปี 2554 เพื่อสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งขณะนี้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว”
ด้านคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน ซึ่งจัดสรรงบประมาณ 727.3 ล้านบาทผ่านพอช.เพื่อยกระดับสวัสดิการชุมชนให้เป็นวาระแห่งชาติ ปัจจุบันโครงการสนับสนุนสวัสดิการได้อนุมัติงบประมาณสมทบกองทุนแล้ว 1,195 กองทุน จำนวน 215.23 ล้านบาท ครอบคลุม 75 จังหวัด มีสมาชิก 637,135 คน มีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการแล้วกว่า 813,575 คน
ส่วนการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนหนึ่งปีที่ผ่านมานั้น คุณหญิงสุพัตรา กล่าวว่า มีจำนวนกองทุนฯ เพิ่มขึ้น 510 กองทุน เกิดระบบฐานข้อมูลออนไลน์ของการบริหารงานกองทุนแล้ว มีฐานข้อมูลกองทุนเข้าระบบแล้ว 3,352 กองทุน ครอบคลุมสมาชิก 1.22 ล้านคน หรือ 25,270 หมู่บ้าน มีจำนวนเงินกองทุนส่วนของชุมชน 683.34 ล้านบาทหรือ 73% ส่วนเงินสมทบจากรัฐ 19% จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5% และแหล่งอื่นๆ อีก 3% สำหรับแผนงานปีงบประมาณ 2554 นั้นมีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ 5,100 องค์กร จัดตั้งพื้นที่ใหม่ 1,000 องค์กร สมทบงบประมาณ 2,300 องค์กร วงเงิน 624,960 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 800 ล้านบาท
“โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนซึ่งเป็นวาระสำคัญของชาติที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนของสังคมเข้าร่วมกระบวนการสวัสดิการชุมชน ขบวนการองค์กรชุมชนเห็นว่าเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความ เป็นธรรมในสังคม จึงเกิดสมัชชาสวัสดิการชุมชนเพื่อปฏิรูปสังคมจากฐานรากขึ้น เพื่อสรุปบทเรียนและจัดการความรู้ร่วมกัน รวมถึงพิจารณาแนวทางการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมให้เชื่อมโยงกับระบบ สวัสดิการชุมชนด้วย” ประธานคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแห่งชาติ กล่าว