แจ้งให้ทราบ
Current Item Layout Template is 'default-thaireform' does not exist
- Please correct this in the URL or in Content Type configuration.
- Using Template Layout: 'default'
ดร.สุรพล แนะทางเลือกประธานสภาฯ ชะลอโหวตรธน.วาระ 3 จนกว่ามีข้อยุติ
อดีตอธิการบดี มธ.เปิดตำราสอน 'ประธานรัฐสภา-คนที่มีอิทธิพลรัฐสภาที่อยู่ต่างประเทศ' ให้คิดขั้นตอนต่อจากนี้คืออะไร ชี้หากไม่ใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม จะสร้างภาระ ความกดดันต่อประมุขของรัฐในการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
วันที่ 8 มิถุนายน ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะความเห็นของอัยการสูงสุด ที่มีมติวินิจฉัยไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบการกระทำของ ส.ส. และ ส.ว. 416 เสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพราะยังไม่เข้าข่ายการกระทำความผิด มาตรา 68 ว่า ไม่ได้กระทบอะไรต่อเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไป เพราะศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีอำนาจวินิจฉัยและชี้ขาดไปแล้วว่า มาตรา 68 ตีความได้ 2 ช่องทาง คือจะยื่นเรื่องจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง หรือยืนผ่านอัยการสูงสุดก็ได้
"ในทางกลับกันการที่ อสส. มีความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่กระทบและไม่มีความจำเป็นต้องมีกระบวนการตรวจสอบ ยิ่งเป็นการยืนยันว่า ความเห็นของ อสส. ตัดช่องทางที่จะปกป้อง การทำลายรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญยิ่งชอบที่จะทำเช่นนั้น ขณะเดียวกันศาลฯ ก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าขัดหรือไม่ขัด แต่ให้ชะลอ เพื่อไต่สวนก่อนเท่านั้น"
อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวว่า ประเด็นการรับเรื่องผ่านหรือไม่ผ่านอัยการสูงสุด ทางกฎหมายชัดเจน คนมีอำนาจวินิจฉัยก็คือศาล โดยศาลมีอำนาจตีความ ซึ่งมีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับการตีความ และอยู่บนพื้นฐานการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และการที่ศาลฯ บอกให้ชะลอการพิจารณาก่อน ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเด็ดขาด ขอบเขตความผูกพันรับผิดชอบมีน้อยกว่า ฉะนั้น การดำเนินการชั้นต่อไป จึงอยู่ที่ดุลพินิจของรัฐสภาว่าจะดำเนินการอย่างไร
"แต่เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า กระบวนการนี้ อาจนำไปสู่การละเมิดหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ หรือเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญ ซึ่งถ้ารัฐสภาลงมติในวาระที่ 3 ไปในทางที่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ กระบวนการขั้นตอนต่อไปที่กำหนดไว้ใน ม. 291 วรรคท้ายคือ สภาต้องเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไปให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย ภายใน 20 วัน"
ศ.ดร.สุรพล กล่าวว่า หากมีการลงมติแก้ไขรธน.วาระ 3 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วงต่อไป คือ การเสนอเรื่องนี้ให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจเลือก ว่า จะทำตามศาลรัฐธรรมนูญ หรือจะลงพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นทางเลือกที่จะสร้างความลำบากให้กับประมุขของรัฐ เป็นการผลักให้ในหลวงต้องเลือกข้าง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์นี้ ไม่ให้เอาภาระการวินิจฉัยไปที่พระมหากษัตริย์
"เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตัดสินใจดำเนินการ แต่ที่จริงแล้วเห็นว่า เป็นอำนาจของคนเพียง 3 คนเท่านั้นคือ ประธานรัฐสภา รองประธานรัฐสภา และผู้ที่มีอำนาจเหนือรัฐสภาที่อยู่ในต่างประเทศ แต่คนที่มีบทบาทสูงสุด อาจเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือรัฐสภาที่อยู่ในต่างประเทศ ที่จะเลือกใช้ดุลพินิจในทางที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระ ไม่สร้างความกดดันต่อประมุขของรัฐ ให้ต้องวินิจฉัยเรื่องที่ยังมีความขัดแย้งรุนแรงในสังคม ก่อให้เกิดผลกระทบทางการเมืองอย่างรุนแรง"
ส่วนทางทางเลือกของประธานรัฐสภานั้น ศ.ดร.สุรพล กล่าวว่า ตนไม่มีทางเลือกอื่น นอกจาก "ชะลอ" การพิจารณาเรื่องนี้ไว้ก่อน จนกว่าจะมีข้อยุติทางหนึ่งทางใด เพราะตนไม่เห็นว่า การรอการลงมติไว้ จะก่อให้เกิดความเสียหายใดต่อประเทศชาติ ขณะที่รองประธานรัฐสภาก็ต้องแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ด้วยว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เพราะบุคคลดังกล่าว ต้องร่วมรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ด้วย