ร.ร.แก้จน...สอนคน“ปลดหนี้” ด้วยคัมภีร์ “บัญชีครัวเรือน”
รวมพล "คนปลดหนี้" จากประสบการณ์จริง เปิด "บัญชีครัวเรือน" ฉบับ สกว. ไม่ใช่แค่แก้จนแต่ทำให้คนพึ่งตัวเองได้ ความรู้จุดระเบิดภายในเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ รวมพลังสร้างเครือข่าย ก่อกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย อาทิ ธนาคารแรงงาน โรงเรียนแก้จน
“จับกุ้งที เห็นเงินครั้งละล้านบาท แต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่า มีหนี้ทั้งหมดเท่าไร”
เกษตรกรทำนากุ้ง ต.สามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ศิริโสภา บุญเรืองยศศิริ บุคคลตัวอย่าง เริ่มต้นถอดบทเรียนการปลดหนี้เป็นคนแรก ในเวทีเสวนา “หนี้ที่จัดการได้ : กระบวนการทางปัญญาในการแก้ปัญหาหนี้สิน” ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เธอ เล่าถึงช่วงเวลาที่ทำนากุ้งมานานนับ 10 ปี จนครอบครัวมีหนี้สะสมจากการลงทุนเลี้ยงกุ้งกว่า 2.3 ล้านบาท สุดท้ายต้องตัดสินใจแบ่งขายที่ดินทำกินบางส่วนเพื่อปลดหนี้
แต่ก็ยังไม่พอ หนี้สินยังเหลืออีกบานเบอะ
ในที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงของครอบครัว ศิริโสภาต้องเปลี่ยนอาชีพ ผันตัวเองมาเป็นแม่ค้านางศิริโสภา บุญเรืองยศศิริ ขายน้ำข้าวโพด น้ำสมุนไพร ขนมไทย และให้เช่านา
เลี้ยงกุ้ง
หัวอก “คนเคยเป็นหนี้” ศิริโสภา ปลดหนี้ได้หมดแล้ว ด้วยการจดบัญชีครัวเรือน ควบคุม วิเคราะห์การใช้จ่าย และการลงทุน ตั้งแต่ครอบครัวบุญเรืองยศศิริ
จดบัญชีครัวเรือน ก็ได้เห็นตัวเลขรายรับ รายจ่าย เห็นความสำคัญของการวางแผนการใช้เงิน ปรับความคิดใหม่ ในเรื่องการลงทุนอาชีพที่ต้องไม่ก่อหนี้สะสม
แม้อาชีพใหม่จะไม่ได้เงินเป็นกอบกำ นั่งนับเงินครั้งละเป็นล้านเท่ากับทำอาชีพเลี้ยงกุ้ง แต่เธอบอกว่า เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงน้อย สามารถกำหนดทิศทางการผลิตได้เอง
เป็นการสร้างทางเลือกใหม่ให้ชีวิตและครอบครัวมากขึ้น ขึ้นอยู่กับความขยันหาลูกค้า
“ ผลของการจดบัญชีครัวเรือนทำให้มองเห็นแนว โน้มของการลงทุนของอาชีพทำนา กุ้ง ว่า ไปไม่รอด ต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่ ซึ่งการทำบัญชีนี้ช่วยทำให้ครอบครัวจัดสรรรายได้
ลงตัวมากขึ้น จัดการรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ พร้อมทั้งสร้างวินัย ฝึกการออมให้คนในครอบครัว เมื่อเห็นอะไรที่ไม่จำเป็นที่ต้องจ่ายก็งด”
จากวันวาน ถึงวันนี้ ใครถามชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไรบ้าง หลังเข้าร่วมความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุขภาวะ แม่ค้าวัยกลางคนผู้นี้ก็จะตอบชัดถ้อยชัดคำ ว่า ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น ไม่กังวล และภูมิใจที่ได้กำหนดชีวิตด้วยมันสมองของตัวเอง ผ่านการวางแผนด้วยบัญชีครัวเรือน
บัญชีครัวเรือน ใช่ยาวิเศษปลดหนี้ได้ทุกคน...
ใน ฐานะหัวหน้าคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน พัฒนาสังคมและสุขภาวะ เริ่มต้นเก็บตัวอย่างและประมวลผลการบันทึกบัญชีครัวเรือน ตั้งแต่ ส.ค.2550- ส.ค.2553 ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศไทย ได้แก่ อุทัยธานี สตูล กำแพงเพชร ยโสธร สงขลา นครพนม ชัยนาท สุราษฎร์ธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พิษณุโลก ชัยภูมิ อุบลราชธานี นครปฐม นครศรีธรรมราช พัทลุง และอุตรดิตถ์
“ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย” รองผู้อำนวยการสกว. ยอมรับว่า บัญชีครัวเรือน ไม่ใช่ยาวิเศษปลดหนี้ได้ทุกคน แต่อยู่ที่คุณค่าความพยายาม และการตั้งใจเรียนรู้ของตัวชาวบ้านเองที่จะปลดหนี้
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสกว.
“ผลความสำเร็จการปลดหนี้ของชาวบ้านด้วยการ บันทึกบัญชีครัวเรือน เป็นเพียงกำไรของโครงการวิจัยฯ เท่านั้น โดยกิจกรรมและเป้าหมายหลักที่สกว.ทำ คือ พยายามจะสร้างขบวนการความเข้มแข็งคนในชุมชน ด้วยการจุดระเบิดภายในจากตัวข้อมูลและข้อเท็จจริงภายในชุมชนที่คนในพื้นที่ ต้องร่วมกันแก้ปัญหาเอง เช่น การจดบัญชีครัวเรือน สกว.ต้องการให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ที่จะจดบันทึกในแต่ละครอบครัว เพื่อให้รู้จักวิเคราะห์ ทบทวน ประมาณการการใช้จ่ายของตนเองได้เป็น”
สำหรับโครงการฯ นี้ เริ่มต้นเก็บตัวอย่าดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสกว. งและ ประมวลผลการบันทึกบัญชีครัวเรือน ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า
กระบวนการทำงานของชาวบ้านที่มีการบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์ ทบทวน ควบคุมการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องนั้น สามารถช่วยชาวบ้านชำระหนี้สินได้
เฉลี่ยปีละประมาณ 55,250 บาทต่อคน
เมื่อแบ่งตามกลุ่มอาชีพ พบว่า การจดบันทึกบัญชีครัวเรือนนี้สามารถช่วย “ชาวนา” ชำระหนี้ต่อปีได้เฉลี่ยคนละ 58,000 บาท กลุ่ม “พ่อค้า-แม่ค้า-ธุรกิจส่วนตัว”
ชำระหนี้ได้ประมาณ 64,197 บาท ส่วน “เกษตรกรทำไร่ทำสวน” 52,098บาทต่อคนต่อปี “ราชการ” 43,854 บาทต่อคนต่อปี และอาชีพรับจ้าง 26,574 บาท
ต่อคนต่อปี
ผลศึกษาจากการเก็บตัวอย่างจังหวัดละ 50 ครัวเรือน ยกเว้นนครศรีธรรมราชและอุตรดิตถ์ รวม 697 ครัวเรือนจากทั้งโครงการ 41,035 ครัวเรือน ยังสะท้อน
สาเหตุการเป็นหนี้หลัก พบชาวบ้านล้วนสร้างหนี้สินจากการลงทุนประกอบอาชีพ การลงทุนการศึกษาของบุตรหลาน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย โดยพึ่งสถาบันการเงิน
เช่น ธกส. กองทุนหมู่บ้าน และเงินกู้นอกระบบ
ที่สำคัญ...ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความคิดว่า ยิ่งลงทุนมากจะได้มาก แต่ผลลัพธ์กับตรงข้ามกัน
ทำนาเกินตัว ก่อหนี้พอกพูนเกือบ 4 แสน
นายจักรรินทร์ รักซ้อน
ความ คิดนี้เคยเกิดขึ้นกับ “จักรรินทร์ รักซ้อน” ชาวนาจาก ต.นางลือ อ.เมืองชัยนาท และในฐานะประธานกลุ่มสหกรณ์ชุมชน มีหนี้สินกว่า 380,000 บาทจากการลงทุน
ประกอบอาชีพทำนาและทำไม้กวาดขาย
ด้วยความเชื่อว่า ยิ่งทำนามากจะยิ่งมีรายได้มากขึ้น ทำให้เขาต้องเช่าที่ทำนา 55 ไร่ ทำนาปีละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีต้นทุน ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ สารเคมี ค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำเข้านา
เดือนละ 7-8ครั้ง
จักรรินทร์ ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนที่ทำมาทั้งหมด ได้ก่อหนี้สะสมจากการลงทุนที่เกินตัว มีหนี้เกือบ 4 แสนบาท นายจักรรินทร์ รักซ้อน จนกระทั่งลงมือจดบัญชีครัวเรือน แล้วได้
เห็นรายการใช้จ่ายและรายได้ เขาเปลี่ยนความคิด เริ่มปลดหนี้ด้วยตนเองทันทีสิ่งที่เขาทำในการปลดหนี้ เริ่มจากวางแผนจากบันทึกทุกรายการรับ รายจ่าย ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่
จำเป็น เช่น ซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ เลิกพฤติกรรมกินครึ่งหนึ่งทิ้งครึ่งหนึ่ง จากนั้นบริหารการเงินจากการทำนาปีละ 3 ครั้ง โดยรีบหักเงินรายได้ส่วนหนึ่งมาใช้หนี้ก่อนการใช้จ่ายใดๆ
แล้วทำอาชีพเสริม คือการทำไม้กวาด เพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีกทาง
“ ผมจัดระบบการทำนาใหม่ เลิกทำนาหว่านข้าวเยอะๆ ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี ลดพื้นที่ทำนาแต่พอตัว จาก 55ไร่ เหลือ 27 ไร่ ลดค่าจ้างแรงงาน เพิ่มมูลค่าข้าว ปัญหาของผม
คือการที่ไม่รู้ต้นทุนการผลิต เกิดปัญหาหนี้พอกพูนสะสม มีหนี้สิน แต่เมื่อจดบัญชี ทำให้เรียนรู้สาเหตุการเป็นหนี้ที่มาจากการลงทุน รู้จักการใช้จ่ายในครอบครัวที่เกินความจำ
เป็น จากนั้นก็เริ่มต้นวางแผนแก้ไขบริหารการเงิน จัดระบบการผลิต การประกอบอาชีพ จัดระบบการทำนาใหม่ ลดรายจ่าย และเพิ่มการออมให้ครอบครัว”
หนุ่มร่างใหญ่ สัดทัด ดูทะมัดทะแมง ยิ้มให้กับตัวเองอย่างสุขใจ เล่าด้วยความภาคภูมิใจกับความพยายามถึง 2 ปี ปลดหนี้หมดด้วยการฝึกฝนตนเองให้จดบัญชีครัวเรือน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือบริหารจัดการเศรษฐกิจในครอบครัวได้อย่างพอเพียง บันทึกทุกรายการใช้จ่าย ทุกรายได้ที่เข้ามา
“เป็นหนี้ จัดการได้” ด้วย “ยุทธการบริหารหนี้”
นางประภัสสร โปริส
หนี้จากการลงทุนจำนวน 700,000 บาท ของ “ประภัสสร โปริส” อาชีพทำนา ต.หลุมข้าว อ.เมือง จ.อุทัยธานี
เธอ เล่าย้อนกลับไปเมื่อ 21 ปีก่อน (2532) ช่วงเริ่มต้นชีวิตเกษตรกร ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำนาในสภาพพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ในหมู่บ้านบึงทับแต้เลยแม้แต่น้อย ทำให้การทำนาปีละ 2 ครั้ง ในพื้นที่ 19 ไร่ ไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่ และ สาเหตุของการลงทุนอาชีพก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง กำหนดราคาผลผลิตเองก็ไม่ได้ ดินอยู่ในสภาพเสื่อม เพราะใช้สารเคมี ประภัสสร ต้องดั้นด้นไปกู้เงิน 40,000 บาท จากธ.ก.ส.เพื่อมาลงทุนใหม่ แม้อีก 3 ปีต่อมา เกษตรตำบลจะมาสอนเรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนค่าปุ๋ย ค่ายาเคมี รวมทั้งหันมาทำลองปลูกกุหลาบขายบ้างแล้ว
แต่ทุกอย่างที่ทำมา “ก็เจ๊งหมด นาน้ำก็ท่วมขาดทุน จนมีหนี้สินสะสม” นางประภัสสร โปริส
ครอบครัวโปริส คิดวางแผนการจัดการหนี้สิน เมื่อปี 2550 ช่วงเริ่มทำบัญชีจดบันทึกรายรับ รายจ่ายอย่างต่อเนื่อง
เธอบอกว่า สิ่งแรกที่ต้องรู้ คือ ที่มาของรายรับ รายจ่าย หนี้สินของตัวเองก่อน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจำแนกแยกแยะเป็นหมวดหมู่ กำหนดสัดส่วนการใช้เงิน
จัดการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง หารายได้เพิ่มจากศักยภาพตนเอง ใช้ที่ดินที่มีอยู่ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“เมื่อมีรายรับเข้ามา เราแบ่งส่วนหนึ่งไว้ออมก่อนเป็นสิ่งแรก ส่วนที่เหลือสะสมไว้ ใช้หนี้ปีละอย่างน้อย 60,000 บาทหรือขึ้นอยู่กับรายได้ในแต่ละปี อีกส่วนแบ่งไว้เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งสำหรับการลงทุนในฤดูกาลต่อไป”ประภัสสร โชว์กลยุทธ์ลดหนี้ของครอบครัว จนสามารถปลดหนี้ก้อนแรก 700,000 บาทได้หมดแล้ว
แต่หน้าที่อันยิ่งใหญ่ยังไม่หมด ประภัสสร มีหนี้ก้อนใหม่จากการลงทุนด้านการศึกษาให้ลูกเรียนปริญญาอีกล้านกว่าบาท เธอไม่เลือกกู้เงินนอกระบบ เลือกแหล่งเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำแทน เช่น กองทุน กขคจ. กองทุนเงินล้าน กลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ธกส. ฯลฯ และแม้หนี้จะก้อนใหญ่กว่าเดิม แววตาบ่งบอกถึงความสุขของผู้เป็นแม่ บอกด้วยความมั่นใจ ไม่ย่อท้อ จะนำความรู้ที่ได้จากการจัดการหนี้ก้อนแรก มาใช้
นี่เป็นแค่ต้นแบบ “หนี้ที่จัดการได้” ในการร่วมแสวงหาทางออกในการจัดการปัญหาหนี้สินและเศรษฐกิจครัวเรือนไทย ที่เริ่มต้นจากกระบวนการสร้างการ “คิดเป็น” และพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ
นอกเหนือจากนี้ กระบวนการบันทึกบัญชีครัวเรือนยังทำให้เกิดอาสาสมัคร คณะทำงานชุมชนในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน ตำบล และระดับจังหวัด เกิดจังหวัดต้นแบบในการปลดหนี้ด้วยบัญชีครัวเรือน คือ “ชัยนาท และสตูล” แบบเต็มพื้นที่
เกิด 28 ตำบลต้นแบบในการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่าง เป็นระบบ และต่อเนื่อง รวมถึงเกิดพื้นที่ต้นแบบ ที่กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก ในการบริหารจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ร่วมกัน รูปธรรมที่เด่นชัดที่สุด คือ เกิด “ธนาคารแรงงาน” เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนค่าจ้างแรงงานสูงในกระบวนการผลิตของชุมชน ของ จ.ชัยภูมิ และแนวคิด “โรงเรียนแก้จน” โรงเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์คนแก้จนด้วยบัญชีครัวเรือน จากคนนครปฐม
ทั้งหมดล้วนเกิดจากการ “จุดระเบิดภายใน” ของชาวบ้านในพื้นที่เอง กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ขยายเป็นเครือข่าย ต่อยอดให้เป็นกิจกรรมดีๆ...........................
ธนาคารแรงงาน จ.ชัยภูมิ VS หลักสูตรแก้จน จ.นครปฐม
“ธนาคารแรงงาน” แก้จน-ลดค่าแรงแพง
กำนันเสนอ นราพล
กำนันเสนอ นราพล เจ้าของรางวัล “กำนันแหนบทอง” แห่งต.บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เท้าความที่มา ธนาคารแรงงาน ต.บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ว่า เริ่มจากที่ชาวบ้านร่วมกันทำโครงการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนของธกส.ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ที่เรียกกันว่า “บัญชีขาว” จนมาเข้าร่วมกับสกว.ในปีพ.ศ.2550 หรือโครงการ “บัญชีเขียว”
เมื่อชาวบ้านจดบัญชีครัวเรือนก็ทำให้มองเห็น การใช้จ่ายของคนในหมู่ บ้าน-ตำบล เกิดฐานข้อมูลการใช้จ่ายของตำบล รู้สภาพ และสามารถวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนได้
กำนันแหนบทอง แห่งต.บ้านบัว แจกแจงถึงสภาพปัญหาสำคัญในการปลดหนี้-สู่ความรวยขึ้น คือ 1.ค่าจ้างแรงงานที่แพง 2.แรงงานในพื้นที่หายาก และ 3.เกษตรกรคนจนรายได้น้อย
ไม่สามารถจัดหาแรงงานมาลงทุนประกอบอาชีพได้ ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างมาก ต.บ้านบัว จึงร่วมกับสกว. สังเคราะห์แนวคิด “ธนาคารแรงงาน” ขึ้น
ฟังๆ ดู “ธนาคารแรงงาน” อาจไม่แปลกอะไร ทว่าน่าสนใจ คือ ธนาคารแห่งนี้ไม่มีเรื่องของ “เงินทอง” มาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด กำนันเสนอ เปรียบธนาคารแรงงานแห่งนี้ เหมือนกับการ
“ลงแขก” แต่ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบกว่า สมมติว่าบ้านไหนต้องการแรงงานเกี่ยวข้าว 100 ไร่ ไม่มีเงินจะจ่ายค่าแรงได้มากขนาดนั้น ก็จะมาบอกกับธนาคารว่า
ต้องการแรงงานกี่คน กี่แรงมาช่วยๆ กันในราคาที่เหมาะสม หรือฟรีแบบลงแขกก็แล้วแต่จะตกลงกัน
การบริหารจัดการ ธนาคารจึงมีหน้าที่ระดม จัดหา เชื่อมโยง ประสาน “ความต้องการใช้แรงงาน” หาบุคคลมาทำงานในพื้นที่ กับ “ความต้องการขายแรงงาน”
“ที่นี่เราตั้งค่าจ้างราคากันเองไว้ที่วันละ 100 บาทต่อคน จากนั้นธนาคารจะดูในรายการบันทึกว่ามีใคร บ้านไหนค้างแรงไว้บ้างก็จะมาให้ใช้แรงคืน หรือมีใครต้องการฝากแรงช่วยก่อนบ้าง” กำนันเสนอ อธิบายขั้นตอนรับฝาก ถอน แรงงาน ที่ไม่ใช่เป็นในรูปของตัวเงิน พร้อมกับมองว่า การรวมกลุ่มธนาคารแรงงาน ต.บ้านบัว ด้วยการทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทำให้คนในพื้นที่ภูมิใจในการจัดการหนี้ของตัวเอง “ รวมกัน” ลดรายจ่ายที่ช่วยกันได้ การจดบัญชีครัวเรือนเป็นเรื่องของการฝึกคนในชุมชน ให้มีความรู้ ไม่ต้องง้อรัฐบาล แต่ก็ยังน่าเสียดาย ภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับการทำบัญชีครัวเรือนของชาวบ้านอย่างจริงจังนัก ซึ่งนี่คือสิ่งที่กำนันแหนบทองคนนี้ห่วง
โรงเรียนแก้จน : ถอดประสบการณ์-กระบวนการเรียนรู้สู่การสร้างหลักสูตร "แก้จน"
ทีม งาน (ร่าง) หลักสูตรแก้จน จ.นครปฐม ถ่ายทอดประสบการณ์ หลังจากดำเนินการรวมกลุ่มชุมชนจัดทำบัญชีครัวเรือนในพื้นที่ประสบความสำเร็จ มากว่า 3 ปีแล้ว จนตกผลึกในกระบวนการ ต่อยอดความคิดจนร่างแนวคิดสร้างห้องเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลดหนี้ ด้วยบัญชีครัว เรือนขึ้น มีชื่อสุดหรูว่า โรงเรียนแก้จน
ขบวนการคนนครปฐมที่ปลดหนี้ได้สำเร็จจากการ ร่วมมือกับสกว. นั้นกำลังมีแผนจัดตั้ง “โรงเรียนแก้จน” ขึ้น โดยจะเปิดรับผู้มีหนี้สินตั้งแต่ 50,000-100,000 บาทที่มีแนวโน้มที่จะสามารถปลดหนี้ได้ 1-4 ปี เข้าเรียน เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการหนี้สิน การปรับโครงสร้างหนี้ สู่เป้าหมายการปฏิบัติ “ปลดหนี้ได้จริง”
ร่าง หลักสูตรนี้จะใช้เวลาเรียน 4 ปี ห้องเรียนละ 20 คนมาร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนการปลดหนี้กัน ค่าลงทะเบียนเรียนแสนถูกเทอมละ 50 บาท ค่าครุภัณฑ์การเรียนคนละ 300 บาทต่อปี ค่าหน่วยกิตละ 25 บาท รายวิชาละ 12 หน่วยกิต
ส่วนวิชาหลักๆ ที่ต้องเรียน นั้น คณะทำงานร่วมกันกำหนด เช่น การทำบัญชีครัวเรือน, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, แผนงานชีวิตกับการปลดหนี้ของครัวเรือน, แผนงานลดรายจ่ายในครอบครัว, แผนงานการกำหนดการใช้หนี้, ความสามารถในการชำระหนี้,การบริหารจัดการการตลาด, เทคนิคการขาย
ขณะที่วิชาภาคปฏิบัติ เช่น ความรู้ด้านเกษตรกรรม, การทำวิสาหกิจชุมชน, อาชีพทางเลือก, การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน, การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการบรรจุหีบห่อ (Packaging)
สำหรับการสอบเลื่อนชั้น ก็มุ่งที่จะวัดพัฒนาการการปลดหนี้ของนักเรียนแต่ละคน ว่า มีการพัฒนาการ การบริหารจัดการ ชำระหนี้อย่างไรบ้าง
นักเรียนในโรงเรียนแก้จนนี้ในปีสุดท้ายจะสอบ โดยการนำเสนอ "นวัตกรรม" การจัดการองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการปัญหาหนี้สินอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแบ่ง ปันความรู้แก่กันด้วย เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็จะได้รับเกียรติบัตรรับรองการเรียนจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม แถมให้สิทธิสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย.