ความเสี่ยงปัจจุบันกับภัยคุกคามที่ท้าทายอนาคตไทยและชนบท
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ โครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นดีพี) ประจำประเทศไทย จัดทำ รายงานการ พัฒนาคนของประเทศ เรื่อง “ความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต” สาระหลักสะท้อนสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ในประเทศไทยจากหลายมุมมอง ทั้งประเด็นปัญหาเดิมที่มีอยู่แต่ถูกเพิกเฉยเนื่องจากความคุ้นชิน และความเสี่ยงรูปใหม่ใหม่ที่ไทยต้องเผชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ภายใต้บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
6 มิติความเสี่ยงที่คนไทยเผชิญในปัจจุบัน
จากการสำรวจสภาพความมั่นคงของคนไทยในปัจจุบัน 6 มิติ คือ มิติ เศรษฐกิจ พบว่า 50 ปีที่ผ่านมาความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนส่วนใหญ่มีความมั่นคงมากขึ้น เห็นได้จากสัดส่วนคนจนลดลงเกือบ ครึ่ง แต่ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้างยังคงอยู่อย่างไม่ได้รับการ แก้ไข
ในพื้นที่ชนบท ประชากร 1 ใน 10 ยังคงตกอยู่ในภาวะยากจน บางรายเพราะขาดที่ดินทำกิน บางรายเพราะอุปสรรคเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบจะเปราะบางต่อความเสี่ยงต่างๆมาก เพราะไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงข่ายความปลอดภัยทุกประเภท ขณะที่คนเมืองก็ต้องต่อสู้กับปัญหาความไม่มั่นคงทางรายได้และการว่างงานเป็น ระยะๆ
มิติอาหาร แม้ไทยจะเป็นประเทศส่งออกอาหารที่สำคัญ แต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเริ่มพบว่าไม่สามารถเพิ่มผลผลิตโดยขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ เพราะความต้องการที่ดินเพื่อทำประโยชน์อย่างอื่นมีมากกว่า ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแทน เพื่อให้มีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในและส่งออก กลุ่มคนจนทั้งชนบทและ เมืองยังมีปัญหาในการเข้าถึงอาหาร นอกจากนี้ยังมีความน่าห่วงใยถึงอันตรายจากการปนเปื้อนที่มีแนวโน้มสูง ขึ้น ขณะที่การกำกับตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายยังด้อยประสิทธิภาพ
ภัยคุกคามเร่งด่วนในมิติสิ่งแวดล้อม เกิดจากการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างแรงกดดันอย่าง รุนแรงต่อธรรมชาติ ส่งผลให้ชุมชนที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะได้รับผล กระทบสูง เครื่องมือสำคัญที่จะสร้างความมั่นคงให้แก่ชุมชนได้คือการ บังคับใช้กฎหมาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องมือประมง และการผ่านกฎหมาย เช่น ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน อีกทั้งยังควรขยายการลงทุนเพื่อจัดการมลพิษและของเสียรวมถึงพัฒนาระบบนำกลับ มาใช้ใหม่
ในมิติสุขภาพ พบว่า โรคติดต่อสำคัญเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงน้อยลง แต่การเฝ้าระวังยังจำเป็น ส่วนภัย คุกคามที่กำลังขยายตัวคือโรคที่เกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม อันเกี่ยวโยงกับโครงการพัฒนาจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงระบบบริการสุขภาพคือโครงการหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งยังมีความท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน
มิติความมั่นคงในปัจเจกบุคคล คนไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม และการใช้ยาเสพติดกำลังเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง แม้ว่าการบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาจะมีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก แต่ความพยายามในการปราบปรามยังไม่ค่อยได้ผล ส่วนความรุนแรงทางเพศและครอบครัวเป็นประเด็นสำคัญและจำเป็นต้องมีการรณรงค์ ให้ประชาชนตระหนักมากขึ้น ทั้งนี้ยังมีปัญหาการค้ามนุษย์ที่ไทยเป็นทั้งต้นทาง ปลายทาง และทางผ่านที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเพื่อนบ้านร่วมกันวางแผนแก้ไขมากขึ้น
สุดท้ายคือมิติทางการเมือง เห็นได้จากความขัดแย้งที่ ลุกลามและแบ่งแยกคนออกเป็นฝักฝ่ายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและยังไม่มีทีท่ายุติลง แม้คนไทยได้รับการรับรองสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองอย่างกว้างขวางตาม รัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติการปลูกฝังระบอบประชาธิปไตยกลับประสบสภาวะชะงักงันมาโดยตลอด จากการทำรัฐประหาร, พรรคการเมืองไม่สามารถเป็นช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย, มีกระจายอำนาจแบบรวมศูนย์, มีการทุจริตและแทรกแซงอำนาจตุลาการ ทั้งหมดล้วนสร้างความคับข้องใจให้สั่งสมในสังคมทุกระดับและกำลังทำความ รุนแรงให้เพิ่มขึ้น
5 ประเด็นท้าทายความมั่นคงคนไทยในอนาคต
กวี-โยป ซน ผู้ประสานงานโครงการยูเอ็นดีพี เสนอปัญหาใหม่ที่ไทยต้องเตรียมรับมือในอีก 10 ปีข้างหน้าว่า มีอยู่ 5 ประเด็นซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านในลักษณะที่แตกต่างกันและเป็นผล พวงจากการพัฒนาประเทศเกษตรกรรมเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรม
การจัดการน้ำ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของมนุษย์มากที่สุด เกี่ยวโยงกับชีวิตและเป็นปัจจัยการผลิตอาหารที่ส่งผลต่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ หากเกิดการปนเปื้อนจะกระทบถึงความมั่นคงด้านสุขภาพ ยิ่งกว่านั้นการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังทำให้เกิดวิกฤติการแย่งชิงระหว่างชุมชนกับ อุตสาหกรรม
“แม้จะมีการจัดทำแผนหรือพูดคุยถึงวิกฤติดังกล่าวมาเกือบสองทศวรรษ แต่ไม่ค่อยคืบหน้าในการดำเนินงาน สภาวะเช่นนี้เกิดจากความซ้ำซ้อนของปัญหารวมถึงการแย่งชิงผลประโยชน์ของผู้ ใช้น้ำกลุ่มต่างๆ และการทำงานแบบแยกส่วนของหน่วยงานรัฐ”
กวี-โยป ซน กล่าวถึงข้อเสนอจากรายงานว่า การแก้ปัญหาต้องใช้แนวทางบูรณาการและครอบคลุม จำเป็นต้องให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบโดยจัดทำแผนการจัดการน้ำแห่ง ชาติที่มีสาระด้านการจัดหาน้ำ จัดสรรน้ำ และคุณภาพน้ำ
การตัดสินอนาคตเกษตรกรรายย่อย เป็นอิทธิพลจากการพัฒนาโดยละเลยภาคการเกษตรทั้งในแง่การลงทุนและการจัดสรร ทรัพยากร มีสัญญาณที่เตือนว่าสถานการณ์กำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤติให้เห็น อยู่บ้าง เช่น ผลตอบแทนจากการทำเกษตรขนาดเล็กที่ไม่คุ้มค่าแต่ยังอยู่ ได้เพราะเงินช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวเกษตรกรที่ทำงานอื่น, การแย่งชิงพื้นที่เพื่อปลูกพืชพลังงาน, การไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐอย่างเพียงพอนำมาสู่ปัญหาการขาดแคลนเกษตรกร รุ่นใหม่มาสืบทอดอาชีพเกษตรกรรมครัวเรือน
การดูแลผู้ที่ไม่มีสถานะที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยตามกฎหมาย หรือคนไร้สัญชาติ, คนชายขอบ, รวมถึงแรงงานต่างด้าว ซึ่งปัจจุบันมีมากถึง 3.5 ล้านคน กลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการปฏิบัติและความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเป็น ธรรม ประการสำคัญคือเมื่อชีวิตของเขาเหล่านั้นไม่มั่นคงย่อมส่งผลประชาชนใน พื้นที่ให้เกิดความไม่มั่นคงตามไปด้วย
ผู้ประสานงานยูเอ็นดีพี บอกว่าความไม่เท่าเทียมที่เกิด ขึ้นในสังคมไทยสะสมทวีความรุนแรงและขยายตัวมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สิ่งนี้เองที่กระทบต่อความมั่นคงของคนไทยและนำไปสู่ความแตกแยกแตกต่างอย่าง ชัดเจนในเข้าถึงทรัพยากรที่เชื่อมโยงถึงความขัดแย้งทางการเมืองและ สังคมอย่างเห็นได้ชัด
“ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ควรหยิบขึ้นมาเป็นวาระแห่งชาติ และควรปรับเปลี่ยนระบบการเก็บภาษี กระจายการถือครองที่ดิน ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาก่อนในขั้นต้นเพื่อสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียม”
ประเด็นสุดท้ายคือการเตรียมก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่ กำลังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 20 ปีข้างหน้าและสร้างปัญหาให้กับบริการสุขภาพ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชน จะต้องมีการช่วยเหลือสนับสนุนผู้สูงอายุ โดยมีรัฐบาลหนุนเสริมสร้างความคุ้มครองทางสังคมผ่านโครงการกองทุนในรูปแบบ ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกำลังจัดทำโครงการออมเพื่อการชราภาพโดยสมัครใจ หรือ“กองทุนการออมแห่งชาติ” เพื่อรองรับแรงงานนอกระบบชราภาพอีก 24 ล้านคนที่ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ
ข้อเสนอต่อรัฐอย่างมีนัยยะความมั่นคงของไทย
ดร.วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่ง ในทีมจัดทำรายงานฯ กล่าวถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างหลักประกันให้ผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุน อย่างเพียงพอ ทั้งระบบประกันสุขภาพและการขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบซึ่ง เป็นกลุ่มที่เปราะบางมากที่สุด และควรวางแผนจัดหาบุคคลากรด้านบริการสุขภาพให้เพียงพอทั้งระยะสั้นและระยะ ยาว โดยที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับหลักประกันความมั่นคงของแรงงานนอกระบบ โดยกำหนดให้เป็นกลุ่มเป้าหมายพิเศษเชิงนโยบาย และเพิ่มการสนับสนุนเชิงสถาบันและเงินทุนกับแผนโครงการชุมชน
ส่วนการต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ ต้อง รณรงค์อย่างกว้างขวาง มุ่งมั่นขจัดการค้ามนุษย์ให้ได้ผลในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังต้องขยายกรอบโยบายแรงงานต่างด้าว ให้ครอบคลุมการแก้ปัญหาทางสังคมอย่างเหมาะสม และในแง่ความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อมควรปรับการบริหารจัดการให้เกิด สมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน อาจต้องใช้นโยบายส่งเสริมผลประโยชน์เกษตรกรรายย่อย, ปรับระบบการบริหารจัดการน้ำเป็นแผนระยะยาว และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็ง โดยนำความรู้และเทคนิคใหม่ๆมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกฎหมาย
ข้อเสนอจากรายงานฉบับนี้จะถูกนำไปต่อยอดพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงเพิ่มความ มั่นคงของคนไทยได้แค่ไหนอย่างไรคงต้องรอดูต่อไป ซึ่งเรื่องสำคัญคือการ กำหนดสังคมเสมอภาคให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยเริ่มจากการปฏิรูประบบภาษีและการใช้จ่ายภาครัฐ, ลดความขัดแย้งทางการเมือง และรัฐต้องเปิดกว้างเปิดทางให้ภาคส่วนต่างๆในสังคมร่วมผลักดันนโยบายพัฒนา ประเทศ .