ตั้งสภาประชาชนแก้ปัญหาที่ดิน ไล่ รมว.ทส. ให้รัฐลงดาบราชการปฏิบัติตาม
ตั้ง“สภาประชาชนแก้ปัญหาที่ดิน” จี้รัฐลงดาบอาญาสิทธิ์สั่งราชการปฏิบัติจริงได้-ไล่ รมว.ทส.-ขอให้ยุติคดีความชาวบ้าน-ทบทวนโครงการสำรวจแนวเขตป่า 2,500 ล้านผลาญงบ ดร.อคิน มองสมัชชาประชาชนคือทางออกยั่งยืนกว่าม็อบ หมอนิ รันดร์ชี้ต้องสร้างพันธะสัญญาว่ารัฐแก้ปัญหาจริง บัญญัติข้อเสนอ ปชช.ไว้ใน รธน.ผูกพันทุกรัฐบาล ดร.สุริชัย แนะพื้นที่เปิดออกแล้วต้องยกระดับการเมืองจากรากหญ้า ทำกระแสปฏิรูปเป็น สาธารณะ
วันนี้ (28 มิ.ย.) ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือ ข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศไทย จัดเวทีสาธารณะ“สภาประชาชน เดินหน้าแก้ปัญหาที่ดิน” โดย นางปรีดา คงแป้น ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนเครือข่ายประชาชนปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาที่ดินไม่ใช่ความรู้ใหม่ แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาลที่ผ่านมาไม่เคยอยากทำเพราะผู้วางนโยบายล้วนเป็นนัก ค้าที่ดินรายใหญ่ ปัญหาหลักมี 3 เรื่องคือ 1.ข้อพิพาท ความขัดแย้งการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยเฉพาะการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติทับที่ดินชุมชนถึง 10,866 หมู่บ้าน กว่า 1,000,000 ครัวเรือน 2.การกระจายการถือครองที่ดิน และเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน และ 3.ปัญหาชุมชนแออัด ไม่มีและไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัย ส่งผลกระทบถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและขาดโอกาสการพัฒนาด้านต่างๆ
ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ ประธานมูลนิธิชุมชนไทย กล่าวว่า ที่ดินเป็นปัญหาใหญ่ซับซ้อนที่แสดงถึงความไม่เป็นธรรมเหลื่อมล้ำยิ่งกว่า เรื่องรายได้ หากแก้ไขไม่ได้ประเทศจะลุกเป็นไฟ ทั้งนี้ต้นตอคือการพัฒนาแบบทุนนิยมที่เชื่อว่าประเทศจะก้าวหน้าได้ต้องร่ำ รวย การทุจริตคอรัปชั่น อิทธิพลนักการเมือง และหน่วยราชการที่เอื้อให้นายทุน การปฏิบัติที่ไม่ยืดหยุ่น และกระบวนการศาลที่มีมาตรฐานแบบฝรั่งยึดตามเอกสารสิทธิ์มากกว่าสภาพความจริง ทำให้ชาวบ้านสูญเสียสิทธิเหมือนถูกฉ้อโกง
“เรื่องนี้แก้ยากมาก รัฐก็ทำไม่ได้ ต้องให้คนที่เผชิญปัญหาแก้ สภาประชาชนต้องเป็นศูนย์รวมนำเสนอทางออกให้รัฐ คอยติดตามตรวจสอบ เพราะการทำพิมพ์เขียวแก้ไขได้เพียงบางอย่างแต่ไม่ยั่งยืน”
ประธานมูลนิธิชุมชนไทย กล่าวอีกว่า วิธีการต่อสู้แก้ปัญหาที่ผ่านมาของชาวบ้านมักใช้การประท้วงซึ่งบางครั้ง สำเร็จแต่บางครั้งลุกลามนองเลือด ต้องอาศัยกลไกสภาประชาชนในการแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินรวมถึงปัญหาอื่นๆ แม้ไม่สำเร็จในทีเดียว แต่ความต่อเนื่องในการรวมพลังคนสำคัญที่สุด
ดร.นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ มูลนิธิสถาบันศึกษาเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ให้ภาพรวมและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่ดินว่า มี 4 ปัญหาใหญ่ คือ 1.การ กระจุกตัวของที่ดินมหาศาลอยู่ที่คนรวยและไม่ได้ใช้ประโยชน์ ต้องแก้ไข โดยรวมตัวกันสร้างฐานข้อมูลซึ่งมีอยู่แล้วในระดับหนึ่ง และให้มีหน่วยงานรวบรวม เช่น กรมพัฒนาที่ดินหรือสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อสะท้อนว่าสัดส่วนการถือครองไปหนักอยู่ที่ไหน รวมถึงการทำโซนนิ่งพื้นที่เกษตรกรรม จำกัดการถือครอง กำหนดระยะเวลาบังคับซื้อหรือโอน2.ปัญหาการทับซ้อนพื้นที่ป่าและที่ดินรัฐ ต้องกำหนดกลไก ระยะเวลาพิสูจน์สิทธิ์ที่ชัดเจน และสร้างกระบวนการทางกฎหมายที่คำนึงถึงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมพื้นที่ แทนกฎเกณฑ์เดิมที่อิงเพียงเอกสารสิทธิ์ซึ่งเอื้อระบบทุน 3.ปัญหาการออก เอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ อาจต้องมีกลไกระงับข้อพิพาทขัดแย้ง สร้างระบบพูดคุยก่อนไปถึงขั้นศาล 4.ปัญหาการรุกล้ำของคนชายขอบหรือไร้ สัญชาติ อาจต้องออกกฎหมายเฉพาะ
“ผมอยากให้ตั้งคำถามกับโครงการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ(รีเชฟ) ว่าจำเป็นและคุ้มค่าหรือไม่ เพราะต้องใช้เงินมากถึง 2,500 ล้านบาท ทั้งที่ข้อมูลเหล่านี้เรามีอยู่แล้วและทำเองได้”
ดร.นนทวัชร์ ยังเสนอว่าควรจะผลักดันให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรรมนูญเพื่อรองรับคณะกรรมการ ปฏิรูปประเทศ แทนที่จะออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ให้มีวาระ 3 ปี ซึ่งอาจมีปัญหาว่ารัฐบาลชุดต่อไปจะสานต่อหรือไม่
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เรื่องแรกที่รัฐบาลต้องทำคือ 1.เลิกตราหน้าว่าชาวบ้านบุกรุกทำผิดกฎหมาย ทั้งที่กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม 2.เลิกตราหน้าว่าชาวบ้านใช้ความรุนแรง ทั้งที่นายทุนการเมืองหรือนักธุรกิจเข้าไปบุกรุกใช้ความรุนแรงแต่ไม่มีความ ผิด 3.เลิกตราหน้าคนพลัดถิ่นคนชายขอบเป็นคนเถื่อนไม่มีสิทธิในที่ดินทำกิน และ 4.ต้องสามารถใช้อำนาจบังคับราชการปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายการจัดการ ที่ดินให้ได้
เรื่องที่สองคือการทำให้เกิดพันธะสัญญาว่ารัฐจะทำจริง เริ่มจากจัดการกับนายทุนและนักการเมืองที่โกงกินที่ดินและใช้ความรุนแรงกับ ชาวบ้านอย่างเร่งด่วน และใช้อำนาจฝ่ายบริหารบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติตามนโยบายโดยไม่ต้องแก้ กฎหมาย ให้บัญญัติข้อเสนอที่เป็นสิทธิของประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะนี่เป็น ประชาธิปไตยทางตรงที่ทำให้ชาวบ้านมั่นใจว่าจะมีที่ทำกินเป็นของตัวเองไม่ว่า ในรัฐบาลใด
พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างมั่นคง เริ่มแรกต้องสำรวจ ค้นประวัติชุมชน กลุ่มใดที่อยู่ก่อนต้องออกโฉนดให้ มีการทำแผนที่และแนวเขตที่ชัดเจนป้องกันการรุกเข้าใหม่ จากนั้นต้องดูเรื่องกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง หรือให้สิทธิในที่ทำกิน และต้องแก้ไขกฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายป่าไม้ที่ดินที่นิยามว่าที่ดินเป็นของรัฐ ด้านชาวบ้านก็ต้องรู้ทันเข้าใจนโยบายรัฐ และรวมพลังกับทุกภาคส่วน อย่าคิดว่าทำเองฝ่ายเดียวได้ สุดท้ายคือต้องเน้นที่ศีลธรรมซึ่งเป็นดาบแรกของการปฏิรูปประเทศ
รศ.สุริชัย หวันแก้วผอ.ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สภาประชาชนมีความศักดิ์สิทธิ์เพราะปัญหาทุกอย่างสะท้อนขึ้นมาจากเจ้าทุกข์ใน พื้นที่ แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำเพียงลำพัง ต้องให้นักวิชาการเข้ามาสนับสนุน และต้องออกแบบวิธีการและพูดด้วยภาษาชาวบ้าน สร้างตัวชี้วัดการทำงาน กู่ร้องให้กระแสปฏิรูปเป็นสาธารณะไม่ใช่กระแสหาเสียงจากการเมือง
“หัวใจการปฏิรูปอยู่ที่กระแสของคนเล็กคนน้อย และความพยายามสร้างเส้นทางความร่วมมือและบูรณาการช่วยเหลือคนจน สู่การยกระดับการเมืองที่รุกจากปัญหาคนจน และใช้การเปิดพื้นที่ครั้งนี้ให้เป็นประโยชน์ อย่ามองเพียงตั้งคณะกรรมการปฏิรูป ต้องดูต่อว่าทำอย่างไร ตั้งใจจริงหรือเปล่า” รศ.สุริชัย กล่าว
ทั้งนี้เพื่อให้มีกลไกการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาอย่างกว้างขวางเป็นรูปธรรม จึงมีการออกแถลงการณ์ในนาม สภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวขององค์กรชุมชนกว่า 100 เครือข่ายทั่วประเทศ ครอบคลุมประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม เช่น ปัญหาที่ดิน, ความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากร, คนชายขอบ โดยมีข้อเสนอต่อรัฐบาลดังนี้
1.ประกาศตั้ง “สภาประชาชนแก้ปัญหาที่ดิน” เป็นศูนย์กลาง ผลักดันและติดตามการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด 2.ให้นายกรัฐมนตรีเปลี่ยน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ปฏิรูปสร้างเอกภาพในการบริหารของรัฐบาล เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศได้จริง 3.รัฐบาล ต้องกล้าใช้อำนาจสั่งการให้ราชการและผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามนโยบายอย่าง เคร่งครัดไม่เลือกปฏิบัติ และรัฐต้องมีกลไกพิสูจน์สิทธิในที่ดินที่ชัดเจน 4. เร่งแก้ปัญหาที่ดินที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยในชนบท คนจนเมือง และกระจายลงถึงการถือครองของชุมชนผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน เช่น คนไทยพลัดถิ่น กลุ่มลาวอพยพและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อยู่ในกระบวนการเจรจาทั้งหมดอย่าง เป็นรูปธรรม 5.ประกาศยุติข้อพิพาททั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐกับชุมชน ในพื้นที่ ชุมชนกับเอกชนที่อยู่ระหว่างการเจรจาแก้ปัญหาที่ดิน ตลอดจนในพื้นที่อื่นๆที่จะเสนอในภายหลัง
6.ยุติการฟ้องร้องดำเนินคดีชุมชนที่อยู่ในกระบวนการแก้ปัญหา ทั้งหมดทันที เพื่อนำข้อพิพาทไปสู่การเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน 7.สนับ สนุนการทำแผนที่ 1:4,000 ทุกชุมชนที่รัฐประกาศทับที่ชุมชนหรือที่อ้างว่าชุมชนบุกรุกที่รัฐ ด้วยการจัดตั้งกรรมการ 4 ฝ่ายระดับอำเภอ ประกอบด้วย อำเภอ/ที่ดิน/ทส.และตัวแทนเจ้าของปัญหากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์แก้ปัญหา โดยเน้นที่วิธีการกระจายอำนาจตัดสินใจให้ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของผู้ที่ อาจมีผลได้เสีย รวมทั้งทบทวนโครงการรีเชฟท์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 8.ประกาศ นโยบายแก้ปัญหาที่ดินอย่างเป็นรูปธรรมโดยตั้งคณะกรรมการกลาง และประกาศเป็นพื้นที่แก้ปัญหาพิเศษโดยอาศัยรัฐธรรมนูญหรือวิธีการอื่น เพื่อยกเว้นกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหา 9. ออกมาตรการเยียวยาอย่างเป็นธรรมกรณีชุมชนที่ถูกฟ้องร้องซึ่งได้พิสูจน์แล้ว ว่าอาศัยอยู่ก่อน แต่ศาลตัดสินให้แพ้คดี และ 10.ให้รัฐบาลยุติหรือยก เลิกโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น แผนพัฒนาภาคใต้ โครงการขนาดใหญ่ของเอกชน การสัมปทานทุกโครงการให้มีการตรวจสอบการเช่า การสัมปทานของบริษัทเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ที่เกิดกรณีข้อขัดแย้งหรือแย่งชิงทรัพยากรกับชุมชน
ทั้งนี้สภาประชาชนยินดีเปิดรับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและเห็นด้วยกับการ เกิดขึ้นของคณะปฏิรูปประเทศไทยและสมัชชาประชาชน ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน และ นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน.