ต้าน ส.ส.จอมโดด กู้วิกฤติ “สภาล่ม”
การเมืองระบบ “ตัวแทน” มีรัฐสภาเป็นศูนย์กลางของ “อำนาจนิติบัญญัติ”
ดังนั้น รัฐสภา จึงเป็นสัญลักษณ์การทำงานของผู้ที่ประชาชนเลือกเข้ามาเป็นตัวแทน แต่ระยะหลัง “ผู้แทน” ใช้รัฐสภา เป็นเครื่องมือต่อรองเล่นเกมกันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นส.ส.ฝ่ายรัฐบาล หรือส.ส.ฝ่ายค้าน หรือเพื่อดิสเครดิตรัฐบาล
ในอดีตนั้นหากเกิดเหตุ “สภาล่ม” จะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตมาก มีการประณามผู้ที่ไม่เข้าร่วมประชุม เพราะเท่ากับไม่ใส่ใจทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (2550) เคยนำปัญหาส.ส.โดดร่มเข้าร่วมหารือเพื่อวางมาตรการเข้มในการที่จะไม่ให้ส.ส.ที่มีพฤติกรรมไม่เข้าร่วมประชุมสภา จะต้องโดนตัดสิทธิทางการเมือง แต่ก็ได้รับการคัดค้าน เพราะเป็นรายละเอียดปลีกย่อยมีควรมาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ควรปล่อยให้มาตรการทางสังคม เป็นผู้ลงโทษ
ปัจจุบันนี้ จำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 475 คน จากที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีส.ส.ทั้งหมด 500 คน เป็นส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 278 คน ซึ่งถือว่าไม่มีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงที่มากกว่ากึ่งหนึ่ง (238 คน) ถึง 40 คน
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีปัญหาเรื่องสภาล่ม
กระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลและรัฐสภา โดย นายวิทยา แก้วภราดัย มาเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลชุดปัจจุบัน (วิปรัฐบาล) มีแนวคิดแก้ปัญหาสภาล่ม ด้วยการเปลี่ยนแปลงเวลาการประชุม ในวันพุธ และพฤหัสบดี ให้เป็นเวลาที่เป็นธรรมชาติ คือ 09.00 - 17.00 น.ของแต่ละวัน
ทั้งนี้ การมีกรอบเวลาที่ชัดเจนจะทำให้การบริหารเวลาของการประชุมได้สะดวกขึ้น และทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพุธ 3 ก.พ.2553 ปรากฎว่ามีเหตุสภาฯ ล่มอีกครั้ง โดยขาดเสียงส.ส.ไป 6 เสียง ทำให้นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า รัฐบาลอยากให้มีการประชุมกรรมาธิการในวันพุธ และวันพฤหัสฯ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการประชุมสภาผู้แทนฯ ดังนั้นจึงเป็นการยากในการนับองค์ประชุม ซึ่งทำให้สภาล่มซ้ำซาก ทำให้ภาพรวมของสภาต้องเสื่อมเสีย
และในวันพฤหัสบดีที่ 4 ก.พ.2553 ผลปรากฏว่ามี ส.ส.อยู่ในห้องประชุมเพียงแค่ 169 คน ไม่ถึงกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมคือ 238 คน ทำให้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ต้องสั่งเลื่อนการประชุมออกไปและปิดการประชุมในเวลา 15.19 น.ถือว่าองค์ประชุมไม่ครบ สภาล่มซ้ำซากติดกันเป็นครั้งที่สอง ท่ามกลางประเด็นที่น่าจับตามองภายหลังพรรคร่วมรัฐบาลมีมติสวนทางกับพรรคประชาธิปัตย์ เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ขณะที่การประชุมสภา วันที่ 9 มีนาคม 2553 มีญัตติเพื่อพิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อหามาตรการป้องกันการทำรัฐประหาร ของนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ปรากฎว่ามีส.ส.อยู่ในห้องประชุมเพียง 222 คน ไม่ครบองค์ประชุมจำนวนกึ่งหนึ่งจำนนวน 238 คนจากส.ส.ทั้งหมด 475 คน ประธานต้องสั่งปิดการประชุมสภา
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฐานะโฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา ออกตัวว่า พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ได้เล่นเกมการเมือง เพราะหากเล่นเกมนี้พรรคร่วมเองจะเป็นฝ่ายขาดทุน เพราะประชาชนรับไม่ได้ ดังนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะเล่นเกม
หากสังเกตดูก็จะเห็นว่าส.ส.ทุกพรรคก็ขาดองค์ประชุมเหมือนกัน ยืนยันว่าไม่มีการต่อรองในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จากการสอบถามวิปพรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับการยืนยันว่า ก่อนสภาฯล่ม ก็ไม่มีวาระเรื่องที่ต้องลงมติ ดังนั้น ส.ส.ส่วนใหญ่ จึงเตรียมตัวลงพื้นที่
หันไปทางด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวถึงเหตุสภาล่มบ่อยครั้ง ว่า เป็นเรื่องธรรมดา เพราะรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิ และอำนาจหน้าที่แก่ส.ส.ทุกคน
“ส่วนเรื่องแก้ไขเวลาประชุมจะได้ไม่มีปัญหาองค์ประชุมนั้นแก้ยากครับมันไม่มีทาง มันอยู่ที่คน คนจะประชุม 6 โมงเช้าก็ได้ ประชุม 6 โมงเย็นก็ได้ มันอยู่ที่คนและสำนึกความรับผิดชอบ”
นายชัย ได้แนะให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเอาเอง ว่า ส.ส.จะเป็นที่พึ่งต่อประชาชนได้อย่างไร ในเมื่อไม่ประชุมสภา ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งหน้า ให้พิจารณาคนที่จะเป็นผู้แทนให้ดีก่อนที่จะใช้สิทธิออกเสียง โดยพิจารณาให้ดีว่าผู้รับการเลือกตั้งคนใดจะปกปักคุ้มครองอำนาจอธิปไตยได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ว่า ไม่สามารถแก้ตัวแทนคนที่ขาดประชุมได้ เพราะได้กำชับกันหลายรอบ บางครั้ง ส.ส.ชะล่าใจว่าการประชุมสภาในวันพฤหัสบดี ไม่ได้เป็นประเด็นด้านกฎหมาย จึงคิดว่าเมื่อวาระกระทู้ถามจบแล้วจะเป็นเรื่องรายงาน เรื่องรับทราบ จึงไม่อยู่ในที่ประชุม ซึ่งเราได้ย้ำไปแล้วว่าไม่ใช่มันเป็นหน้าที่ที่ต้องอยู่
ด้านนายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ให้สัมภาษณ์กรณีการประชุมสภาล่ม ว่า ไม่ใช่ฝ่ายค้านไม่ทำหน้าที่ ขอยกกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยพูดไว้ว่าหน้าที่นับองค์ประชุมเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบ ฉะนั้น รัฐบาลต้องดูแลในส่วนนี้
ส่วนกรณีที่การประชุมต้องมาล่มในช่วงการพิจารณากฎหมายต่อต้านการรัฐประหาร มองว่ารัฐบาลควรให้เวลาฝ่ายค้านในการอภิปราย หรือเป็นเพราะรัฐบาลมาจากทหาร จึงไม่อยากให้ฝ่ายค้านพูดเรื่องนี้
จะเห็นว่าปัญหา “สภาล่ม” ล้วนเป็นเกมการเมืองของพรรคฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ที่ขาดจิตสำนึกในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากประชาชน การปฏิรูปการเมืองรอบใหม่จึงควรเริ่มต้นที่การปฏิรูปจิตสำนึกผู้แทนราษฎร ไม่เช่นนั้นรัฐสภาจะจมลงไปในวิกฤติศรัทธาการเมือง ในหมู่ประชาชนคนไทย
รายชื่อส.ส.ที่ไม่เข้าร่วมประชุมสภาวันที่ 4 ก.พ.2553
พรรคชาติไทยพัฒนาขาด 11 คน จาก 25 ได้แก่ นายนพดล มาตรศรี ส.ส.สุพรรณบุรี นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ส.ส.สุพรรณบุรี นางปารีณา ไกรคุปต์ ปาจรียางกูร ส.ส.ราชบุรี นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี นายวัชระ ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส นายวิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.สัดส่วน (ลาป่วย)
พรรคเพื่อแผ่นดิน ขาด 19 คน จาก 32 คน ได้แก่ ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ ส.ส.สัดส่วน นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ นางรัชนี พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายนรพล ตันติมนตรี ส.ส.เชียงใหม่ นายนิมุคตาร์ วาบา ส.ส.ปัตตานี นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ นายยุซรี ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี
ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นายวิทยา บุตรดีวงค์ ส.ส.มุกดาหาร นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ส.ส.อุบลราชธานี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน นายแวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส และนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน
พรรคภูมิใจไทย ขาด 3 คน จาก 32 คน ได้แก่ นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.บุรีรัมย์ นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ส.ส.มหาสารคาม
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ขาด 3 คน จาก 9 คน ได้แก่ นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ ส.ส.มุกดาหาร นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ส.ส.นครราชสีมา ส่วนพรรคกิจสังคม 5 คน มาครบ
พรรคประชาธิปัตย์ ขาด 17 คน จาก 172 คน ได้แก่ นายชวน หลีกภัย ส.ส.ตรัง นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช น.ส.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม. นางกัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี นายสมควร โอบอ้อม ส.ส.นครสวรรค์ ( ทั้ง 6 คน ยื่นใบลาแล้ว) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.สัดส่วน นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วน นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ส.ส.ตาก
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายกฯ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน นายพิเชษฐ พันธุวิชาตกุล ส.ส.กระบี่ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กทม. นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.สัดส่วน นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน นายวิฑูรย์ นามบุตร ส.ส.สัดส่วน นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี
รายชื่อส.ส.พรรคร่วมฯโดดประชุมทำประชุมล่มซ้ำซาก
การประชุมสภาที่ล่มในวันที่ 4 มี.ค.มีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเกมของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ไม่เข้าร่วมประชุมหลังจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ยอมสนับสนุนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ประเด็น โดยเฉพาะพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ขาด 21 คน จาก 25 คน ได้แก่
น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ลพบุรี นางกรรณิการ์ เจริญพันธ์ ส.ส.สุรินทร์ นายนิอาริส เจตาภิวัฒน์ ส.ส.นราธิวาส นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี นายนพดล มาตรศรี ส.ส.สุพรรณบุรี นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี นายอดุลย์ เหลืองบริบูรณ์ ส.ส.อุทัยธานี
นายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ส.ส.สุพรรณบุรี นางปารีณา ไกรคุปต์ ปาจรียางกูร ส.ส.ราชบุรี นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี นายวัชระ ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส นายวิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ ส.ส.เพชรบูรณ์ นางอุดร จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายภคิน ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง นายเจรจา เที่ยงธรรม ส.ส.สุพรรณบุรี นายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส.สัดส่วน นายอารยะ ชุมดวง ส.ส.สุโขทัย
พรรคเพื่อแผ่นดิน ขาด 25 คน จาก 32 คน ได้แก่ ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ ส.ส.สัดส่วน นายคงกฤช หงษ์วิไล ส.ส.ปราจีนบุรี นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา ส.ส.สุรินทร์ นางรัชนี พลซื่อ ส.ส.ร้อยเอ็ด นายนรพล ตันติมนตรี ส.ส.เชียงใหม่ นายนิมุคตาร์ วาบา ส.ส.ปัตตานี
นายณัชพล ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา นายประนอม โพธิ์คำ ส.ส.นครราชสีมา นายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา นายพิกิฏ ศรีชนะ ส.ส.ยโสธร นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ นายยุซรี ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี นายรณฤทธิชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา
นายอุดร ทองประเสริฐ ส.ส.อุบลราชธานี นายวิทยา บุตรดีวงค์ ส.ส.มุกดาหาร นายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ส.ส.นครราชสีมา นายสาธิต เทพวงศ์ ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ส.ส.อุบลราชธานี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส.ส.สัดส่วน นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน นายแวมาฮาดี แวดาโอะ ส.ส.นราธิวาส และนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน
พรรคภูมิใจไทย ขาด 8 คน จาก 32 คน ได้แก่ นายณัฐวุฒิ สุขเกษม ส.ส.บุรีรัมย์ นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ส.ส.บุรีรัมย์ นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท นายเพิ่มพูน ทองศรี ส.ส.สัดส่วน นายมาโนช เฮงยศมาก ส.ส.บุรีรัมย์ นายเลิศศักดิ์ ทัศนเศรษฐ ส.ส.สุรินทร์ นายสันทัด จีนาภักดิ์ ส.ส.กาญจนบุรี นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร ส.ส.มหาสารคาม
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9 คน ขาด 2 คน ได้แก่ นางทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ส.ส.นครราชสีมา
พรรคกิจสังคม ขาด 2 คน จาก 5 คน ได้แก่ นายวารุจ ศิริวัฒน์ ส.ส.อุตรดิตถ์ นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ส.ส.สุโขทัย
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ขาด 59 คน จาก 172 คน