เครือข่ายสถาบันทางปัญญา
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย เป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ ดังที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้เรียกว่าเป็น “มหาวิฤตสยาม” ซึ่งคุกคามอยู่ในทุกด้าน เชื่อมโยงทั้งการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นวิกฤตการณ์ที่ยากที่สุดในการหาทางออก ไม่รู้จะเริ่มต้นจากจุดใด และไม่สามรถแก้ได้เพียงแค่การ “ปฏิรูปการเมือง” อย่างที่เคยมีความพยายามทำกันมาแล้ว
“เรียกได้ว่านี่คือวิกฤตการณ์คลื่นลูกที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยคลื่นลูกที่ 1 เป็นเรื่องพม่า ลูกที่ 2 เป็นเรื่องจักรวรรดินิยมมหาอำนาจตะวันตก คลื่นลูกที่ 3 คือ ความขัดแย้งทางการเมือง และคลื่นลูกที่ 4 ยากและซับซ้อนกว่าทุกชนิด เพราะว่าไม่รู้ว่าศัตรู คือ ใคร” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
นี่คือที่มาของแนวคิดการ “ปฏิรูปประเทศไทย” ที่ต้องทำพร้อมกับทุกด้านอย่างเชื่อมโยง
แล้วใครล่ะ จะเป็นคนปฏิรูป?
อัศวินขี่ม้าขาวครั้งนี้ไม่ใช่รัฐบาล หรือใครคนใดคนหนึ่ง หากการปฎิรูปที่แท้จริงกระทำได้เลยโดยประชาชนคนละไม้คนมือ ทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนท้องถิ่น โดยไม่น่าจะต้องรอคอยอำนาจรัฐระดับชาติ หรือสภาร่างัฐธรรมนญ ดังเช่นที่เคย ดังที่สถาบันวิชาการกำลังมีการรวมตัวกันในรูปแบบที่เรียกว่า “เครือข่ายสถาบันทางปัญญา”
เครือข่ายสถาบันทางปัญญาเป็นเวทีของบุคคลที่อาสามาร่วมกันหาทางออกใหกับประเทศไทยโดยอาศัย “ความรู้” และ “กระบวนการเรียนรู้” ร่วมกัน โดยบุคลากรส่วนใหญ่จะมีบทบาทสำคัญในองค์กร เช่น มหาวิทยาลัยและสถาบันทางปัญญารูปแบบอื่น โดยแต่ละท่านได้ทำงานศึกษาวิจัยในประเด็นปัญหาตามสาขาความถนัดของตน โดยล้วนมีจุดมุ่งหมายภายใต้หัวข้อเดียวกันคือ “ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะของคนไทยทั้งมวล”
เครือข่ายสถาบันทางปัญญา ดำเนินงานแบบอาสาสมัคร ไม่มีสายการบังคับบัญชา ไม่มีหัวหน้า ไม่มีการจัดองค์การที่เป็นทางการ หากแต่เป็นกระบวนการขับเคลื่อนทางสังคม (social movement) เป็นเวทีของบุคลากรที่อาสามาร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศไทย โดยอาศัยความรู้และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน บุคลากรส่วนใหญ่จะมีบทบาทสำคัญในองค์กรเช่น มหาวิทยาลัยและสถาบันทางปัญญารูปแบบอื่น มีการประชุมอย่างต่อเนื่องยาวนาน
ที่ผ่านมา เครือข่ายสถาบันทางปัญญาได้มีร่วมหารือกันแบบไม่เป็นทางการต่อเนื่องกันมาแล้วเป็นเวลา 3 เดือน มีการประชุมเดือนละประมาณ 2 ครั้ง แต่ละครั้งได้มีการนำเสนอเรื่องสำคัญที่ควรมีการปฏิรูป และได้มีการศึกษามาแล้วครั้งละ 1 เรื่อง เพื่อขัดเกลาแนวคิดให้คมชัดขึ้นในระดับหนึ่งก่อนจะแผ่ขยายกว้างออกไปในสังคม
หากการปฏิรูปประเทศไทยทุกด้านคงไม่อาจทำสำเร็จได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ และมิใช่เพียงการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) อย่างที่เคยมีมาแต่ละรูปแบบหนึ่งจะจัดให้มีกิจกรรมลักษณะการวิจัยเชิงปฎิบัติการและการรณรงค์ต่อเนื่องไป โดยใช้เวลา 1-3 ปี และคาดว่าแวดวงผู้สนใจเรื่องปฎิรูปประเทศไทยจะขยายกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ