ชำแหละ 1.2 พันสัญญา 6.1 พันล.! ‘บ.สีกาอี๊ด’คว้างานรัฐ-ทบ.สัญญาเดียว 2 พันล.
เปิดหมดครบทุกสัญญา ‘บ.สีกาอี๊ด’ คว้างานรัฐ 31 แห่ง 6.1 พันล้าน มาครบทุกเหล่าทัพ! เจอ ทบ.ซื้อเครื่อเฝ้าติดตามการทำงานหัวใจปี’47 สัญญาเดียว 2 พันล้าน สำนักปลัด สธ. 642 สัญญา 1.6 พันล้าน
หลายคนอาจทราบไปแล้วว่า บริษัท โซวิค จำกัด ประกอบธุรกิจขายเครื่องมือให้กับสถาบันทางการแพทย์และโรงพยาบาลรัฐ คือหนึ่งเอกชนจาก 16 บริษัท ที่ถูกอ้างว่า เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการร่วมผลประโยชน์กับวัดธรรมกาย ที่ถูกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการตรวจสอบช่วงปี 2541
ปรากฏชื่อนางจิรวัฒน์ ศรีสัตนา หรือ ‘สีกาอี๊ด’ ซึ่งถูกระบุว่ามีความสนิทสนมกับพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ขณะเดียวกันจากการตรวจสอบเงินการเงินล่าสุดในปี 2557 พบว่า บริษัท โซวิค จำกัด แจ้งรายได้ทั้งหมด 1,030,677,963 บาท
(อ่านประกอบ : โชว์รายได้ 1,030 ล.! เปิดตัวบ.'สีกาอี๊ด' พันเครือข่ายธุรกิจธรรมกาย-ธัมมชโย)
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบข้อมูลพบว่า บริษัท โซวิค จำกัด เคยเป็นคู่สัญญาหน่วยงานรัฐนับตั้งแต่ปี 2540-2559 จำนวน 1,246 สัญญา ใน 31 หน่วยงานรัฐ
รวมวงเงินทั้งสิ้น 6,186,238,410 บาท ได้แก่
1.กระทรวงกลาโหม 4 สัญญา 6,430,400 บาท
2.กองทัพบก 77 สัญญา 2,238,043,987 บาท โดยมี 1 สัญญาวงเงิน 2 พันล้านบาท (อ่านรายละเอียดด้านล่าง) ส่วนที่เหลืออีก 76 สัญญา ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรืออุปกรณ์ตรวจวินิจฉัยโรค วงเงินประมาณ 1 ล้านบาท จนถึงหลักประมาณ 10 ล้านบาท
3.กองทัพเรือ 14 สัญญา 30,429,000 บาท
4.กองทัพอากาศ 20 สัญญา 43,976,764 บาท
5.กระทรวงการคลัง 1 สัญญา 2,150,700 บาท
6.กรมชลประทาน 1 สัญญา 3,580,000 บาท
7.กระทรวงคมนาคม 1 สัญญา 4,946,610 บาท
8.กรมการขนส่งทางบก 1 สัญญา 7,670,000 บาท
9.สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 1 สัญญา 3,480,000 บาท
10.กรุงเทพมหานคร 76 สัญญา 72,020,100 บาท
11.กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 1 สัญญา 1,800,000 บาท
12.กระทรวงศึกษาธิการ 21 สัญญา 93,799,000 บาท
13.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2 สัญญา 6,476,000 บาท
14.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 1 สัญญา 1,500,000 บาท
15.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 21 สัญญา 85,650,760 บาท
16.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 36 สัญญา 123,122,418 บาท
17.มหาวิทยาลัยนเรศวร 9 สัญญา 56,534,000 บาท
18.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3 สัญญา 8,220,000 บาท
19.มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ 5 สัญญา 5,922,800 บาท
20.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 19 สัญญา 105,402,994 บาท
21.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 1 สัญญา 9,450,000 บาท
22.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3 สัญญา 6,606,000 บาท
23.มหาวิทยาลัยมหิดล 126 สัญญา 502,289,224 บาท
24.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 28 สัญญา 144,522,595 บาท
25.กระทรวงสาธารณสุข 2 สัญญา 31,192,000 บาท
26.สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 642 สัญญา 1,652,055,245 บาท
27.กรมการแพทย์ 106 สัญญา 365,246,300 บาท
28.กรมควบคุมโรค 6 สัญญา 16,860,000 บาท
29.กรมสุขภาพจิต 2 สัญญา 1,696,000 บาท
30.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2 สัญญา 3,310,000 บาท
31.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 9 สัญญา 68,965,000 บาท (ดูภาพประกอบ)
สำหรับวงเงินที่มีอันดับสูงสุด 10 สัญญา ได้แก่
กองทัพบก
1.ซื้อเครื่องเฝ้าและติดตามการทำงานของหัวใจความดันโลหิตแบบวัดภายนอกและความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด 2,000,000,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 47
มหาวิทยาลัยมหิดล
1.ซื้อชุดเพื่อประมวลผลและวินิจฉัยโรคหัวใจหลอดเลือดทางรังสี 1 ชุด 144,460,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 55
2.ซื้อชุดครุภัณฑ์ด้านสารสนเทศของอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ จำนวน 1 ชุด 97,350,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 55
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
1.ซื้อครุภัณฑ์การแพทย์ จำนวน 2 รายการ 40,460,000 บาท 29 พ.ค. 56
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
1.เครื่องติดตามสัญญาณชีพ 6 ฟังชั่น 2.เครื่องติดตามสัญญาณชีพชนิดเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 3.เครื่องสำรองไฟ 4.เครื่องวัดปริมาณเลือด 5.ชุดติดตามสัญญาณชีพแบบสถานีกลาง 37,490,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 54
มหาวิทยาลัยมหิดล
1.ซื้อชุดระบบและเครื่องมือการดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤต 33,400,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 55
2.ซื้อเครื่องวัดสัญญาณชีพชนิดรุกล้ำสำหรับผ่าตัดหลอดเลือดและหัวใจ 2 เครื่อง,เครื่องวัดสัญญาณชีพ,เครื่องติดตามการทำงานหัวใจ,เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า,จำนวน 7 รายการ 32,812,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 55
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1.ซื้อระบบบริหารจัดการ จัดเก็บ และรับส่งภาพทางการแพทย์ ในรูปแบบดิจิตอล 29,950,000 บาท ทำสัญญาเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 55
กระทรวงสาธารณสุข
1.ซื้อขายเครื่องเฝ้าระวังและติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพพร้อมเครือข่าย 27,700,000 ทำสัญญาเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 47
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.เช่าเครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตรจำนวน 30 เครื่อง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 26,398,800 ทำสัญญาเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 51
ทั้งนี้ ในรายงานผลการศึกษา เรื่อง "วัดพระธรรมกาย" ของคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร มี นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ช่วงปี 2541 ระบุว่า นาง จิรวัฒน์ ศรีสัตนา ถูกเรียกว่า "สีกาอี๊ด" ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอุบาสิกา ที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจ ที่มีความเชื่อมโยงกับบุคคลสำคัญของวัดธรรมกาย ซึ่ง มี 3 รูปแบบ คือ
1. กลุ่มบริษัทที่ก่อตั้ง โดยลูกศิษย์หรือเรียกว่า อุบาสก ซึ่งสนิทสนมกับเจ้าอาวาส พระธัมมชโย เป็นผู้ก่อตั้งหรือถือหุ้น จากนั้นอุบาสกเหล่านี้ก็พากันบวชเป็นพระวัดพระธรรมกายทั้งหมด และกลายเป็นพระแกนนำของวัด และหลังจากบวชแล้ว ก็ไม่มีการโอนการถือหุ้นไปเป็นชื่อของบุคคลอื่นหรือของมูลนิธิแต่อย่างใด และมีบางบริษัทถือหุ้น โดยอุบาสกผู้ใกล้ชิดที่ไม่ได้บวชเป็นพระ
2. กลุ่มบริษัท ที่อุบาสิกาเป็นผู้ก่อตั้งโดยมี นาง จิรวัฒน์ ศรีสัตนา นางสงบ ปัญญาตรง เป็นแกนนำ
และ 3. กลุ่มบริษัท ที่ญาติของเจ้าอาวาส คือ นางเณริศา อังศุสิงห์ (สกุลเดิม สุทธิผล) น้องสาว และนายณรงค์รัชต์ สุทธิผล น้องชาย ต่างมารดาของเจ้าอาวาส เข้ามามีส่วนก่อตั้งหรือถือหุ้น
อย่างไรก็ตาม ในการตรวจสอบกรณีนี้ วัดพระธรรมกาย ได้ส่งเอกสารชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ กรณีการทำธุรกิจก่อตั้งบริษัทการค้า ว่า "เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย พระภิกษุสงฆ์วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ไม่เคยก่อตั้งบริษัททำธุรกิจ ส่วนสาธุชนที่มาวัดก็คงประกอบอาชีพต่างๆ กันไป ซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล"
อ่านประกอบ :