เรือสินค้าคอนเทนเนอร์เมอร์สก์ (Maersk) ขนาดใหญ่ บรรทุกสิ่งของที่เชื่อว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุขยะอันตรายประมาณ 327 ตัน มีกำหนดการจะเทียบท่าที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ได้หายไปจากระบบเฝ้าระวังของรัฐบาลแอฟริกาใต้ ตามข้อมูลของเครือข่าย Basel Action Network (BAN) เรือลำนี้มีชื่อว่าเมอร์สก์ แคมป์ตัน (MAERSK CAMPTON) ซึ่งเรื่อลำนี้เป็นเรือลำแรกจากเรือทั้งหมดสองลำที่ตอนนี้บรรจุตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 100 ตู้ ต้นทางจากแอลเบเนียมายังประเทศไทย และเรือมีกำหนดจะเทียบท่าที่ประเทศแอฟริกาใต้
สืบเนื่องจากที่ปรากฏเป็นข่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กรณีที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ NGO ด้านสิ่งแวดล้อม 3 แห่งได้แก่ 1.เครือข่าย Basel Action Network (BAN) สหรัฐอเมริกา 2.องค์กร Friends of the Earth ที่ประเทศแอฟริกาใต้และ 3.มูลนิธิบูรณะนิเวศหรือว่า EARTH ที่ประเทศไทยได้ออกมาเรียกร้องทางการหลายประเทศให้มีการสกัดจับเรือขนสินค้า 2 ลำต้นทางจากแอลเบเนีย ขนขยะพิษจำนวน 816 ตัน ปลายทางมุ่งสู่ประเทศไทย
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้เอาแถลงการณ์ฉบับเต็มของ NGO ทั้งสามแห่งที่ว่านี้มานำเสนอ มีรายละเอียดดังนี้
เรือสินค้าคอนเทนเนอร์เมอร์สก์ (Maersk) ขนาดใหญ่ บรรทุกสิ่งของที่เชื่อว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุขยะอันตรายประมาณ 327 ตัน มีกำหนดการจะเทียบท่าที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ได้หายไปจากระบบเฝ้าระวังของรัฐบาลแอฟริกาใต้ ตามข้อมูลของเครือข่าย Basel Action Network (BAN) เรือลำนี้มีชื่อว่าเมอร์สก์ แคมป์ตัน (MAERSK CAMPTON) ซึ่งเรื่อลำนี้เป็นเรือลำแรกจากเรือทั้งหมดสองลำที่ตอนนี้บรรจุตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 100 ตู้ ต้นทางจากแอลเบเนียมายังประเทศไทย และเรือมีกำหนดจะเทียบท่าที่ประเทศแอฟริกาใต้
แต่หลังจากที่มีการแจ้งเตือนไปยังแอฟริกาใต้ว่าระบบระบุตัวตนอัตโนมัติของเรือหรือที่เรียนกกันว่าระบบ AIS ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณจีพีเอสของเรือได้ถูกปิดลงเมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา และเรือยังไม่ได้เข้าเทียบท่าตามกำหนดที่เมืองเคปทาวน์ในวันที่ 1 ส.ค. แอฟริกาใต้ได้ดำเนินการค้นหาเรือลำดังกล่าวในน่านน้ำของตัวเองนานหลายชั่วโมงแต่ก็ไม่พบ และตอนนี้เรือก็กำลังหลบหนีจากการตรวจจับของทางการ
“เราไม่สามารถจินตนาการถึงเหตุผลอื่นใดสําหรับพฤติกรรมนี้ได้นอกจากความพยายามของเมอร์สก์เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมหรือความล่าช้าเนื่องจากความเป็นไปได้ที่เรือของพวกเขาจะเกี่ยวข้องกับการลักลอบขนสินค้าที่มีลักษณะเป็นอันตราย” นายจิม พัคเก็ตต์กล่าวและกล่าวต่อไปว่า “เราเรียกร้องให้เมอร์สก์ ให้ความร่วมมือทันทีในการช่วยเหลือประชาคมระหว่างประเทศในการป้องกันการทิ้งขยะอันตรายอย่างผิดกฎหมาย"”
ตามตามอนุสัญญา SOLAS ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ระบบแจ้งเตือน AIS จะต้องเปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเรือจะกำลังเดินทางหรือทอดสมอก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นมาจนกระทั่งกัปตันผู้เดินเรือเห็นว่าควรจะปิดระบบแจ้งเตือนที่ว่านี้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย นอกจากนี้การขนส่งดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากประเทศผู้ส่งออกซึ่งก็คือแอลเบเนีย,ไม่ได้รับอนุมัติจากประเทศระหว่างทางซึ่งก็คือแอฟริกาใต้ และไม่ได้รับอนุมัติจากประเทศผู้นำเข้าตามกำหนดซึ่งก็คือประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ระบุในเรื่องของการค้าขยะที่ผิดกฎหมายภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาบาเซิล
ทั้งนี้มีรายงานว่าแอลเบเนียเองก็ไม่เคยได้รับทราบหรือรับแจ้งเตือนเกี่ยวกับการส่งออก ประเทศไทยไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการนำเข้า และประเทศเปลี่ยนผ่านเช่นแอฟริกาใต้ก็ยังไม่เคยได้รับการแจ้งเตือนก่อนการจัดส่งเช่นกัน
ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเรือเมอร์สก์ แคมป์ตัน นั้นอยู่ที่ไหน (ข้อมูลตามวันที่ 5 ส.ค.) แต่คาดว่าน่าจะมุ่งหน้าสู่จุดแวะพักตามกำหนดการครั้งถัดไป ส่วนเรือลำที่สองได้แก่เรือเมอร์สก์ แคนดอร์ (MAERSK CANDOR) พบว่ามีการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขยะพิษอีกอย่างน้อย 60 ตู้ ก็กำลังอยู่ในเส้นทางเดินเรือเดียวกันและคาดว่าจะอ้อมทวีปแอฟริกาในช่วงวันที่ 5 ส.ค.
ทางองค์กร BAN ได้รับทราบเกี่ยวกับกรณีเรือขนส่งลำแรกเช่นเดียวกังองค์กร groundwork Friends of the Earth ในแอฟริกาใต้ และมูลนิธิบูรณะนิเวศของไทย ได้เรียกร้องไปยังประเทศแอฟริกาใต้ให้เข้ายึดเรือขนส่งเมอร์สก์ แคนดอร์ ขอส่งสัญญาณเตือนไปยังรัฐบาลประเทศทั่วเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้สกัดกั้นเรือทั้งสอง และขอเรียกร้องไปยังบริษัทสายการเดินเรือเมอร์สก์เพื่อให้หยุดการขนส่งทันทีเพื่อจะส่งคืนสินค้าไปยังต้นทางซึ่งก็คือที่แอลเบเนีย
ทางด้านของนายมูซา ชาแมน นักรณรงค์ด้านการจัดการขยะที่ Friends of the Earth กล่าวว่าแอฟริกาใต้สามารถมีส่วนในการหยุดยั้งความอยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการค้าขยะทั่วโลกได้ โดยข้อให้ทั้งเรือลำนี้และเรือลำถัดไปถูกสกัดกั้น มีการวิเคราะห์ตู้สินค้าที่นี่เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีประเทศในซีกโลกใต้หรือมหาสมุทรใดจะได้รับความเสี่ยงจากการที่ขยะพิษเหล่านี้ถูกทิ้ง ซึ่งถ้าหากมีการพบว่าตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้บรรทุกขยะพิษมา พวกมันต้องถูกส่งคืนไปยังผู้ส่งทันทีไม่ว่าจะกรณีใด และต้องห้ามไม่ให้มันอยู่ในแอฟริกาหรือว่าถูกทิ้งที่ประเทศไทย
เชื่อกันว่าบนเรือทั้งสองลำมีตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต จำนวนรวมกัน 100 ตู้ คิดเป็นปริมาณ 816 เมตริกตัน โดยคาดว่าตู้เหล่านี้มีการบรรทุกฝุ่นอันเป็นพิษได้มาจากการหลอมเหล็ก ซึ่งรวบรวมได้จากตัวกรองควบคุมมลพิษ
เส้นทางการเดินเรือทั้งสองลำก่อนจะมีการปิดระบบแจ้งเตือนตำแหน่ง
ถ้าหากมีการยืนยันว่าสิ่งที่เรือบรรทุกมานั้นเป็นขยะอันตรายจริง ตามอนุสัญญาบาเซิล ซึ่งเป็นสนธิสัญญาสหประชาชาติที่ควบคุมการค้าของเสียอันตรายและของเสียอื่น ๆ ตู้คอนเทนเนอร์สามารถถูกยึดและส่งกลับไปยังแอลเบเนียได้
ส่วนที่ประเทศไทยเองมูลนิธิบูรณะนิเวศระบุว่าได้มีการแจ้งเตือนไปยังรัฐบาลไทยแล้วเกี่ยวกับการขนส่งฝุ่นพิษจำนวนมาก
“ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ประเทศไทยจะไม่ยอมรับการเป็นแหล่งทิ้งขยะอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะพลาสติกที่เหลือของโลก เราเรียกร้องให้รัฐบาลของเราและรัฐบาลแอฟริกาใต้ดําเนินการที่จําเป็นเพื่อหยุดการค้าที่น่ารังเกียจนี้” นางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศกล่าว
ทั้งนี้มีความกังวลว่าหากไม่ดําเนินการใดๆ ฝุ่นกรองที่เป็นพิษเหล่านี้จะถูกแพร่กระจายบนพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่ทิ้งขยะในประเทศไทย ย้อนไปเมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีรายงานว่าทางการจีนได้หยุดยั้งการขนส่งขยะประเภทเดียวกันนี้เนื่องจากพบว่าในสินค้าขนส่งมีตะกั่วปนเปื้อนอยู่ถึง 8 เปอร์เซ็นต์
@ท่าทีจากบริษัทเมอร์สก์
ขณะที่บริษัทเมอร์สก์ได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่าข้อกล่าวหาที่ NGO ได้กล่าวหานั้นอยู่บนข้อมูลที่เป็นเท็จ เนื่องจากเรือได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานศุลกากรแล้ว โดยบริษัทได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเรือไมได้จอดเทียบที่ประเทศแอลเบเนียและไม่ได้เดินทางไปยังประเทศไทยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม บริษัทจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นเท่าที่จำเป็น
@ท่าทีจากทางการไทย
ขณะที่นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศราว่า ตอนนี้ได้แจ้งให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ให้ประสานงานกับกรมศุลกากรแล้วเพื่อให้ตรวจสอบ โดยส่วนตัวได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า ทางกรมโรงงาน อุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานอนุญาตตามอนุสัญญาบาเซล ได้แจ้งไปยังท่าเรือสิงคโปร์ว่า ไทยไม่อนุญาตให้นำเข้า "ฝุ่นแดง" ให้ผลักกลับไปต้นทาง ณ ขณะนี้ เรืออยู่ในน่านน้ำสิงคโปร์ และ ทางกรมโรงงานฯได้เฝ้าระวังอยู่อย่างต่อเนื่อง